ชาวบ้านวิจัย "ป่าเมี่ยง"


เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ต้องเรียนรู้และปรับตัวในการทำงาน

          เช้าวันที่ 24 มกราคม ทีมงานได้เดินทางไปศึกษาดูงานการวิจัยของชุมชน ตำบลเรือง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยการนำของคุณเสวียน บุญศรี และคุณภาคภูมิ   พรมสาร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองน่าน  และชาวบ้านของตำบลเรืองที่ร่วมเดินทางและทำอาหารกลางวันให้กับทีมงานได้รับประทานกันอย่างมีความสุขภายใต้ธรรมชาติของป่าที่เกิดจากการอนุรักษ์ของชุมชน

                                            นักส่งเสริมการเกษตร ของอำเภอเมืองน่าน

         มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้างนักวิจัยชุมชน ของจังหวัดน่าน จากการสังเกตและสอบถามประสบการณ์ในการทำงาน พอสรุปได้ว่า มีการใช้กระบวนการที่สำคัญ เช่น

  • การสร้างนักวิจัยชาวบ้านอย่างเป็นระบบ ร่วมกับ NGO ฝึกให้ชาวบ้านเรียนรู้กระบวนการวิจัย โดยใช้เวลาเกือบ 1 ปี จึงเกิดนักวิจัยชาวบ้าน ดังนั้นการพัฒนาจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ...ไม่รีบเร่งหวังเพียงผล..แต่ไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างคน
  • ภายใต้กระบวนการวิจัยชาวบ้าน ได้ก่อให้เกิดความตระหนักในแต่ละบทบาทของทุกคน ทั้งของชาวบ้านเอง และนักส่งเสริมการเกษตรหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ
  • เห็นความต่อเนื่องที่ต้องใช้ความอดทน ในเริ่มแรกก็มีจำนวนชาวบ้านที่สนใจมาก ต่อมาก็ค่อยๆ ลดลง ผ่านไประยะเวลาหนึ่ง เมื่อการวิจัยดำเนินไปได้ ชาวบ้านเริ่มเห็นประโยช์ของการวิจัยว่าสามารถสร้างการเรียนรู้ได้จริง เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา จึงเกิดนักวิจัยชาวบ้านเพิ่มจำนวนมากขึ้น และประเด็นเรียนรู้ที่หลากหลาย
  • การปรับตัวของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  ที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวในการทำงาน โดยการเกาะติดชุมชนและนำกระบวนการวิจัยมาปรับใช้ในงานได้เป็นอย่างดี
  • การยึดชาวบ้านเป็นศูนย์กลางในการทำงาน แม้ว่าอีกทางหนึ่งต้องทำหน้าที่ในบทบาทตามกรอบภาระกิจ ที่มักจะเปลี่ยนไปตามนโยบายและการกำหนดวิธีการปฏิบัติมาให้ แต่สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่าหากชาวบ้านได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง "การพัฒนาจึงจะยั่งยืน" เป็นต้น

             คุณชานนท์ พิมศิริ นักวิจัยชาวบ้าน      ภาพการตัดต้นเมี่ยงเพื่อการศึกษาวิจัยโดยชาวบ้าน   

             นักวิจัยชาวบ้าน กับการวิจัยสิ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของเขาเอง คือการตัดต้นเมี่ยงเพื่อศึกษาผลตอบแทนในการผลิตเป็นใบชา (ตัดที่ 70 ซม.) ซึ่งเป็นการวิจัยรอบที่ 2 ของการตัดต้นเมี่ยง คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาอีกประมาณ 1 ปี

         

          สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนที่ดีกับทีมงานมากครับ  จึงบันทึกมาเพื่อเป็นการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก 24/01/49

         

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 13578เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนนี้ชาวบ้านฝึกเป็นนักวิจัย

นักส่งเสริมฯเริ่มฝึกตนเองและชาวบ้านให้เป็นงานวิจัยเพื่อผลงานจะเกิดความยั่งยืน คือ ยั่งยืนความคิด

แล้วผู้สนับสนุน(ส่วนกลาง) จะฝึกทำอะไรถึงจะเกิดความยั่งยืน หรือจะฝึกเป็น "หัวหน้าไปรษณีย์" แทน

ผลงานส่งเสริมฯตอนนี้คงไม่ต้องรอให้คนอื่นบอกให้ทำ เพราะเราไม่ใช่นายไปรษณีย์  และถ้ารอให้คนอื่นทำ ก็คงต้องรอต่อไป

  วันนี้คุณทำอะไรก็แล้วแต่  แต่อย่าเป็น "คนถ่วงคนทำงาน" ก็แล้วกัน  มิฉะนั้นจะไม่ได้รู้อะไรที่ดีที่มีอีกมากมายในพื้นที่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท