สอนคุณธรรมชาวคริสต์อย่างไรให้ธำรงสามัคคี 2


ประธานอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม

สอนคุณธรรมชาวคริสต์อย่างไรให้ธำรงสามัคคี 2

นิยาม

- การกระทำ (Action)

คือผลกระทบที่สิ่งหนึ่งมีต่ออีกสิ่งหนึ่ง เช่น เขื่อนดินกั้นน้ำ น้ำเซาะเขื่อนดิน คนตกต้นไม้หมือนผลไม้ตกจากต้น

- พฤติกรรม (Behavior)

คือการกระทำโดยมีสัญชาติญาณกำหนดเป้าหมาย (ไม่มีเสรีภาพที่จะปฏิเสธ) เช่น คนหากินเหมือนสัตว์หากิน

- ความประพฤติ (Conduct)

คือพฤติกรรมที่มีมโนธรรมชี้แนะ (มีเสรีภาพที่จะปฏิเสธ) เช่น คนขว้างก้อนหินใส่คนไม่เหมือนลิงขว้างก้อนหินใส่คน

- มโนธรรม (Conscience)

คือ ความสำนึกดี/ชั่ว

- ความประพฤติดี (Good Conduct)

คือการกระทำตามมโนธรรมชี้แนะเป็นครั้งๆ

- ความประพฤติเลว (Bad Conduct)

คือการกระทำฝืนมโนธรรมเป็นครั้งๆ ที่เลวมากๆ เรียกว่าประพฤติชั่ว

- คุณธรรม (Virtue)

คือความประพฤติดีจนเคยชินในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น คุณธรรมแห่งความยุติธรรม ความกตัญญู, เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา

- กิเลส (Vice)

คือความประพฤติเลว (หรือชั่ว) จนเคยชินในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ขโมยจนเคยชิน ทุจริตจนเคยชิน สูบบุหรี่จนเคยชิน

- จริยธรรม (Ethos, Ethicity)

คือคุณธรรมทุกด้านที่ประสานกันเป็นระบบที่ทำให้เป็นคนดีแบบหนึ่งๆ เช่น จริยธรรมพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู สิกข์ จริยธรรมคอมมิวนิสต์ จริยธรรมมนุษยนิยม จริยธรรมแบบรตินิยม จริยธรรมแบบเอพิคิวเรียน จริยธรรมแบบสโทอิก เป็นต้น

- ศีลธรรม (Mores, Morality)

คือระบบจริยธรรมของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง

- เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

พอคือไม่ขาด เพียงคือไม่เกิน เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งปรัชญาและคุณธรรม

- ธรรมาภิบาล (Good Governance)

การบริหารงานที่ดี ทั้งในภาครัฐ เอกชน และส่วนบุคคล

- สมานฉันท์ (Reconciliation)

คือความประสานกลมกลืน จะเกิดขึ้นได้ก็โดยทุกฝ่ายยอมรับปรัชญาแห่งการไม่ยึดมั่นถือมั่น คือแต่ละฝ่ายและแต่ละคนมีหลักยึดเหนี่ยวของตน แต่ไม่ยึดติดจนเป็นการยึดมั่นถือมั่น ยอมให้ผู้อื่นมีหลักยึดเหนี่ยวต่างจากของเราได้ ในทางปฏิบัติจึงต้องเสวนากันเพื่อแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง จุดร่วมคือจุดที่จะต้องร่วมมือกัน ส่วนจุดต่างถือว่าเป็นพรสวรรค์ที่แต่ละคนพึงใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนคู่ประโยชน์ส่วนรวม

- วินัย (Regulation)

คือ ข้อบังคับชุดหนึ่งที่ประกาศใช้บังคับผู้สังกัดกลุ่มสังคมกลุ่มหนึ่งๆให้ต้องปฏิบัติในฐานะกฎหมายของสมาชิกของกลุ่ม หากละเมิดก็มีบทลงโทษกำหนดไว้ชัดเจน เช่น บังคับให้แต่งเครื่องแบบอย่างไร ให้เข้าทำงานอย่างช้าเวลาเท่าใด เป็นต้น

- จรรยาบรรณ (Code of conduct)

คือ คุณธรรมชุดหนึ่งที่ประกาศให้เป็นคุณธรรมอันพึงประสงค์ของสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของสังคม จรรยาบรรณจึงมิใช่ข้อบังคับอย่างวินัยแต่เป็นจริยธรรมที่พึงปลูกฝัง เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งได้ใกล้เคียงเป้าหมายในอุดมคติมากที่สุดที่จะมากได้ หากใครปฏิบัติตามเป้าหมายต่ำสุดก็ยังไม่ได้ ถือว่าไม่ควรเป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งกำหนดตัวชี้บ่งชัดเจนไม่ได้ ต้องใช้กรรมการร่วมพิจารณา และลงมติตามข้อกำหนดที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติได้ใกล้เคียงเป้าหมายในอุดมคติย่อมได้รับการยกย่องจากผู้รับบริการอยู่แล้ว อาจจะมีการพิจารณาให้รางวัลหรือประกาศเกียรติคุณด้วยก็ได้

หมายเลขบันทึก: 134209เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท