เป็นห่วงสังคมฐานานุภาพจอมปลอม


เป็นห่วงสังคมฐานานุภาพจอมปลอม

ศ. ดร. ชัยอนันต์  สมุทวณิช  วิเคราะห์สังคมไทยว่าเป็นสังคม 4 ฐานคือ
1. สังคมแข่งขัน
2. สังคมฐานานุภาพ
3. สังคมพอเพียง
4. สังคมด้อยโอกาส

         สังคมฐานานุภาพเป็นสังคมของข้าราชการและคนชั้นกลางของประเทศไทย   เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจการศึกษาเฟื่องฟู   โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบัณฑิตศึกษา   และธุรกิจ "หลักสูตรผู้บริหาร"

         ผมมีโอกาสเกี่ยวข้องกับการเป็นวิทยากรในหลักสูตรสำหรับสังคมฐานานุภาพเหล่านี้อยู่บ้าง   มีข้อสังเกตว่า "นักศึกษา" ในบางหลักสูตรไม่สนใจเนื้อหาสาระของวิชา   แต่สนใจกิจกรรมเชิงสังคมของหลักสูตรเป็นหลัก   คล้าย ๆ มาเรียนเพื่อสร้าง connection และเพื่อให้มี "ตรา" ของสถาบัน

         จึงเกิดข้อสงสัยว่าสังคมฐานานุภาพ - หลักสูตรหลังปริญญาจะกอดคอกันขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่สังคมจอมปลอมเกินไปหรือไม่

วิจารณ์  พานิช
 27 ม.ค.49

หมายเลขบันทึก: 13575เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้ารัฐบาลยังนำหลักการส่งเสริม จัดสรรงบสนับสนุนตามจำนวนนิสิตนักศึกษา  (SML)    แน่นอนว่าแต่ละสถาบันก็ต้องพยายามเน้นการทำยอดจำนวนให้สูงไว้ และย่อมกระทบเรื่องของคุณภาพอบ่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ผมไปค้น google เรื่องนี้ เจอบทความหนึ่งครับ(ไม่รู้ใช้อันนี้ไหม)

http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1062084908.news

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท