กิจกรรมธนาคารความดี


กิจกรรมปลูกฝังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนส่งผลต่อนิสัยรักการอ่าน

                       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต  บนพื้นฐานทางสายกลาง   ตามหลักการหนึ่งคือความพอประมาณ(พอดี)ทางด้านสังคม  ได้แก่   การช่วยเหลือเกื้อกูล  การรู้รักสามัคคี  การสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและสังคม
ซึ่งหลักการข้างต้นโรงเรียนได้จัดกิจกรรมปลูกฝังนักเรียน ตามโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
                         จากผลการนิเทศ ติดตามโครงการส่งเสริมนิสัยรัก   การอ่าน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1ปี 2550
พบว่า  โรงเรียนได้จัดทำกิจกรรมธนาคารความดี  ครอบคลุมนักเรียนทุกคนในโรงเรียน โดยนักเรียนจะบันทึกความดีทุกวัน
ที่ได้ทำที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน  โดยการวาดภาพ  เขียนคำ            เขียนประโยค  หรือ เขียนเรื่องเล่า  ตามความสามารถในระดับชั้นนั้น ครูจะประเมินบันทึกความดีและกิจกรรมรักการอ่าน  จากการอ่าน      การพูด การเขียน  ถือเป็นกิจกรรมปลูกฝังนักเรียนให้รู้จักนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย  และส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 136132เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2007 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

  • แวะมาให้กำลังใจในการทำงานค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะว่าเราควรจะปลูกฝังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันตั้งแต่เด็กๆ
  • ว่างๆลองแวะมาเยี่ยมบล็อกอื่นๆบ้างนะคะ
ดิฉันก็ทำเหมือนกันคะ โครงการธนาคารความดี ให้นักเรียนชั้น ม 4 ทำ  ได้ผลดีมากคะ  แรก ๆ นักเรียนจะทำเพราะอยากได้คะแนน แต่เมื่อเขาทำนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นนิสัย  เพียงแต่ก่อนที่จะทำโครงการนี้ต้องปลุกระดมทางความคิดของเด็กก่อน เพราะนักเรียนวัยนี้จะมีความคิดด้านนามธรรมค่อนข้างสูง และอยากสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเอง  เพียงแต่ อาจไม่มีใครกระตุ้นต่อมอยากของเขา   วันหน้าจะเอาบันทึกของนักเรียนมาร่วมเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย คะ

ขอบคุณมากครับที่เล่าวิธีการปลูกฝังดี ดีที่มีพัฒนาการและประสบผลสำเร็จ ขอร่วมภาคภูมิใจด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท