“บุญ” ในฐานะวิธีวิทยาพัฒนาท้องถิ่น --- แบบมีส่วนร่วม (Active Participation)


ไม่ผิดอะไรครับ ถ้าบรรดานักพัฒนาก็ดี นักวิจัยที่คลุกคลีกับท้องถิ่นชนบทจะเอาแนวคิดเรื่อง “บุญ” มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ระดมกำลังจากชาวบ้าน โดยส่วนตัว ผมก็เริ่มใช้กับกิจกรรมบางอย่างในโครงการของสโมสรเยาวชนที่แม่ฮ่องสอน อยู่ในช่วงของการลองผิดลองถูกเหมือนกัน

สยชช. เพิ่งเสร็จจากการเป็นเจ้าภาพจัดงาน สืบชะตาคนเฒ่า เยาวชนนวดสานสายใย” ผมมีเก็บตก (สะเก็ด) มาบันทึกไว้ เผื่อจะมีประโยชน์แก่ตัวเองและผู้สนใจร่วมถนนสายวิจัยและพัฒนานี้ไปด้วยกัน

  <p style="margin: 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">งานสืบชะตาคนเฒ่า เยาวชนนวดสานสายใย เป็นกิจกรรมสุดท้าย ของโครงการนวดสานสายใย  เยาวชนใฝ่กตัญญู ซึ่งเราได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) เมื่อมกราคม 2550</p><p style="margin: 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> กิจกรรมวันนี้ถูกออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนเสนอโครงการแล้ว ว่าจะจัดงานบุญที่นำคนเฒ่ากับละอ่อนมาเจอกัน แล้ว สยชช. สร้างสะพานกิจกรรมเชื่อม แต่ก็หารือความเป็นไปได้กับคนเฒ่าคนแก่ ก็เห็นดีเห็นงามกันด้วย มาลงเอยเป็นงานเล็กๆ ที่อบอุ่นกันก็วันนี้ </p><p> </p><p align="center">พระสงฆ์ หรือ "เจ้าหวุน" ในภาษาไทใหญ่เป็นผู้นำพิธีสืบชะตา โดยใช้ท่วงทำนองและภาษาแบบไทใหญ่</p><p>ด้านคนเฒ่าก็มีคาถา มีคำอวยพรและพิธีมัดมือให้ศีลให้พรเป็นศิริมงคลแก่เด็ก ด้านเด็กๆก็มีฝีมือการนวด ที่ทางโครงการของเราฝึกเตรียมไว้ให้  </p><p></p><p align="center">เด็กๆถือโอกาสนี้ ขอให้ผู้เฒ่ามัดมืออวยพรซะเลย</p><p>ส่วน สยชช. เป็นผู้ออกแบบโครงการให้มีพิธีสืบชะตาแก่ผู้สูงอายุ พร้อมทั้งจัดให้มีศิลปะพื้นบ้านไทใหญ่ อย่าง รำนก รำจั๊ดไต มาสร้างความบันเทิงใจแบบ ติดดิน เข้าถึงจิตวิญญาณทางชาติพันธุ์ </p><p></p><p>     การแสดงรำนก หรือ "ก้านก" โดยเด็กๆชาวไทใหญ่</p><p></p><p align="center">การรำจั๊ดไต ศิลปพื้นบ้านที่สืบทอดโดยเด็กรุ่นหลัง กำลังสะกดผู้ชม</p><p align="center"></p><p align="center">เด็กๆกำลังสาละวนนวดเท้าคนเฒ่า</p><p align="center"></p><p align="center">นี่ก็กำลังนวดตัวอย่างมีความสุข</p><p align="center"></p><p align="center">เจ้าอาวาสทนไม่ไหว ขอบิณฑบาทนวดด้วย</p><p>วันนี้ งานเสร็จสิ้นลงแล้ว ผมอยู่กับงานตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อมองดูภาพ และใบประเมินที่เราให้เด็กๆไปสัมภาษณ์คนเฒ่าที่มาร่วมงาน สำหรับระยะเวลาการทำโครงการนี้เกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา เห็นภาพวันนี้ เราต่างก็หายเหนื่อย</p><p> แต่นี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แม้งบประมาณโครงการจะหมดลงแล้ว แต่เราจะพยายามหล่อเลี้ยงกิจกรรมอย่างนี้ให้สามารถขยายผลต่อไป  จะด้วยวิธีใดนั้น คงต้องดูกันอีกที แต่ก็น่าจะเห็นแนวทางเร็วๆนี้</p><p> อย่างไรก็ตาม กิจกรรมอย่างนี้ สามารถมองได้หลายมุม หากมองในแง่วิธีคิดที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมครั้งนี้ ก็พอจะมองเห็นว่าเราใช้ แนวคิดเรื่องบุญหนุนนำการพัฒนาทุนมนุษย์ </p><p></p><p>บาป บุญ คุณ โทษ หากมองในแง่โครงสร้างและนโยบายมักถูกมองข้ามจากการพัฒนาเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นจากด้านโครงสร้างและวิธีคิดจากภาครัฐ (ส่วนใหญ่) และเอ็นจีโอ กล่าวแบบรวมๆ แต่ไม่ได้เหมารวมนะครับ </p><p></p><p>ถ้าการพัฒนา หมายถึงการทำให้ สุขภาวะของสังคมโดยรวมดีขึ้นโดยอยู่ในกรอบจริยธรรมประเภทใดประเภทหนึ่งแล้วล่ะก็ ในสายตาผมคิดว่าชาวบ้านไม่ได้มอง บุญแยกจากการพัฒนาที่แท้จริงเลยนะครับ แต่รัฐหรือองค์กรที่มีแนวคิดแบบรัฐจะมอง การพัฒนาไม่เกี่ยวกับบุญบาป แต่จะคิดในตรรกะเศรษฐศาสตร์เรื่องความคุ้มไม่คุ้ม แบบเหตุผลนิยม (rationalism) ที่เชื่อในสิ่งที่สัมผัสได้ (empiricism)    </p><p></p><p>เวลาพระเชิญให้ไปช่วยพัฒนาวัด นี่ชาวบ้านตีความ พัฒนาเป็นเรื่องบุญอย่างเห็นได้ชัด และให้ความร่วมมือร่วมใจแบบเสียสละกันเต็มกำลัง  ในขณะที่ทางอำเภอเกณฑ์ไปเดินขบวนชเลียร์ผู้ว่า อ้างว่าเพื่อพัฒนาชุมชนบ้าง อันนี้ชาวบ้านตีความ  พัฒนา เป็นการบังคับควบคุมและกดขี่ทางสังคมต่อคนจน เวลาไปเดินก็ไปแต่ตัว หัวใจอยู่ที่บ้าน เป็นเหมือนซอมบี้ </p><p></p><p> แม้บางที อบต. หรือหน่วยงานภาครัฐจะพยายามเอา  บุญ มาผนวกกับงานพัฒนา แต่ก็ทำได้ไม่เนียน ทั้งนี้ เพราะเป็น บุญ แบบที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในเชิงนำ หรือไม่มี active participation ผลก็คือ เป็นงานบุญที่ลิ่วล้อจัดขึ้นรับใช้ผู้นำ ชาวบ้าน พระ เด็กๆ กลายเป็นเครื่องประดับบารมีผู้นำและหน่วยงาน</p><p align="center"> เป็น บุญที่สร้าง บาปซะมากกว่า</p><p> ไม่ผิดอะไรครับ ถ้าบรรดานักพัฒนาก็ดี นักวิจัยที่คลุกคลีกับท้องถิ่นชนบทจะเอาแนวคิดเรื่อง บุญมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ระดมกำลังจากชาวบ้าน โดยส่วนตัว ผมก็เริ่มใช้กับกิจกรรมบางอย่างในโครงการของสโมสรเยาวชนที่แม่ฮ่องสอน อยู่ในช่วงของการลองผิดลองถูกเหมือนกัน  </p><p style="margin: 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หากแต่เมื่อ บุญเริ่มผลิใบออกสู่สาธารณะ เราต้องปล่อยให้ชาวบ้านร่วมกันคิด วางแผน และแสดงบทบาทนำให้มาก โดยเราถอยไปอยู่หลังฉาก คอยให้คำแนะนำทั้งแก่ชาวบ้าน และแก่ตัวเราเอง ให้หา "จุดลงตัว"  (ผมไม่รู้ว่าจุดลงตัวมันอยู่ตรงไหน ก็คงต้องพิจารณากันเป็นบริบทๆไป แต่ที่แน่ๆมันไม่ตายตัว ดังนั้น จึงออกแบบไว้ชัดเจนแต่แรกไม่ได้)</p><p style="margin: 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดหนึ่งที่ส่วนตัวผมเห็นว่าจะลืมไม่ได้ก็คือ  การเสริมสร้างอำนาจ (empower) ชาวบ้านเพื่อจะทำงานกับหน่วยงานพัฒนา แบบเป็นเจ้าภาพร่วมกันครับ  เป็นการพัฒนา ทุนมนุษย์” (human capital) ที่ผมเองก็เคยมองข้ามมาก่อน เช่นกัน</p><p></p><p align="center">การรวมพลของกลุ่มแม่บ้าน กับบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ในงาน </p><p align="center"></p><p align="center">แล้วตรงนี้ เราจะเห็นสีสันการเรียนรู้เกิดขึ้นมากมาย</p><p align="center">และได้อิ่ม บุญไปพร้อมๆกับชาวบ้านด้วย </p><p align="center"> </p><p align="center">เด็กๆสัมภาษณ์คนเฒ่าเพื่อประเมินโครงการ</p><p align="center"> </p><p align="center">ส่วนเจ้าออมสิน ลูกชายผมขณะกำลังให้พระสงฆ์ผูกข้อมือ </p><p align="center">ก็พลอยอิ่มบุญไปกะเขาด้วย</p>



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท