นายศักดิ์ณรงค์
นาย นายศักดิ์ณรงค์ ศักดิ์ บุญออน

การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ 2


งานอนุรักษ์เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่โลก ตราบชั่วฟ้าดินสลาย เพื่อเป็นแสงสว่างแห่งชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

 

 

(ต่อจากการปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ 1)             

                     78. การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง  ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะดวงวิญญาณต่างๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ควาวมทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น

                    79. อย่ายึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง  แล้วควาวมทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง  ในขณะที่ท่านจะสามารถมทำการงานและแสวงหาอะไร ๆ ที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง

                    80. ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไร ๆ สมใจอยาก  แต่การได้อะไรสมใจอยากนั่นแหละที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่ง คือวันที่สิ่งนั้นมันหายไปจากท่าน

                     81. แต่ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด  รู้จักหยุดและปล่อยวาง  รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละ  อย่างนี้เรื่อยไป

                     82. ในขณะที่ทำสมาธิ   ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป 

                      83. จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ  แม้ท่านจะทำกิจการงานใดๆ อยู่ก็ตาม

                      84. สมาธิเปรียบเหมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้  สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก

                       85. เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา  เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น  สมาธิก็จะปรากฏขึ้นมาในจิตทันที

                       86. จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย  ท่านจึงจะเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้

                        87. ศีล   สมาธิ  ปัญญา  เท่านั้นคือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง  ทางอื่นหรือ ลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกไปจากความทุกข์ได้

                        88. การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งสักดิ์สิทธิ์  เพื่อให้ได้อะไร  ๆ   ตามที่ท่านปรารถนานั้น  มันก็ขึ้นอยู่กับกฏแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน  บางทีก็ได้  บางทีก็ไม่ได้  และที่ท่านได้อะไรมา  ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย

                        89. อย่างไรก็ตาม  แม้ท่านจะได้อะไร  ๆ  มาตามที่ปรารถนา  แต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่าน อย่างถาวร ตลอดไปสักวันหนึ่งมันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี  ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา  หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้จะเป็นอะไรเลย

                        90. เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร  ก็จงใช้สติคิดดูว่าทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง  แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น  ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้  มันก็จะได้ของมันเอง  แต่ถ้า ไม่ได้ก็ใมนแล้วไป  อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน

                        91. ถ้าทำอย่างนี้   ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะทำอะไร  ๆ  เหมือนเดิม  และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้น ๆ ท่านก็จะไม่เปป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นกัน  ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือ มันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุก ๆ กรณี

                        92. ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ  เพื่อจะเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา  เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากควาวมทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก

                       93. เวลาพบอารมณ์ที่ไม่น่า พอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าเพิ่งทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่ทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเองชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่าท่านเอาชนะมัน

                       94.เมื่อคิดได้ดังนั้น  จนจิตมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวของมันเองแล้วจงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัยหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด  โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์ กับเรื่องนั้นเลย

                       95. เวลาที่พบกับควาวมพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือสภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว  ท่านจะไปตื่นเต้นเสียอกเสียใจกับมันทำไม? มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่าในที่ทสุดแล้ว ท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย

                       96. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดกับเรา? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา

                        97. จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมันจงยอมรับมัน  กล้าเผชิญหน้ากับมัน  และทำจิตให้อยู่เหนือมันด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์

                        98. จงเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที  ถ้าสบายใจอยู่ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ

                        99. จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและความไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป)นสิ่งที่ท่านจะต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีก็ได้ถึงที่สุด

                        100. ถ้าจะเกิดความสังสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็นความสะอาดบริสุทธิ์ภานในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน  และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบและเป็นอิสระเสรี ภานในจิตของท่านได้

                         101. ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย

                          102. เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่เอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ  นับ  ๑-๒ ครั้งแล้วครั้งเล่า  ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น  ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ 

                          103. เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิตสิ่งแวดล้อม  และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่  แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย

                           104. จงทำกับปัยหาทุกอย่างให้ดีที่สุด  ใช้ปัญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน  ถึงเวลาแล้วจงเข้าสู่สมาธิได้เวลาแล้วจงออกสู้กับปัญหา อย่างนี้เรื่อยไป

                           105. จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสมบรูณ์สูงสุด ใน สักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก

                    ทั้งหมดนี้คือ    แนวทางที่ถูกต้องทที่สุดในการที่จะเอาชนะความทุกข์ในชีวิตของท่าน  ซึ่งแนวทางนี้เรียกว่า  " การปฏิบัติธรรมเพื่อควาวมหลุดพ้น " อันเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา  ที่พระพุทธองค์ทรงพระประสงค์ที่จะให้ทุกคนเข้าถึงเพื่อความหมดทุกข์ทางใจในที่สุด

                   

                  

                   " เป็นมนุษย์ผู้สูงสุด "

              ทั้งกิ่งใบดอกก้านตระหง่านพริ้ว

     จะปลิดปลิวบ้างเพราะลมผสมผสาน

      ถึงไม่มีลมหมุนไต้ฝุ่นมาร

      มาแผ้วพาลก็ยังร่วงจากบ่วงใบ

              แต่อารมณ์ข้างในใจมนุษย์

     ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน

      ทั้งลาภยศเงินตราหามาไว้

      เพื่อจะได้ความสุขไม่ทุกข์ตรม

              แต่หารู้ไม่ว่าบรรดาสุข

      มันเป็นคู่กับทุกข์คลุกประสม

      ทั้งสุขทุกข์ดีร้ายไหม้อารมณ์

      ไม่เหมาะสมกับการเกิดกำเนิดมา

             อันความเกิดเกิดเป็นเช่นมนุษย์

      ไม่ควรยุดยื้อแย่งเที่ยวแข่งหา

      อำนาจยศสรรเสริญหรือเงินตรา

      เช่นเข่นฆ่ายิงกกันสนั่นกรุง

            แต่มนุษย์ควรเป็นเช่นต้นไม้

     ที่เชิดใบดอกระย้าบนฟ้าสูง

     ด้วยการสร้างบุญกุศลเป็นผลจูง

     ให้จิตสูงเป็นมนุษย์สูงสุดเอย

หมายเลขบันทึก: 134778เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้อ่านแล้ว  ได้ข้อคิดอะไรดีๆ ขึ้นเยอะเลยนะคะ

การได้รับรู้ถึงธรรมะเปรียบเสมือนการได้รับผลบุญมาแต่ชาติปางก่อน เพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นกิเลสซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท