การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพแบบมีส่วนร่วม


ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ชื่อนวัตกรรม       การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพแบบมีส่วนร่วม

ผู้จัดทำ                  นายไพจิตร   คล่องสารา         ตำแหน่ง   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกสูง                                นางศันสนีย์   พัฒนลีลานนท์   ตำแหน่ง   ครู                                โรงเรียนบ้านโคกสูง          อำเภอเมืองนครราชสีมา    จังหวัดนครราชสีมา                                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1                                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน                                กระทรวงศึกษาธิการ           

การศึกษาการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพแบบมีส่วนร่วม   โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน  5  ขั้นตอน  คือ1)      การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล   2)       การคัดกรองนักเรียน แบ่งเป็น 3  กลุ่ม   คือ กลุ่มปกติ    กลุ่มพัฒนา และกลุ่มมีปัญหา  ซึ่งจำแนกเป็นการพัฒนาเด็กทั้งตัวได้  4  ด้าน คือ  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ จิตใจ  ด้านสังคม และด้านสติปัญญา   3)   การส่งเสริมนักเรียน   4)   การป้องกันและแก้ไขปัญหา  5)    การส่งต่อ      โรงเรียนบ้านโคกสูงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน      โดยเน้นการช่วยเหลือ  ส่งเสริม  และพัฒนานักเรียนให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์  และแก้ไขป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียน    ในการดำเนินงานใช้ทีมงาน  3  ทีม   คือ   ทีมนำ    ทีมพัฒนา    และทีมปฏิบัติ   โดยใช้เครื่องมือและกิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวเข้าช่วยการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ                ในการดำเนินงานจะใช้วงจรเดมมิ่ง  (PDCA)    ประกอบด้วย  การวางแผน (P)     การลงมือแก้ปัญหา (D)การประเมินผลการแก้ปัญหา (C)     และการปรับปรุงพัฒนา (A)         โดยให้มุ่งผลที่ส่งตรงถึงนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีปัญหา      ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนา      เยียวยาหรือช่วยเหลือก่อนเป็นลำดับแรก     กิจกรรมที่ใช้ประกอบด้วย     

1.  ด้านร่างกาย       ใช้กิจกรรม                                                1.1.1  จัดอาหารกลางวันบริการนักเรียนทั้งโรงเรียน                                                1.1.2  จัดตั้งกองทุนแสนสุขใส  เพื่อนำดอกผลมาจ้างครูช่วยสอนวิชาพลศึกษา           ที่ขาดแคลนครูผู้สอน1.1.3  กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพนักเรียน1.1.4  กิจกรรมสุขภาพดีถ้วนหน้า1.1.5  กิจกรรมแข่งขันกีฬา กรีฑานักเรียนภายในโรงเรียน1.1.6  กิจกรรมาสุขาดีมีสุขในโรงเรียน2.   ด้านอารมณ์ จิตใจ   ใช้กิจกรรม                1.2.1  เข้าค่ายพุทธบุตร                1.2.2  เดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ ยุวกาชาด                1.2.3  นั่งสมาธิ                1.2.4  พัฒนาชุมนุมในโรงเรียน

3.   ด้านสังคม    ใช้กิจกรรม                1.3.1  ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น                1.3.2  ประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน                1.3.3  ธนาคารวัสดุเหลือใช้                1.3.4  วันสำคัญ                1.3.5  การเรียนรู้ดนตรีไทยและนวดแผนไทย                1.3.6  เด็กดี  หลานย่าโม  เมืองโคราช                1.3.7  ออมทรัพย์                1.3.8  สนทนาศิษย์ลูก                1.3.9  เยี่ยมบ้านนักเรียน                1.3.10  ประชุมผู้ปกครองนักเรียน                1.3.11  สนับสนุนทุนการศึกษา                1.3.12  พัฒนาผู้เรียนและทักษะชีวิต    4 .  ด้านสติปัญญา    ใช้กิจกรรม                1.4.1  ส่งเสริมการอ่านและประกันการอ่าน                1.4.2  พัฒนาการจัดการเรียนรู้ทั้ง  8  กลุ่มสาระ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน                1.4.3  ทำน้ำหมักปุ๋ยจุลินทรีย์                1.4.4  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการเรียนรู้                1.4.5  จัดนิทรรศการทางวิชาการ                1.4.6  พัฒนาห้องสมุดมีชีวิต                1.4.7  จัดทำสาระท้องถิ่น                1.4.8  เพื่อนช่วยเพื่อน  (Buddy)                

ผลการดำเนินงาน

ปรากฏว่า  ผู้ปกครอง  ชุมชน   ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานอยู่ในระดับมากนักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ    ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุขผลการดำเนินงาน  นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มมีปัญหาได้รับการพัฒนา    เยียวยาและช่วยเหลือตามมาตรการที่เหมาะสมที่วางไว้     ยกเว้นนักเรียนที่มีปัญหาทางสังคมด้านเศรษฐกิจ    ที่มีผู้ปกครองมีฐานะยากจน      ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอกับความจำเป็นในการดำรงชีวิต  ทางโรงเรียนได้ช่วยเหลือสนับสนุนทุนการศึกษาให้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอกับความเดือดร้อนที่ได้รับ   สมควรจะต้องได้รับการช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาในชั้นเรียนต่อไป     สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางสังคมด้านระเบียบวินัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกต่อไป    ทางโรงเรียนได้จัดทำรายงานผลการศึกษานี้เผยแพร่แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโคกสูง     และเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาต่อไป   โดยมีข้อเสนอแนะ      คือ                             

1  จัดระบบเอกสารการส่งต่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์    เพื่อเสนอภาพนักเรียนทั้งองค์รวม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">  2  ปรับปรุงการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

หมายเลขบันทึก: 133403เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ ศน.ไพรวัลย์ มาเป็นวิทยากรอบรมปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาระบบ e-Learning ด้วยโปรแกรม Moodle:LMS ให้แก่โรงเรียนในฝัน 14 โรงเรียน ที่โนนสูงศรีธานี เลยถือโอกาส "แว็บบบบ...." ยาวๆ มาเยี่ยมและแสดงความชื่นชมยินดีคุณครูและผู้บริหารที่สร้างบล๊อคเล่าเรื่องนวัตกรรมไว้ และเสริมคู่มือการเพิ่มบันทึก และการแก้ไขบันทึกไว้ให้ศึกษา ...ที่ http://www.korat1.info/sup/pdf/using%20blog.pdf

(คลิกเข้าไปได้เลยครับ)

...แล้วจะแวะมาชมใหม่นะครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท