นายบรรจง เวียงภักดิ์
นาย นายบรรจง เวียงภักดิ์ บรรจง เวียงภักดิ์

อหิวาตกโรค กำลังระบาด


สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเตือนโรคอหิวาตกโรค

นายนพดล ปฎิทัศน์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น   เปิดเผยว่าจังหวัดขอนแก่นพบผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคแล้ว 8 ราย   ซึ่งโรคอหิวาตกโรคเป็นอุจจาระร่วงอย่างเฉียบพลัน   อาการท้องร่วงนี้มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรง  ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็วจนถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้   ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยทันท่วงที  การระบาดของโรคเกิดจากการกินอาหารและดื่มน้ำที่มีเชื้ออหิวาต์เข้าไป  พบว่าโรคนี้จะเป็นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่   อาการของผู้ป่วยอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ  พวกที่เป็นอย่างอ่อน  มีอัตราการตายต่ำมาก  พวกนี้มักหายใน 1-5 วัน ผู้ป่วยจะถ่ายเป็นน้ำเหลว ๆ  วันละหลาย ๆครั้ง อาจจะมีอาการปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย  พวกที่เป้นอย่างรุนแรง จะมีอาการท้องเดินอย่างเฉียบพลัน  ตอนแรก ๆ อุจจาระจะมีเนื้อปนบ้างต่อมามีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว  มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย  ถ้าได้น้ำและเกลือแร่เพียงพอ  การถ่ายเหลวจะหยุดไปเองภายใน 1-6  วัน  นอกจากนี้อาจมีอาการจากการสูญเสียน้ำละเกลือแร่  เช่น กระหายน้ำ  อ่อนเพลีย  ความดันโลหิตต่ำ  และอาจรุนแรงจนหมดสติ    อหิวาตกโรคเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก  ประชาชนควรเน้นการดูแลสุขอนามัย   โดยเฉพาะการล้างมือก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังการขับถ่าย  ดื่มน้ำที่สะอาด  เตรียมและปรุงอาหารให้สะอาด

               อหิวาตกโรค (Cholera)ลักษณะโรค : เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักพบการติดเชื้อเฉียบพลันในลำไส้ เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ และบางครั้งมีอาเจียนร่วมด้วยภาวะการขาดน้ำอาจพบรุนแรงในเด็กทารก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้ เบื่ออาหาร และท้องเดิน ซึ่งมักจะคงอยู่หลายวัน กลไกการติดเชื้อจะเริ่มจากการอักเสบของลำไส้เฉียบพลัน และตามด้วยโลหิตเป็นพิษ หรือการติดเชื้อเฉพาะที่ทำให้เกิดฝี ข้ออักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม ไตและกรวยไตอักเสบ เป็นต้น โดยปกติมักไม่พบผู้ป่วยตาย ยกเว้นในรายที่เป็นเด็กหรือคนสูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ ในกรณีมีอาการโลหิตเป็นพิษ สามารถแยกเชื้อจากอุจจาระและเลือดในระยะอาการเฉียบพลัน ส่วนในกรณีมีการติดเชื้อที่ลำไส้ จะตรวจพบเชื้อในอุจจาระอยู่หลายวันถึงเป็นสัปดาห์หลังเริ่มป่วย การให้ยาปฏิชีวนะอาจเพิ่มระยะเวลาในการแพร่เชื้อจากอุจจาระ สำหรับการตรวจหาเชื้อในผู้ที่ไม่มีอาการ ควรใช้อุจจาระ 3-10 กรัม แทนการทำ rectal swab และควรตรวจซ้ำหลายๆ วัน เพราะเชื้ออาจออกมาเป็นระยะ ๆ อนึ่ง การทดสอบทาง ซีโรโลยี ไม่ใคร่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคเชื้อก่อโรค : เชื้อ Salmonella มีหลาย serotypes ที่ก่อให้เกิดโรคทั้งในสัตว์และในคน พบว่า ในแต่ละประเทศเกิดจาก serotype ต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่เป็น S. typhimurium และ S. enteritidis ปัจจุบันสามารถแยกเชื้อได้ประมาณ 2000 serotypes ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 200 serotypesการเกิดโรค : พบได้ทั่วโลก มีรายงานผู้ป่วยมากในอเมริกาเหนือและยุโรป โดยรายงานอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางอาหาร เนื่องจากการติดต่อของเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนมากับอาหาร แต่มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่สามารถวินิจฉัยจากอาการได้ และมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย ที่มีการรายงาน อุบัติการของโรคพบมากในเด็กเล็กและทารก ในทางระบาดวิทยาเชื้อ Salmonella ที่ก่อโรคในลำไส้ มักก่อให้เกิดการระบาดย่อย ๆ ในชุมชน การระบาดใหญ่มักพบในโรงพยาบาล ภัตตาคาร สถานเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจากแหล่งผลิต หรือบางครั้งพบว่ามาจากมือของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะซึ่งสัมผัสอาหาร การแพร่โดยตรงจากคนถึงคนก็อาจเกิดขึ้นได้ ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 5 ล้านคนแหล่งรังโรค : สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ได้แก่ เป็ด ไก่ สุกร วัว ควาย สัตว์แทะ และสัตว์เลี้ยง เช่นเต่า ตะพาบ ลูกไก่ สุนัข และแมว สามารถเป็นแหล่งรังโรคได้ รวมทั้งคน ซึ่งได้แก่ ผู้เป็นพาหะ และผู้ติดเชื้อที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย การเป็นพาหะเรื้อรังพบน้อยมากในคน แต่พบมากในสัตว์และนกการติดต่อของโรค : เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อ หรือปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นโรค โดยที่อาหารนั้นไม่มีการปรุงให้สุก เช่น ไข่ นมดิบ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว คนอาจได้รัรบเชื้อจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่นเต่า ลูกไก่ หรือผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตจากสัตว์ ซึ่งไม่ผ่านการสเตอริไรซ์ การติดเชื้อในสัตว์อาจเกิดจากกาหารสัตว์หรือปุ๋ย ซึ่งผลิตจากเนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์ โดยสรุปแล้วการติดต่อที่สำคัญคือการติดต่อโดยผ่านทางการกินและการขับถ่าย (fecal-oral) จากคนไปคนโดยเฉพาะเมื่อมีอาการอุจจาระร่วง จำนวนของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคโดยปกติต้องมากกว่า 100-1,000 ตัว โดยทั่วไปแล้วเชื้อสามารถจะเจริญเพิ่มจำนวนในอาหารโดยเฉพาะนมได้อย่างรวดเร็ว การระบาดของโรคที่พบในโรงพยาบาลมักเริ่มต้นด้วยการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร และตามด้วยการแพร่กระจายเชื้อจากคนไปคน โดยผ่านทางมือหรือภาชนะที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยเฉพาะในแผนกเด็กอ่อนและแม่หลังคลอด นอกจากนี้การปนเปื้อนของอุจจาระในระบบการจัดจ่ายน้ำโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การระบาดของโรคกระจายอย่างรวดเร็วระยะฟักตัว : 6 - 72 ชั่วโมง โดยทั่วไปประมาณ 12 - 36 ชั่วโมงระยะติดต่อของโรค : เชื้อนี้มีระยะติดต่อได้หลายวันถึงหลายสัปดาห์ และผู้ที่เป็นพาหะของโรคชั่วคราว (temporary carriers) มีโอกาสแพร่เชื้อหลายเดือน โดยเฉพาะในเด็กทารก ประมาณ 1เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กอายุต่ำกว่า5 ปี สามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า 1 ปี การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น จะส่งผลให้ระยะติดต่อยาวนานขึ้นความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ : คนทั่วไปมีความไวต่อการรับเชื้อ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาลดกรด การผ่าตัดในระบบทางเดินอาหาร การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์กว้างขวาง ผู้ป่วยโรคเนื้องอก ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทาน และผู้ที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ หรือมีภาวะทุพโภชนาการ อนึ่ง ความรุนแรงของโรคจะสัมพันธ์กับ serotype จำนวนเชื้อ และสภาพร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตเป็นพิษจากเชื้อนี้ซ้ำ และผู้ป่วยโรค sickle cell ที่มีอาการโลหิตเป็นพิษ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น osteomyelitisวิธีการควบคุมโรค :
ก. มาตรการป้องกัน1.       เน้นการรับประทานอาหารที่สุก โดยเฉพาะเป็ด ไก่ หมู ไข่ เนื้อ และนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อภายหลังการปรุงอาหารสุกแล้ว และควรเก็บถนอมอาหารในตู้เย็น และตรวจสอบว่าอุณหภูมิเย็นเพียงพอ 2.       ให้สุขศึกษาแก่ผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสริฟ โดยเน้นการล้างมือก่อน ระหว่างและหลังการเตรียมอาหาร การรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล การเก็บอาหารในตู้เย็น การดูแลความสะอาดของห้องครัว และการป้องกันอาหารจากแมลงและหนู 3.       ผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วง ควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหาร หรือดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เด็ก หรือคนสูงอายุ 4.       ให้ความรู้แก่ผู้ที่เป็นพาหะ โดยเน้นการล้างมือหลังการขับถ่าย และก่อนการรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงการปรุงหรือเสริฟอาหาร จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ 5.       สำรวจป้องกันและควบคุมการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ในฟาร์มและในสัตว์เลี้ยง เช่น ลูกเป็ด ลูกไก่ และเต่า ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก 6.       ตรวจแนะนำและดูแลสุขาภิบาลในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร ร้านขายเนื้อ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ 7.       ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากเนื้อ เป็ด ไก่ อาจใช้การฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาแล้ว 8.       ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ ควรได้รับการปรุงให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
หรือด้วยรังสี และต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในภายหลังด้วยข. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม1.       การรายงานไปยังหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น : เป็นโรคที่ต้องรายงาน 2.       การแยกผู้ป่วย : ควรเน้นการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระ หรือเสื้อผ้าเครื่องใช้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการ ควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหาร หรือการดูแลเด็กเล็กคนสูงอายุ ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง และผู้ป่วยในโรงพยาบาล จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อในอุจจาระ2 ครั้งติดต่อกัน โดยการตรวจแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และถ้ามีการให้ยาปฏิชีวนะ การตรวจเชื้อควรทำภายหลัง 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับยาครบโด๊สแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการนั้น โดยทั่วไปสามารถปฏิบัติงานข้างต้นต่อไปได้ ยกเว้นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี หรืออาจมีข้อบังคับในบางรัฐหรือบางท้องถิ่นห้ามปฏิบัติหน้าที่ 3.       การทำลายเชื้อ : เน้นระบบการกำจัดเชื้อในอุจจาระและสิ่งของที่ปนเปื้อน ในชุมชนที่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน ไม่จำเป็นต้องทำลายเชื้อในอุจจาระก่อนนำไปทิ้ง 4.       การกักกัน : ไม่จำเป็น 5.       การให้ภูมิคุ้มกันแก่ผู้สัมผัส : ยังไม่มี 6.       การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค : เน้นการตราวจอุจจาระในผู้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับการปรุงอาหารหรือการดูแลผู้ป่วย เด็กเล็กหรือผู้สูงอายุในบ้านหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ 7.       การรักษาเฉพาะ : ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อในลำไส้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน การรักษา ได้แก่ การแก้ไขภาวะขาดน้ำและอีเล็กโทรไลท์ด้วย ORS ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเพราะอาจทำให้ภาวะการเป็นพาหะปล่อยเชื้อได้นานขึ้น และทำให้เกิดการดื้อยา ยกเว้นในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน คนสูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยโรค sickle cell หรือผู้ที่มีไข้สูงหรือมีการติดเชื้อนอกลำไส้ สำหรับการดื้อยาต่อเชื้อนี้พบแตกต่างกัน โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ampicillin หรือ amoxicillin ส่วน co-trimoxazole และ chloramphenical ให้ถือเป็นยาในลำดับรองที่อาจเลือกใช้เมื่อมีการดื้อยาค. มาตรการเมื่อเกิดการระบาด : เช่นเดียวกับในกลุ่มโรคติดต่อทางอาหารอื่นๆ ควรเน้นการซักประวัติการประกอบอาหาร ซึ่งอาจมีข้อบกพร่อง การใช้ส่วนประกอบอาหารที่ไม่ปลอดภัย การปรุงอาหารไม่สุกพอ ซึ่งอาจเป็นเพราะอุณหภูมิหรือเวลาในการประกอบอาหารไม่ถูกต้อง ในสหรัฐอเมริกามีการระบาดของ S. enteritidis ซึ่งสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาหารปรุงจากไข่ ในกรณีนี้จำเป็นต้องสอบสวนถึงแหล่งผลิตไข่และต้องรายงานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยง. สัญญาณภัยที่ควรระวัง : มักพบการระบาดในสถานที่ที่มีการจัดอาหารเลี้ยงคนจำนวนมาก และมีสภาพสุขาภิบาลที่ไม่ดี
จ. มาตรการควบคุมโรคระหว่างประเทศ : ประสานความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก  อหิวาตกโรคระบาดหนักชายแดนพม่าจังหวัดตาก

พบการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคในค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ จังหวัดตาก ทำให้กลุ่มผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ตั้งแต่วันที่ 29 เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาพบการระบาดของอหิวาตกโรคในค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ โดยพบผู้ป่วยทั้งจากชาวบ้านที่เป็นคนไทยมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละอีกด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่หละ นายนีเซอ ( Nee Hser) กล่าวว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยพบว่ามีเด็กรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าพบการแพร่ระบาดอหิวาตกโรคในหลายๆหมู่บ้านในจังหวัดตาก

ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เยี่ยมชุมชนชาวมุสลิมที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งกล่าวว่าผู้ใช้แรงงานข้ามชาติจากพม่านำอหิวาตกโรคมาแพร่ระบาด และได้ออกคำสั่งให้กรมสาธารณสุขจังหวัดตากเฝ้าระวังและควบคุมสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรวมถึงการเฝ้าระวังในเรื่องความสะอาดของน้ำและอาหารแล้ว

ในขณะที่นายแพทย์ปัจจุบัน เหมหงษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตากออกมาเปิดเผยรายงานว่า พบจำนวนผู้ป่วยอหิวาตกโรคราว 300 คน ใน 5 พื้นที่ติดชายแดนในจังหวัดตากตั้งแต่ 2 เดือนที่แล้ว ซึ่งแพร่ระบาดจากกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เข้ามายังประเทศไทย

(รายงานเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550)เพิ่มเติมรายละเอียดได้ที่  Thai NGO.org  นะครับ
หมายเลขบันทึก: 134533เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคนับว่าเป็นเชื้อชนิดหนึ่งที่มีการแพร่กระจายและติดต่อกันได้เร็วมาก

การลงข้อมูลข่าวสารให้พวกเราชาวบล็อกได้อ่านได้รู้ถือว่าเป็นประโยชน์มาก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท