โครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขของ อ.ต.ก.


การพัฒนาทุนแห่งความสุข ต้องพัฒนาทุนทางปัญญาไปพร้อมกัน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

6 พฤศจิกายน 2550

            สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ อตก. ทุกท่าน จากการที่ผมได้มีโอกาสพาลูกศิษย์ อตก. ไปทัศนศึกษาดูงาน ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนผ่านมา บรรยากาศในวันนั้นดีมากและผมคิดว่าลูกศฺษย์คงจะได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างกลับไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เราได้เรียนรู้ร่วมกันนั้นถือว่าเป็นช่วงที่เราได้สร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ร่วมกัน ผมก็เลยมอบหมายให้ทีมงานเก็บภาพบรรยากาศในวันนั้นมาฝากครับ

                                                  จีระ หงส์ลดารมภ์

...................................................................

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพของ อ.ต.ก. ได้เดินทางไปทัศนศึกษาดูงานที่บริษัท ริเวอร์ แคว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟู๊ด จำกัดจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้นำ และยังมีท่านรองผู้อำนวยการโอวาท อภิบาลภูวนาท และท่านรองผู้อำนวยการนารถฤดี ถนอมพฤฒิกุล ร่วมเป็นผู้สังเกตุการณ์ในครั้งนี้ด้วย   การเรียนรู้เริ่มขึ้นหลังรถเคลื่อนจาก อ.ต.ก. มุ่งหน้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละท่านมาแนะนำตัวและหน่วยงาน จากนั้นเป็นการบูรณาการความรู้โดยท่าน ศ.ดร.จีระ และ ยังมีท่านรองฯโอวาท มาแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆที่ในแก่ผู้เข้ารับอบรมอีกด้วย ซึ่งเป็นบรรยายกาศที่สนุกสนานและเป็นกันเอง หลังจากเดินทาง บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟู๊ดส์ จำกัด ได้รับการต้อนรับจากอย่างดีจากคุณเรืองไร ศรีวิไล ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหาร โดยนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาทำเป็นอาหารว่างและเครื่องดื่ม จากนั้นคณะผู้เข้าอบรมได้รับฟังการเกี่ยวกับตัวบริษัทและผลิตภัณฑ์โดยคุณอรกมล อรรถธรรมสุนทร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด และชมการทำไร่ผักผลไม้แบบปลอดสารพิษของบริษัทฯ  บริษัท ริเวอร์ แคว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟู๊ด จำกัด เป็นบริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่เปิดดำเนินการมาแล้วประมาณ 21 ปี โดยมีสินค้าหลักคือข้าวโพดหวาน ตลาดที่ส่งออกมาทีสุดคือ ยุโรป และยังมีเอเชีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลียด้วย ขณะนี้ได้มีการขยายตลาดในการส่งออกผักสดปลอดสารพิษและผลไม้สด โดยมากจะส่งไปที่ประเทศอังกฤษ ผักนั้นจะเน้นไปที่ข้าวโพดอ่อน หน่อฝรั่ง พริก ข่า ตะไคร้ ในส่วนของผลไม้จะเน้นตามฤดูกาล  บริษัท เวอร์ แควฯ ยังใช้เทคโนโลยี ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่อำนวยประโยชน์ในการใช้งานให้กับผู้บริโภคอีกด้วย เมื่อได้รับอาหารสมองกันเต็มอิ่มแล้วก็ต้องดูแลร่างกายด้วย คณะผู้เข้าอบรมได้แวะรับประทานอาหาร ที่ร้านอาหารริมน้ำ ใกล้สะพานข้ามแม่น้ำแคว จากนั้นได้ออกเดินทางกลับแต่ก่อนกลับได้สักการะพระที่วัดถ้ำเสือเพื่อความเป็นสิริมงคล ตลอดระยะเวลาการเดินทางทัศนศึกษาในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสร้างสนิทสนมกับผู้เข้าอบรมระหว่างชาว อ.ต.ก. เองและผู้เข้าร่วมที่เป็นเครือข่ายแล้ว  ยังเป็นการความรู้ตามทฤษฎี 4 L’s ของท่าน         ศ.ดร.จีระ คือ L ที่ 1 Learning Methodology คือวิธีการเรียนรู้L ที่ 2 Learning Environment คือการสร้างบรรยายกาศในการเรียนรู้L ที่ 3 Learning Opportunity  คือการสร้างโอกาสในกาเรียนรู้L ที่ 4 Learning Community  คือการสร้างชุมชนการเรียนรู้                                                                                   ขอขอบคุณ <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">                                                                       ทีมงาน Chira Academy</p> <p>บรรยากาศของ Bus Seminar ซึ่ง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ทำหน้าที่เป็นโค้ช </p><p>อตก1</p><p>บรรยากาศของการร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก         บริษัท ริเวอร์ แคว อินเตอร์เนชั่นแนล ฟู๊ด จำกัด </p><p>อตก3</p><p></p><p> </p><p> </p><p></p><p>…………………………………………………………………………………………. </p><p>17 ตุลาคม 2550 </p><p>          สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ อตก. ทุกท่าน             วันนี้ เป็นวันแรกของโครงการพัฒนาทุนแห่งความสุข ของ อตก. ครับ ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดโครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขของ อตก.   ถึงแม้เป็นโครงการระยะสั้น  แต่ผมขอชื่นชม ในวิสัยทัศน์ของผู้บริหารของ อตก.ที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเรื่องทุนทางความสุข ควบคู่ไปกับทุนทางปัญญา  </p><p>         ส่วนที่ผมชื่นชมอีกเรื่องก็คือ ครั้งนี้ อตก. ได้เชิญหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน มารับการเรียนรู้ด้วย ครับ ถือได้ว่า อตก. นั้น เป็นองค์กรหนึ่งที่มองการณ์ไกล และเห็นความสำคัญของทุนทางด้าน Networking เพื่อมองถึงการทำงานร่วมกันในอนาคตครับและโครงการนี้ เกิดขึ้นได้ ผมต้องขอชื่นชม ลูกศิษย์ของผม จากโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ครับ คุณณัฐวีย์   ชัยมาลา ที่สังกัดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ซึ่งเมื่อเรียนรู้แล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์กับตัวเอง ก็ไปแนะนำให้กับองค์กรที่ทำงานอยู่ เพื่อให้มีโอกาสได้รับการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยเช่นกัน จึงเกิดโครงการในครั้งนี้ขึ้น  </p><p>          อย่างไรก็ตาม ผมหวังว่าทั้ง 50 ท่าน ที่ได้รับการเรียนรู้นี้  จะสามารถขับเคลื่อนองค์กรของอตก. และพัฒนาประเทศ ให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยทุนแห่งความสุข จากปัญญา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครับ สุดท้ายนี้  ผมไม่อยากให้การเรียนรู้จบแต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น  ผมอยากให้ทุกคนเมื่อเรียนจบแล้ว มีจิตวิญญาณในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และจะเป็นผู้จุดประกายองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ปล.  ผมขอให้ Blog นี้ เป็นสื่อกลางของช่องทางในการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันครับ      และสำหรับวันแรกนี้ ผมขอฝากการบ้านเป็นงานกลุ่มให้แต่ละกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นว่า การเรียนในวันแรกนั้น ได้อะไรบ้าง  และจะนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร  โดยผมขอให้ทุกกลุ่มส่งมาใน Blog ก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2550 นี้ นะครับ </p><p align="left">      ภาพบรรยากาศโครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ (Happiness Capital Development Program) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ณ ห้องบอลรูมC โรงแรมมารวยการ์เด้น วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2550</p><p>   </p><p> </p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p></p><p>                                                                             </p><p>                                         จีระ  หงส์ลดารมภ์</p>

คำสำคัญ (Tags): #ทุนแห่งความสุข
หมายเลขบันทึก: 139628เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
ศศิญา ปานตั้น สศก.

ขอส่งการบ้านอาจารย์ในนามกลุ่ม 5 ค่ะ 

จากการได้เรียนรู้จากการอบรมและอ่านหนังสือ  พบว่า คน เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากกว่าทรัพย์ใด ๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ การพัฒนาคน ไม่ได้จำกัดแต่การอบรมพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้ความรู้ ซึ่งในทุกองค์กรควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้  และร่วมสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด  ซึ่งมีให้เห็นในองค์กรชั้นนำของประเทศ เช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และยังได้พบความจริงที่ว่าผลตอบแทนของการทำงานไม่ใช่ความสำเร็จอย่างเดียวแต่ต้องมีความสุขด้วย

ในส่วนตัวแล้วยินดีมาก ๆ ที่มีโอกาสได้เข้าอบรมครั้งนี้  และอยากให้บุคลากรของ สศก. ได้เข้าอบรมเช่นนี้บ้าง เพราะต้องการเปลี่ยนความคิดของนักวิชาการที่เห็นว่าการเข้าอบรมที่ไม่ใช่เรื่องวิชาการและไม่เกี่ยวกับงานของตัวเองเป็นเรื่องเสียเวลา ..

ศักดิ์ชัย อินทโสตถิ
เรียน  อาจารย์ ดร.จีระ ที่เคารพ

กลุ่มที่ 4 : ขอส่งการบ้านครั้งที่  1  

1) การเรียนวันแรก จะได้ประสบการณ์และแนวคิด  ดังนี้     - คนเป็นกุญแจที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จขององค์กร     - คนมีกับดักทางความคิด  หากจะพัฒนาคนต้องแก้ไขด้วยการปรับให้มีทัศนคติทางบวกก่อน     - ทัศนคติทางบวก จะทำให้คนมีความสุขในการทำงาน  และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง     - พันธมิตร หรือเพื่อน  จะช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้ง่าย     - ผู้นำที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์  จริยธรรม  และการตัดสินใจที่สร้าง  win-win2) สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในวันแรกสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้  2  มิติ ดังนี้   2.1)  มิติด้านคน : เมื่อคนมีทัศนคติที่ดีและมีความกระตือรือร้น  ย่อมมีพฤติกรรมทางบวก  ซึ่งจะเอื้อต่อการทำงานเป็นทีม   ทั้งจะกระตุ้นให้มีการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง     (มูลค่าเพิ่ม : ประสบความสำเร็จและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  /  คนมีความสุข)   2.1)  มิติด้านองค์กร : องค์กรที่ประกอบด้วยคนที่มีทัศนคติที่ดีและมีสมรรถนะสูง ย่อมสามารถขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน    และเป็นองค์กรที่ทรงคุณค่าของสังคม    ทั้งสามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความผาสุกได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้         ( มูลค่าเพิ่ม : วัฒนธรรมการเรียนรู้ /  องค์กรและเกษตรกร ประสบความสำเร็จด้วยกัน)                                            ด้วยความเคารพ                                                  กลุ่ม  4

จากการเข้ารับการอบรมขอสรุปรวมว่า การที่สถาบันใดๆหรือหน่วยงานหนึ่งจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยบุคคลากรในหน่วยงานนั้นๆเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งหากบุคคลากรที่เป็นตัวจักรได้รับการพัฒนาแนวความคิดใหม่ๆตลอดเวลาและสามารถนำแนวคิดที่ได้รับมาปรับใช้ให้เข้ากับงานที่รับผิดชอบ น่าจะส่งผลดีต่องานส่วนรวม นอกจากแนวความคิดใหม่ต่อระบบงานแล้ว การพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะมีผลต่องานส่วนรวม หากผู้ที่เป็นผู้นำมีแนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อมั่นที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานแล้วถึงแม้ว่างานจะยากอย่างไร ความเข้าใจ ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงานจะผลักดันให้งานผ่านอุปสรรคไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสุขในการดำเนินงาน 

พรจันทร์ สายทะโชติ

โครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ 17 ต.ค. - 9 พ.ย.2550

*  หัวข้อ  การเรียนในวันที่ 17 ต.ค. 2550 ได้อะไรบ้าง *รายชื่อ  ผู้แทนรับการอบรม  กลุ่มที่ 1

1. กลุ่มพนักงาน อ.ต.ก. นางปริศนา  สุนทรวราภาส ,นางสาวเตือนใจ หล่อพัฒนากูร นางพรจันทร์ สายทะโชติ,นายณรงค์ คุ้มภัยเพื่อน,นางจันทนา รัตนปัญญา นางกาญจนา  ฉลาดธัญญกิจ

2. กลุ่มหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ นางสาวพรรณี ศุภนิมิตกุล สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ กรมส่งเสริมการเกษตร ,นส.เมธี  ปัญญา  ฝ่ายบริหารงานบุคคล การรถไฟแห่งประเทศไ

*หัวข้อการอบรมในวันที่ 17 ต.ค. 50

แนะนำทฤษฏีสำคัญของการเรียนรู้ , ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน , การบริหารความขัดแย้ง , การคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา

ในวันที่ 17 ต.ค. 2550 จากหัวข้อการอบรมดังกล่าวข้างต้น ประเด็นสำคัญทำให้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติ โดยเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ และนำมาปรับปรุงแนวคิดด้านการทำงาน ให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัฒน์ในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสม สำหรับการคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา เป็นอีกมุมมองที่สำรวจตนเองแล้วเห็นว่าการคิดในทางบวกทำให้การปรับตัวในการร่วมทำงานเป็นทีมได้อย่างมีความสุข ส่งผลให้งานที่ผลิตมีประสิทธิภาพ

ทั้งน้ การเรียนรู้ การรู้คิด ที่ได้รับจะสามารถนำไปแบ่งปันให้ทีมงานเพื่อผลลัพท์ คือ งานสำเร็จตามเป้าหมายและทีมงานมีความสุข

สวัสดีครับลูกศิษย์ อตก.ทุกท่าน 

 ผมต้องขอขอบคุณสำหรับท่านที่ได้ส่งการบ้านมาทาง Blog แต่ก็ต้องพยายามส่งกันให้มากขึ้น ผมกำลังจะเดินทางไปลิเบียในเย็นวันนี้หลังจากกลับมาแล้วผมคงประสบการณ์มาเล่าให้ท่านฟัง      ซึ่งผมกลับมาทันมาร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาดูงานที่กาญจนบุรีกับท่านด้วย      จริงๆแล้วเวลาที่อยู่ร่วมกันค่อนข้างน้อย ผมจึงอยากให้ทุกท่านพยายามปรับพฤติกรรมตัวเองและสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการพัฒนาทุนทางความสุขให้ทั้งตัวของท่านเองและ อตก. ด้วยครับ

ขอบคุณครับ       

จีระ หงส์ลดารมภ์

ศศิญา ปานตั้น สศก.

กลุ่ม 5 ขอส่งความคิดเห็นเพิ่มเติมค่ะ

จากการอบรมพบว่าคนเป้นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากกว่าทรัพย์สินใด ๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสมำเสมอ การพัฒนาไม่ได้จำกัดแต่การอบรมเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการให้ความรู้ ซึ่งในทุกองค์กรควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และร่วมกันสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด ซึ่งมีให้เห็นในองค์กรชั้นนำของประเทศ ดังนั้นองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิชาการ ความรู้ จิตใจรวมทั้งสร้างความสุขในการทำงานด้วยการฝึกฝนให้คิดในแง่บวกและการขจัดความขัดแย้งในที่ทำงาน

ในการอบรมหลักสูตร  การพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2550 ท่านได้รับความรู้ ในเรื่องอะไรบ้าง                                กลุ่มที 6ในวันแรก ที่ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตร การพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ เราได้รับความรู้ ความเข้าใจ และจุดประกายความคิดที่ชัดเจน สามารถกำหนดแนวทางในการที่จะสร้าง ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ให้เกิดแก่ตนเอง  ดังนี้                                Work life Balance เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งยุกต์โลกาภิวัตน์(Globalization)ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องตลอดเวลา(Dynamic) ดังนั้น เราทุกคนจำเป็นต้องมีการ คิด วิเคราะห์ ตนเองตลอดเวลา เพื่อให้รู้ทันต่อการเปลียนแปลง เพื่อสร้างความสมดุลในชีวิตครอบครัว และชีวิตการทำงาน                                 ในการดำรงชีวิตอยู่  เราต่างมีความเครียดเกิดขึ้นมากมาย ความเครียดจากการแสวงหาปัจจัย 4 เพื่อดำรงชีวิต เครียดจากบุคคลในครอบครัว เครียดจากความต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ เครียดจากบุคคลรอบข้าง รวมถึงความเครียดอันเกิดจากปัญหาและความวิตกกังวลในการทำงาน กลัวทำงานผิดพลาดไม่บรรลุเป้าหมาย  สิ่งเหล่านี้ทำให้คนเราเกิดความเครียด กลัว ในการดำรงชีวิตชีวิตมีสิ่งบั่นทอน ไม่มีความสุขในการมีชีวิตอยู่ ทุนแห่งความสุขที่มีอยู่ลดลงไปเรื่อยๆตามสภาพความกดดันที่เกิดในโลกโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องค้นเติมทุนแห่งความสุขสะสมไว้ให้มาก                                เครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ความเครียด และความกลัว ของเราค่อยๆ ลด น้อยลง ๆ ไปเรื่อยๆ คือ ความใฝ่รู้ เราต้องใฝ่รู้และแสวงหาความรู้ในทุกรูปแบบ ทุกช่องทาง เพื่อให้เรามีการพอกพูนความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปคิด วิเคราะห์ เพื่อลดความเครียดและความกลัวที่มีอยู่ให้ลดน้อยถอยลง และหมดไป  และเราเชื่อว่าการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเองในการทำงานเป็นการเพิ่มทุนแห่งความสุขเพื่อทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีผลิตภาพ(Productivity)                                 อีกหนึ่งประโยชน์ของความใฝ่รู้ จะนำพาเราสู่การเป็น ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์ของคนเราเกิดจาก การนำเอาความรู้ที่มีอยู่ในสมองมาคิดวิเคราะห์ หาแนวทาง วิธีการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการดำรงชีวิตของเรา แน่นอน หากเรามีความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาย่อมส่งผลให้เราสามารถคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาได้มากกว่าบุคคลที่มีองค์ความรู้อยู่อย่างจำกัด  นอกจากความใฝ่รู้เราจำเป็นต้องมีความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมืออันจะทำให้เราเพิ่มทุนแห่งความสุขในการดำรงชีวิตในโลกโลกาภิวัตน์ได้อย่าง รวดเร็ด และดีเยี่ยม ส่งผลให้เราสามารถทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ และผลิตภาพ                                  การบริหารความขัดแย้ง  เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างมีความสุข

การบริหารความขัดแย้ง เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างมีความสุข ในการทำงาน ซึ่งความขัดแย้งในการทำงานอาจเป็นความขัดแย้งแบบส่วนรวม ความขัดแย้งลักษณะนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดี ผู้นำต้องกระตุ้นให้เกิดขึ้นในส่วนงานในองค์กรเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดเห็น ที่หลากหลาย เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมอง อันจะก่อประโยชน์แก่ส่วนงานและองค์กร อีกประเภทหนึ่ง เป็นความขัดแย้งแบบส่วนตัว ความขัดแย้งลักษณะนี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ดีเนื่องจากเป็นเรื่องระหว่างบุคคล แต่อาจส่งผลต่อส่วนงานและองค์กรได้ เพื่อให้ชัดเจนอาจแบ่งความขัดแย้งเป็น 3 รูปแบบคือ 1. ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล เกิดจากความริษยา เอารัดเอาเปรียบ ซึ่งกันและกัน เป็นลักษณะความขัดแย้งที่ไม่ดีอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวมได้ ผู้นำต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หากเ กิดขึ้นแล้วการแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องยากมากกว่า 2. ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร เกิดจากความไม่เข้าใจ ในภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้นำต้องแสดงบทบาทโฆษกทำความเข้าใจ ชี้แจง สื่อสารให้เกิดควาเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างบุคลากรกับองค์กร 3. ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน เกิดจากความไม่เข้าใจในบทบาท หน้าที่ของหน่วยงาน และบทบาทของตนเอง ผู้นำต้องตระหนักในหน้าที่ของตนเองและต้องพร้อมที่จะร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากส่วนงานอื่นในองค์กร เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่องค์กรโดยภาพรวม เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในส่วนงาน ผู้นำจำเป็นต้องบริหารจัดการความขัดแย้งนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนงาน องค์กรให้มากที่สุดไม่ปล่อยให้ความขัดแยงเกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากอาจเกิดความเสียหายแก่องค์กรโดยรวม

ดังนั้น เพื่อให้พวกเราได้พัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยการนำเครื่องมือต่างๆข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงาน อีกทั้งการที่เราได้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้พวกเรามีความสุขทั้งชีวิตการทำงานให้มากขึ้น ตลอดจนถึงชีวิตครอบครัว อีกทั้งสร้างสภาพแวดล้อมของตนเองให้มีความสุขและผู้คนอื่นๆรอบข้างให้มีความสุขไปด้วย สังคมก็จะมีความสุขตรงตามเจตนารมย์ของการเข้าอบรม

กลุ่ม 6 รายชื่อดังนี้

1. น.ส.นุชนาถ ปรีชาชนะชัย ผู้บริหารทีมสวัสดิการ กองสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ ธ.กส. 

 2. น.ส.ธัญลักษ์ เจริญปรุ หัวหน้ากองทรัพยากรบุคคล อ.ต.ก.

3. นายชัยพงศ์ สุขพันธุ์ ผู้จัดการ อ.ต.ก.เขต 6 อ.ต.ก. 4. นางคนึงสุข ชาญชัยเลิศ ผู้จัดการสำนักงานตลาดกลาง อ.ต.ก.

 5. นายประกอบ รัตนภักดี หัวหน้าแผนกอำนวยการ สนง. อ.ต.ก.เขต 7

 6. นางอรวรรณ จันทร์เจริญ หัวหน้าแผนกตรวจจ่าย อ.ต.ก.

จากการเรียนรู้โดยการฟังการบรรยายจากอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน สามารถสรุปได้ดังนี้

   ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ  ให้มีความรู้ความสามารถอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  เพื่อสร้างมุมมองและแนวคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา  เพื่อเรียนรู้การทำงานเป็นทีม  เพื่อรู้จักการบริหารความขัดแย้ง บนพื้นฐานของความสุขแห่งการทำงาน  เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรและบุคลากรขององค์กรเอง

กลุ่ม 6 ขอเพิ่มชื่อสมาชิกอีก 1 ท่านคือ

นางวราภรณ์  วงษ์สถิตย์  หัวหน้าแผนกงบประมาณ

อ.ต.ก.

ท่านได้อะไรจากการสัมมนาในวันนี้                         ในการเข้าสัมมนา โครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ  เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2550  ณ โรงแรมมารวย  การ์เด็นท์ กรุงเทพ ฯ ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า ปฎิบัติอย่างไรให้มีความสุขกับงานจนเกิดประโยชน์สูงสุด                        โดยเห็นเช่นเดียวกับท่านวิทยากรและบุคคลทั่วไปที่ว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด และขณะเดียวกันก็เป็นผู้ก่อปัญหาที่สุดด้วยเช่นกัน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้พฤติกรรมการแสดงออกทางความคิดและความรู้สึก เพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนาความคิดเสริมสร้างให้คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญและแก้ไขไม่ให้เป็นผู้ก่อปัญหา ซึ่งควรมุ่งดำเนินการ ดังนี้                         1.ให้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้เฉพาะทาง เช่น ความรู้ในการปฎิบัติงาน และความรู้ ด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี รับรู้กระแสการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของโลก                          2.ให้โอกาสสร้างเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาแนวคิดให้กว้างไกลออกไป                        3.ต้องให้มีคุณธรรมจริยธรรม                        ด้วยวิธีการดังกล่าว ทำให้เกิดผลดีหลายประการ เช่น ทำให้องค์กรพัฒนาทันความก้าวหน้าของโลก  เกิดประสิทธิภาพของบุคลากรและประสิทธิผลของงานและโดยเฉพาะได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถมีคุณธรรมจริยธรรม ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันเกิดความสัมพันธ์ที่ดีย่อมเกิดความสุขโดยทั่วกัน หรือหากคิดให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรก็สามารถพัฒนาให้ทัดเทียนแข่งขันกับภาวะโลกได้ เกิดผู้นำ อีกทั้งเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของผู้ร่วมงาน ย่อมเป็นประโยชน์แก่องค์การให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างแน่นอน                         อย่างไรก็ตาม  หากไม่สามารถนำมาปฎิบัติหรือปรับปรุงได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ย่อมไม่ก่อประโยชน์แต่ยิ่งจะก่อปัญหาและสร้างความเสียหายมากขึ้นด้วยซ้ำ

                        สำหรับข้าพเจ้าที่เข้ารับการสัมมนา ต้องกลับมาพิจารณาว่า ตนเองเป็นอย่างไรมีความรู้ความสามารถเฉพาะเรื่องหรือความสามารถด้านอื่น ๆ หรือไม่  มีความเข้าใจและมีมุมมองเพื่อนร่วมงานอย่างไร  เพื่อจะได้ทำให้ตนเองและครอบครัวมีความสุขและมีความสุขอยู่กับงานและเพือ่นร่วมงานตลอดไป

 

                            

นางวิลาวัณย์ ชัยวัฒน์
โครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรกลุ่มที่  7------------------------------- หัวข้อ              ผู้รับการอบรมคาดหวังว่าจะได้รับอะไรจากการอบรมครั้งนี้ ในการอบรมครั้งนี้คาดหวังว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำมาพัฒนาตนเองและองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน  มีประสิทธิภาพในการทำงานสมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของแผนงานและโครงการต่าง ๆ   องค์กรมีความสมัครสมานสามัคคี  มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม  มีระบบการกระจายอำนาจที่ดี  มีการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม   เพื่อนำองค์กรและผู้ร่วมงานไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข -----------------------------
โครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรกลุ่มที่  7------------------------------- หัวข้อ              ผู้รับการอบรมคาดหวังว่าจะได้รับอะไรจากการอบรมครั้งนี้ ในการอบรมครั้งนี้คาดหวังว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำมาพัฒนาตนเองและองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน  มีประสิทธิภาพในการทำงานสมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของแผนงานและโครงการต่าง ๆ   องค์กรมีความสมัครสมานสามัคคี  มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม  มีระบบการกระจายอำนาจที่ดี  มีการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม   เพื่อนำองค์กรและผู้ร่วมงานไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข ----------------------------- รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม  กลุ่มที่  7อ.ต.ก.              1.  นางวิลาวัณย์        ชัยวัฒน์                        2.  นายพีรศักดิ์          แม้นสมุทร                        3.  นางปรียา              รวิวรรณพงษ์                        4.  นายปริญญา         ไทยถนอม                        5.  นางสาวอนุชิดา     พงษ์พนมเวช                        6.  นางสาวฐานิตา      ธาราแสวง เครือข่าย            นางดวงสวรรค์        ลิมปวัฒนกุล      บุคลากร  7         กองการเจ้าหน้าที่                                                                                    กรมประชาสัมพันธ์             

ศักดิ์ชัย อินทโสตถิ
สวัสดีครับอาจารย์กลุ่ม  4  : ขอส่งการบ้านครั้งที่  2

พวกเราได้แนวคิดและทักษะจากการสัมมนาวันที่ 1 , 2  พ.ย. 2550  ดังนี้

1) ทัศนศึกษา  :  ได้แง่คิดเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จของภาคเอกชน

ที่เกิดจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่เป้าหมาย

 ด้วยการเน้นด้านคุณภาพ   ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และมี

 ปฏิสัมพันธ์กับพันธมิตรแบบ  WIN - WIN

2) E.Q.  :  ให้ทักษะในการรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้ง  การบริหารอารมณ์

 รู้จักการปล่อยวาง อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์  และการฝึกตนเองให้มี

 E.Q. สูงขึ้น

3) TEAMWORK :  ให้ประสบการณ์ในการลดอัตตาของตนเอง   การบูรณาการความคิดเป็นหนึ่งเดียว  และความสุขจากการทำกิจกรรมร่วมกัน4) 7  HABITS  :  ให้แง่คิด(4.1) คนต้องมีความเห็นที่ถูกต้องเหมาะสม หรือได้รับการปลูกฝังทัศนคติที่ดีก่อน  จึงจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเชิงบวก(4.2) 7  HABITS    ช่วยพัฒนาคนจาก  พึ่งพาคนอื่น    è   พึ่งพาตนเอง  è  ให้ความร่วมมือ   อันจะก่อให้เกิดความสมดุล  มั่นคง  และยั่งยืน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (4.3) 7  HABITS  เป็นคุณลักษณะที่จะช่วยให้คนประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน  โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ก่อนซึ่งในสังคมไทยก็มีการสอนในเรื่องนี้มานานแล้ว  แต่พวกเรามักมองข้ามไปหลักการนี้คือ  อิทธิบาท  4 : (ธรรมอันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ)ของพระพุทธเจ้า  ซึ่งสรุปโดยสังเขป ดังนี้- รักที่จะทำ - ขยันที่จะทำ - ใส่ใจในสิ่งที่ทำ- หมั่นไตร่ตรองในสิ่งที่ทำ5)  คุณค่าที่ได้รับ จากการสัมมนา  2  วัน :  - E.Q.  สูงขึ้น  /  โลกทัศน์เปิดกว้าง  /  ขยายเครือข่ายแหล่งความรู้ 6) สมาชิกกลุ่ม  :ทรงวุฒิ  เอียดเอื้อ , อวยชัย  สุขสะอาด , ศักดิ์ชัย  อินทโสตถิสมพร  อธิคุณากร , นเรศวร์  สงสำเภา , สุทธิพงษ์  ขำนิลจรัญญา  ลำไย  ( มกอช. )กลุ่ม  4
หลังจากกลับจากการทัศนะศึกษาดูงานที่ บ.Riverkwai International Food ที่ จ.กาญจนบุรี แล้วมีความคิดเห็นว่าประเทศของเราสามารถที่จะเป็นศูนย์ส่งออกวัตถุดิบอาหารของโลกได้ เนื่องจากพื้นฐานของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มีศักยภาพในการผลิตพืช ผัก ผลไม้ เพื่อการส่งออกได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องศักษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี่ในการถนอมอาหารให้คงทนและรูปแบบ Packaging ให้ทันสมัยตลอดเวลา ซึ่ง อ.ต.ก.เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการด้านการเกษตรอยู่แล้วและมีสาขามากมาย สามารถที่จะพัฒนาตนเองให้รองรับการดำเนินการดังกล่าวได้
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 คณะอาจารย์นำโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้นำพนักงานอ.ต.ก.ผู้เข้ารับการสัมมนาโครงการ พัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ ไปดูงานที่ RIVER  KWAI INTERNATIONAL  FOOD  INDUSTY  CO. ,LTD จังหวัดกาญจนบุรี                                 ผลจากการดูงานเห็นว่า บริษัท ฯ เป็นผู้ส่งออกข้าวโพดหวาน และผักสดปลอดสารพิษหลายชนิดได้แก่ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง พริก ORGARNIC  รวมทั้งผลผลิตที่แปรรูปจากผลิตผลดังกล่าว ส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ประเทศในทวีปบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์ ไต้หวัน ประเทศในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ สวิส ฝรั่งเศส เยอรมัน ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น อาร์เจนตินา และทวีปออสเตรเลีย นอกจากผลิตผลดังกล่าวแล้ว บริษัท ฯ ยังได้ส่งออกผลไม้ไทยเช่น มะม่วง และลิ้นจี่ ออกต่างประเทศด้วย ซึ่งในอนาคตบริษัท ฯ จะพิจารณาส่งเงาะ และลำไยออกไปต่างประเทศอีกด้วย                                 จากการดำเนินธุรกิจของบริษัท ฯ แสดงให้เห็นถึงขบวนการเริ่มต้นตั้งแต่ ขั้นตอนการสรรหาผลผลิต การบรรจุผลผลิต และการจำหน่ายออกต่างประเทศ และจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท ฯ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ  ความอดทนวิริยะอุตสาหะ ความมุ่งมั่น การทำงานเป็นทีมงานของผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัท ฯ จึงทำให้บริษัท ฯ ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย และได้รับรางวัลต่าง ๆ เป็นการตอบแทนความสำเร็จ 

ปริญญา ไทยถนอม

                                 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550 พนักงานอ.ต.ก.ที่เข้ารับการสัมมนาโครงการ พัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ ได้รับการอบรมจาก ผศ ธีระศักดิ์ กำบรรรักษ์ในหัวข้อ ความฉลาดทางอารมณ์                                 จากการอบรมทราบว่า ความสำเร็จในชีวิตของคนทั่วไป ต้องประกอบด้วย การปฎิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ และการปฎิบัติตัวเองให้มีความสุข โดยเฉพาะการปฎิบัติตัวเองให้มีความสุขมิใช่มีเพียงความรู้ความสามารถเท่านั้น แต่ยังจะต้องมีความฉลาดทางอารมณ์(EMOTIONAL QUOTIENT) ประกอบด้วย                                ความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่1.       การรู้จักตนเอง2.       การจัดการกับความรู้สึกของตนเอง3.       การจูงใจทางอารมณ์ของตนเอง4.       การรับรู้ความรู้สึกของบุคคลอื่น5.       การสังสรรค์ทางสังคม ในการบรรยายหัวข้อ การสร้างทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพ   โดย รศ. ดร.มนตรี บุญเสนอ ทำให้ทราบว่า การทำงานในยุคใหม่ต้องประกอบด้วย การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องรูปแบบการปรับปรุงไม่แน่นอน และการให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นทีมงาน และนอกจากนี้หากทุกคนปฎิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นให้เกิดผลสำเร็จของงานประกอบด้วย ก็จะทำให้ผลงานสำเร็จไปด้วยดี                                นอกจากองค์ประกอบข้างต้นแล้ว หากองค์กรใดมีผู้นำที่มีภาวะของผู้นำที่ดีประกอบด้วย ยิ่งจะทำให้องค์กรนั้น ๆ เจริญรุ่งเรืองขึ้น ซึ่งคุณสมบัติของผู้นำที่ดีจะต้องประกอบด้วยการรู้จักตนเอง การพัฒนาตนเอง และรู้จักผู้อื่นและการพัฒนาผู้อื่น ก็จะทำให้ทุกคนมีความสุขในการปฎิบัติงานต่อไป องค์กรก็จะเจริญร่งเรือง                                 ในการบรรยายหัวข้อ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูง   อาจารย์อดิสัย มนะเวสทำให้ทราบว่า การสำเร็จของงานควรเริ่มมุ่งเน้นจากการพิจารณาตนเองเป็นสิ่งแรก ตามด้วยการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น จนในที่สุดความสำเร็จของงานควรจะต้องกระทำร่วมกันระหว่างตนเองกับผู้อื่นจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักการดังกล่าว จึงต้องปฎิบัติตนเองใน 7 ข้อต่อไปนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างตนเองและผู้อื่น1.หากมีการแก้ไข แต่แก้ไขไม่ได้ ต้องแก้ไจที่ตนเอง2.มีความมุ่งมั่นในใจที่จะแก้ไข3.ทำสิ่งที่สำคัญก่อน                4.ต้องมีความมั่นใจที่จะต้องชนะ5.ต้องเข้าใจผู้อื่นก่อนและต้องเข้าใจตนเองตาม6.ต้องมีพลังที่จะประสานความต่าง                                                7.ตัวเองจะต้องดูแลตนเองทั้งหมดในด้านร่างกาย สมอง จิตใจ และจิตวิญญาณ 

ปริญญา ไทยถนอม

  

1.จิตวิทยาผู้นำกับความฉลาดทางอารมณ์

           ผู้นำต้องสามารถตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและต้องมีสติในการบริหาร อารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่น มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถสือสารได้ผลทางบวกกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

           ทั้งนี้เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาแต่วิธีการมองปัญหานั้นทำให้เกิดปัญหา จึงต้องฝึกมองในทางสร้างสรร

2. การสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ

             ผู้นำทีม ควรมีความรู้ความสามารถ เพื่อให้ทีมงานมีความไว้เนื้อเชื่อใจ ยอมรับ เห็นอกเห็นใจและเต็มใจที่จะทำงานร่วมกัน

3. 7 Habits

             คนที่จะประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง จะต้องเริ่มมาจากการปลูกฝังนิสัยที่ถูกต้องให้กับตนเองก่อน นิสัยหมายถึงความคิด ความเชื่อ ที่จะเป็นกรอบในการมองโลกและกำหนดพฤติกรรม และจะเป็นความสำเร็จที่แท้จริงและยั่งยืน จะต้องเปลี่ยนแปลงมาจากภายในของคน ๆ นั้น จนมีความคิดความเชื่อในหลักการนั้นจริง ๆ โดยให้ยึดมั่นในหลักการ คือ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์  ความอดทน ความกล้าหาญ และความเสียสละ ทั้งนี้ 7 Habits ในกลุ่มแรก (นิสัย 1-3)เป็นไปในลักษณะชนะใจตนเอง คือการกระทำเกิดจากการเลือกของตนเอง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการหรือคุณค่ามากกว่าจะเป็นผลมาจากเงื่อนไขหรือความรู้สึก และเราจะทำอะไรสำเร็จจะต้องมีการตั้งเป้าหมายภายในใจอย่างชัดเจนและแน่นอน และทำในสิ่งที่ควรทำก่อนเสมอ กลุ่มต่อมา (นิสัย 4-6) เป็นไปในลักษณะชนะใจผู้อื่น ทุกฝ่ายรู้สึกดีกับการตัดสินใจและรู้สึกผูกพันในแผนการเพื่อที่จะให้บรรลุผลสำเร็จ และกลุ่มสุดท้าย (นิสัย 7) เราต้องรักษาและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา                  จากการอบรมทั้ง 3 หัวข้อทำให้รู้ว่า

         การเป็นผู้นำนอกจากมีความรู้ความสามารถ เพื่อให้ทีมงานศรัทธายอมรับ และทำงานให้แล้ว การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ การมองสถานการณ์ในทางสร้างสรร เป็นสิ่งสำคัญ และการจะประสบความสำเร็จและมีความสุขอย่างแท้จริง เราต้องเริ่มปลูกฝังนิสัยที่ถูกต้องให้กับตนเองก่อน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในของตัวเรา จนมีความคิด ความเชื่อ และยึดมั่นในหลักการนั้น ๆ จริง และเราควรจะยึดมั่นในหลักการว่าด้วยความยุติธรรม ความซื่อสัตย์  ความอดทน ความกล้าหาญ และความเสียสละ

          สำหรับการไปดูงาน ณ. จังหวัดกาญจนบุรี มีประโยชน์ทำให้เห็นความก้าวหน้า ความสำเร็จของภาคเอกชน        

 คำถาม :  จากการไปดูงานที่ River Kwai Internation Food Industry Co.ltd. ท่านได้รับประโยชน์อะไรบ้างตำตอบจาก กลุ่มที่ 6 :  1)การเดินทางในทัศน์ศึกษา  ดูงาน  จังหวัดกาญจนบุรี1.1  ระหว่างการเดินทาง  เราได้เรียนรู้ร่วมกัน  ผู้เข้าสัมมนาได้เพิ่มทักษะในการแสดงออก   ของแต่ละบุคคล    ซึ่งคณาจารย์สามารถดึงความนึกคิดทั้งเรื่องงาน    ประสบการณ์ของ แต่ละบุคคล   ทำให้ทุกคนมีความกระตือรือร้น   เรียงความคิด  รู้จักถ่ายทอดให้เพื่อนได้รับรู้   และผู้บริหารที่ร่วมเดินทางได้รู้จักพนักงานมากขึ้น          บรรยากาศเดินทางเป็นไปด้วยความอบอุ่น  พนักงานมีความสามัคคี  เอื้ออาทรต่อกันและโดยเฉพาะพนักงาน อ... ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกกันมากขึ้น  เพราะถึงแม้จะอยู่ในที่ทำงานบางคนอาจจะไม่ได้เจอกันก็มี              นับว่าการร่วมเดินทางครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์  เห็นคุณค่าของเพื่อนและที่สำคัญได้เพิ่มพลังชีวิตให้แก่ทุกคน  ทั้งส่วนงานภายในและภายนอก  ในอันที่จะส่งผลถึงทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ                                  การทำธุรกิจสินค้าเกษตรเป็นกระบวนการที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในทุกรายละเอียดของกระบวน เช่น การผลิต : การบริหารจัดการผลผลิตจะทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต(Supply)ที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้าในปริมาณที่ตลาดต้องการ(Demand) เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรเป็นเรื่องยากกว่าการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทั่วๆไปเพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับ ดิน ฟ้า อากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม และการควบคุมพื้นที่การผลิตคงเป็นเรื่องยากที่เกษตรกรทั้งประเทศจะทำได้  การตลาด : เนื่องจากปริมาณสินค้าเกษตรขึ้นอยู่กับฤดูกาล ดังนั้นราคา(Price) ของพืชผักจึงเป็นเรื่องอ่อนไหว ขึ้นลงรวดเร็วตามปริมาณ (Supply) และทำอย่างไรจึงจะเพิ่มยอดขายเพื่อความอยู่รอด อีกทั้งตัวสินค้า (Product) ก็มีอายุสั้นการเก็บรักษาก่อนส่งมอบให้ลูกค้าก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเช่นกัน แล้วทำอย่างไรธุรกิจสินค้าเกษตรจึงจะอยู่รอด มั่นคง และยั่งยืน  ในส่วนของการเงิน: ธุระกิจสินค้าเกษตรกับการเข้าถึงตลาดเงิน ตลาดทุน คงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามอีกต่อไป                                รัฐบาล  ส่วนงานราชการ  รัฐวิสาหกิจที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรควรเสนอตัวเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจสินค้าเกษตรอย่างไรกันบ้าง                                 คำถาม: จากการอบรมเมื่อวันที่ 2 พย 2550 ท่านได้รับความรู้ในเรื่องอะไรบ้างคำตอบจาก กลุ่มที่ 6                                 ความฉลาดทางปัญญา (Intelligence Quotient :IQ) หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา  เชาวน์ไหวพริบ และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา  ในการทำงานแน่นอนว่า จะต้องใช้สติปัญญาที่จะคิดสร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา  คิดหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  โดยสามารถเสริมสร้างได้โดยการใฝ่รู้ เรียนรู้ การฝึกอบรม การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง  ผู้นำ (Leader : คนที่สามารถชักนำให้บุคคลอื่นทำงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์) นอกจากจะมี IQ สูงแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ความฉลาดทางอารมณ์(Emotinal Qqotient :EQ )  ซึ่งหมายถึงต้องมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง และรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น มีสติที่จะบริหารจัดการอารมณ์เหล่านั้น เพื่อแสดงออกซึ่งพฤติกรรมอันเหมาะสม สื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี                                 วิธีการสร้าง และพัฒนา EQ เริ่มจากอันดับแรกต้องเริ่มจากการเข้าใจตนเอง       โดยการวิเคราะห์และค้นหาตนเอง(Self Awareness) เช่นค้นหาภาวะขาดแคลนของชีวิตตนว่าเราต้องการอะไรมากที่สุด ค้นหาตนเองในอุดมคติหากเลือกได้เราอยากเป็นอะไร เพราะอะไร  ค้นหาเป้าหมายสูงสุด ของชีวิตที่ตนเองต้องการ เพื่อการตระหนักรู้ตัวตนเองเพราะการที่เรารู้จักตนเองจะนำไปสู่การเข้าใจ และรู้จักคนอื่นได้ดียิ่งขึ้น อารมณ์ของมนุษย์เกิดจากสิ่งเร้าต่างๆ เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้นเราต้องรู้จักกับอารมณ์และการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง(Emotion Regulation) ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจและไวต่อการรู้จักอารมณ์ของตนเอง และพร้อมรับรู้อารมณ์ของคนอื่น ความคิดของมนุษย์ทำให้เกิด อารมณ์ต่างๆ  เช่น อารมย์โกรธ เศร้า ดีใจ เสียใจ เป็นต้น    ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เรามีอารมณ์ที่มิพึงประสงค์ขอให้    หยุดคิดในเรื่องนั้นๆ ทันที อาจใช้วิธีหยุดคิดโดยการหายใจเข้าลึกๆ มีสติ ดูความคิด และรู้จัก กับมัน แล้วจัดการกับมัน หากจะดีกว่าเรานั้นเราน่าจะคิดแต่สิ่งดีๆ คิดเชิงบวก(Positive Thinking)     คิดในสิ่งที่สมเหตุสมผล มองโลกในแง่ดี เพื่อเป็นเติมพลังให้ชีวิตและเป็นการจูงใจตนเอง(Self Motivation) ในขณะเดียวกันต้องพร้อมที่จะรับรู้ ร่วมรู้สึก(Empathy)                                                                           ถึงอารมณ์ของผู้อื่น ขณะเดียวกันต้องฝึกฝนวิธีการสร้างเสริมทักษะทางสังคม(Social Skills) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและเกิดศัทธาจากเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง  โดยแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทั้งองค์กร                                ในกระแสโลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์โลกไร้พรหมแดน (Globalization) ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน ส่งผลให้ธุรกิจทุกประเภทมีการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง  ดังนั้นบุคลากรขององค์กรจำเป็นต้องพัฒนาตนเองเพื่อก่อให้งานมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเพิ่มผลิตภาพ (Productivity)  ซึ่ง Stephen R. Covey g เชื่อว่า     บุคคลที่มีประสิทธผลสูงจะต้องมี 7 อุปนิสัยเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่ง 7 อุปนิสัย ดังกล่าวตั้งอยู่บนหลักการ(Principle) ความสมเหตุสมผล โดยเชื่อในวงจรแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่า  เห็น(กรอบความคิด: Paradigm) และลงมือกระทำตามที่คิด (Behavior)  จะได้รับผลลัพธ์ (Results) ตามที่ต้องการ โดยเริ่มจากการสร้าง 3 อุปนิสัยแรกเพื่อเอาชนะตนเอง ให้สามารถเพื่อพึ่งพาตนเองได้ดังนี้   ·       อุปนิสัยที 1. Be Proactive:เป็นผู้ตัดสินใจกระทำและรับผิดชอบในการกระทำนั้น  เราสามารถกำหนดทุกอย่างได้ด้วยความคิดของเราเอง·       อุปนิสัยที่ 2. Begin with the End in Mind:มีจุดมุ่งหมายในใจ                              มีเป้าหมายในการทำงาน   ·       อุปนิสัยที่ 3 .Put First Things First:ทำงานที่สำคัญก่อน เมื่อมีอุปนัสัยที่ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้แล้วต้องพัฒนาอุปนิสัยเพิ่มอีก 3 อย่างเพื่อให้สามารถเอาชนะต่อสังคมก้าวสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ดังนี้·       อุปนิสัยที่ 4 . Think Win-Win:คิดแบบ ชนะ-ชนะ ไม่เอาเปรียบผู้ใด·       อุปนิสัยที่ 5. Seek First to Understand,Then to be Understood:เข้าใจผู้อื่นก่อน เขาจึงจะเข้าใจเรา·       อุปนิสัยที่ 6. Synergize: รวมพลังประสานความแตกต่าง                       เมื่อมีอุปนิสัยดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องเติม ·       อุปนิสัยที่ 7. Sharpen the Saw: คือความใฝ่รู้เพื่อลับเลื่อยที่มีอยู่ให้คม อยู่ตลอดวลานอกจากบุคลากรขององค์กรจะเป็นผู้มีประสิทธิผลสูงแล้ว ธุรกิจทุกประเภทจำต้องมีการปรับปรุง พร้อมเปลี่ยนแปลงตนเอง ตลอดเวลาเพื่อสนองตอบต่อความต้องการสูงสุดของลูกค้า (customer)   ดังนั้น การสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ (Team Building) จึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดอย่างยั่งยืน และองค์ประกอบที่สำคัญของการสร้างและบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพนั้น จะสร้างสรรค์ความมุ่งมั่น ความมีวินัยในการทำงาน      สร้างความร่วมมือความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust)ของทุกคนในทีมในโอกาสที่เท่าเทียมกัน(Opportunity) จัดกระบวนการทำงาน(Process) ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge Transfer) เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการสู่ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าโดยสรุปว่า  การพัฒนาทุนมนุษย์    ควรจะประกอบด้วย  IQ   และ   EQ   อีกทั้งอย่างน้อยจะต้องมีอุปนิสัยที่ 1   คือ  เราสามารถกำหนดทุกอย่างได้ด้วยความคิดของเราเององค์ประกอบในการจะเป็นผู้บริหาร  และต้องพัฒนาถึงงอุปนิสัยที่  2 – 7  ผู้นั้นจึงจะมีทุนมนุษย์ที่   มีคุณภาพและทรงประสิทธิ์ภาพสูง

     จากการอบรมตามโครงการพัฒนาทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ (Happiness Capital Devlopment Program) ในวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2550  สรุปสาระสำคัญที่ได้รับ  ดังนี้

    *  เยี่ยมชมบริษัท RK.1 อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับทราบการดำเนินงานของบริษัทฯผลิตอาหารส่งออกต่างประเทศ,ความก้าวหน้า ความพยายามในการติดต่อหาตลาดทั้งในเอเซีย ยุโรป ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การจัดการฟาร์มในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รู้สึกชื่นชมในการดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นอย่างยิ่ง

     *  คุณสมบัติที่ดีของผู้นำต้องมีจิตวิทยา การควบคุมอารมณ์ จิตใจ การสื่อสาร ความคิดริเริ่มสร้างสรร

มีความสามารถสร้างและบริหารทีมงานให้มีประสิทธิภาพการสร้างนิสัยที่ถูกต้องให้กับตนเอง  มีความยุติธรรม  ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความกล้าหาญ รู้สึกเสียสละ ผู้นำที่ดีต้องกำหนดเป้าหมาย และดำเนินการให้บรรลุสู่ความสำเร็จตามแผนงานที่ได้ทำร่วมกันและร่วมมือร่วมใจของทุนคนในองค์กร การรู้จักคนและสันทัดในการใช้คน  ดังนั้น  ผู้นำจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

E.Q. ให้ทักษะในการเรียนรู้เรื่องการควบคุมอารมณ์ และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีม  และ เราสามารถปรับเปลี่ยน เรียนรู้ และพัฒนา E.Q. ให้สูงขึ้นได้

 Team Building : การทำงานเป็นทีมจะประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีผู้นำ เพื่อนำทีมให้บรรลุเป้าหมาย เข้าใจคุณสมบัติของผู้นำเป็นอย่างไรและ การเข้าใจทีมงาน ผ่านกลยุทธ์ของวิทยากรในการฝึกทักษะจากการเล่นเกมส์

7 HABITS :เป็นการสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดความไว้วางใจในตัวเองและนำไปสูความไว้วางใจต่อผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เราทำงานสำเร็จได้โดยง่าย                  

สวัสดีครับปรบมือ 121231234   121231234    เกษตรกรมั่งคั่ง   อ.ต.ก.ยังยื่น     เฮ!กลุ่ม 3 ขอส่งการบ้านครับ- วันแรกของการฝึกอบรมที่จัดให้มีการทัศนศึกษานอกสถานที่ สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับในวันนี้ถือว่า                1. ระหว่างการเดินทางก่อนสู่เป้าหมายการดูงาน มีการจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมพูดแนะนำตัว เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้จักกันทุกคน  วิธีนี้เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม สิ่งที่ได้รับคือการประสานงานระหว่างหน่วยงานเดียวกัน และต่างหน่วยงาน  เพื่อเป้าหมายความสำเร็จของหน่วยงาน                2. การดูงานที่บริษัทริเวอร์แคว จำกัด สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับคือ การได้รับทราบว่าผลิตผลการเกษตรไทยมีการส่งไปจำหน่ายที่ประเทศไหน การสร้างเครือข่ายการผลิต การบริหารจัดการสมัยใหม่ การจัดการเกษตรอินทรีย์ และการรวมใจเป็นหนึ่งเดียว เช่น ทานอาหารกลางวันร่วมกัน ไหว้พระร่วมกัน        -วันที่ 2  ของการฝึกอบรมสิ่งที่ได้รับคือความรู้ทางจิตวิทยา ผู้นำยุคใหม่ที่จะประสพความสำเร็จ จะต้องมีความรอบรู้เรื่องจิตวิทยา เพื่อใช้ในการบริหารอารมย์ของผู้บริหาร และบริหารคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา และการเรียนรู้อุปนิสัยผู้นำ ที่จะนำไปสู่ประสิทธิผลสูงสุด                  การเล่นเกมส์ต่างๆ  เป็นการละลายพฤติกรรมของผู้เข้าฝึกอบรมให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของงาน

สวัสดีครับ

สุรัตน์

 ปรบมือ 121231234   121231234    เกษตรกรมั่งคั่ง อ.ต.ก.ยังยื่น  เฮ! 

 

 

 

สวัสดีครับ ปรบมือ 121231234   121231234    เกษตรกรมั่งคั่ง   อ.ต.ก.ยังยื่น     เฮ!กลุ่ม 3 ขอส่งการบ้านครับ- วันแรกของการฝึกอบรมที่จัดให้มีการทัศนศึกษานอกสถานที่ สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับในวันนี้ถือว่า                1. ระหว่างการเดินทางก่อนสู่เป้าหมายการดูงาน มีการจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมพูดแนะนำตัว เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้จักกันทุกคน  วิธีนี้เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม สิ่งที่ได้รับคือการประสานงานระหว่างหน่วยงานเดียวกัน และต่างหน่วยงาน  เพื่อเป้าหมายความสำเร็จของหน่วยงาน                2. การดูงานที่บริษัทริเวอร์แคว จำกัด สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับคือ การได้รับทราบว่าผลิตผลการเกษตรไทยมีการส่งไปจำหน่ายที่ประเทศไหน การสร้างเครือข่ายการผลิต การบริหารจัดการสมัยใหม่ การจัดการเกษตรอินทรีย์ และการรวมใจเป็นหนึ่งเดียว เช่น ทานอาหารกลางวันร่วมกัน ไหว้พระร่วมกัน        -วันที่ 2  ของการฝึกอบรมสิ่งที่ได้รับคือความรู้ทางจิตวิทยา ผู้นำยุคใหม่ที่จะประสพความสำเร็จ จะต้องมีความรอบรู้เรื่องจิตวิทยา เพื่อใช้ในการบริหารอารมย์ของผู้บริหาร และบริหารคนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา และการเรียนรู้อุปนิสัยผู้นำ ที่จะนำไปสู่ประสิทธิผลสูงสุด                  การเล่นเกมส์ต่างๆ  เป็นการละลายพฤติกรรมของผู้เข้าฝึกอบรมให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของงาน

สวัสดีครับ

สุรัตน์

 ปรบมือ 121231234   121231234    เกษตรกรมั่งคั่ง อ.ต.ก.ยังยื่น  เฮ! 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท