การตอบสนองสิทธิผู้ป่วย


การมีกิจกรรมไม่ได้เป็นเครื่องบอกว่าผลลัพธ์ที่ต้องการจะได้เสมอไป การประเมินแต่ผลผลิตหรือกิจกรรมที่ทำจึงตื้นเกินไป

          เมื่อวานนี้ ผมได้สอนนิสิตแพทย์เรื่องจรรยาบรรณแพทย์และสิทธิผู้ป่วย ในช่วงแรกได้มีการสรุปประเด็นสำคัญให้ฟังพร้อมทั้งแจกเอกสารประกอบการเรียน หลังจากนั้นได้มอบหมายให้นิสิตได้ไปประเมินการตอบสนองสิทธิผู้ป่วยในพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาลบ้านตากทั้งหอผู้ป่วย ผู้ป่วยนอก ทันตกรรม แพทย์แผนไทย

           หลังจากได้ลงไปดูพื้นที่จริง เก็บข้อมูลแล้วก็ได้มีการอภิปรายร่วมกัน สิ่งที่พบก็คือโรงพยาบาลได้พยายามที่จะตอบสนองสิทธิผู้ป่วยทั้ง 10 ข้อโดยการกำหนดกิจกรรมที่จะช่วยตอบสนองสิทธิดังกล่าว แต่จากความเห็นของนิสิตก็พบว่าแม้มีกิจกรรมแต่ผลลัพธ์ที่ต้องการบางอย่างก็ยังไม่เกิดขึ้น เช่น

            พอถามคนไข้ว่ารู้จักแพทย์ที่มาดูแลรักษาไหม หลายคนก็ยังบอกไม่รู้ ทั้งๆที่มีกิจกรรมต่างๆเช่นป้ายชื่อ บอร์ดหน้าห้อง แสดงว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นก็ยังไม่ช่วยตอบสนองมากนัก ข้อเสนอแนะคือแพทย์ควรจะบอกชื่อผู้ป่วยที่ตนเองตรวจและถามชื่อผู้ป่วยด้วย แต่หากไม่มีเวลาหรือไม่สามารถทำได้อาจให้พยาบาลเข้ามาช่วยแนะนำก็ได้

           อีกประเด็นหนึ่งทีพูดกันก็คือการลงนามยินยอมรักษา ซึ่งความเชื่อเดิมคือลงนามไว้เพื่อกันการถูกฟ้อง ซึ่งจริงๆแล้วไม่สามารถกันได้ การเขียนลงนามใบยินยอมรับการรักษาเป็นกลอุบายอย่างหนึ่ง ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การลงนามแต่อยู่ที่ก่อนลงนาม โดยก่อนลงนามต้องมีการอธิบายผู้ป่วยและญาติโดยให้ข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจของเขา ให้เขาได้ตัดสินใจแล้วจึงลงนามยินยอมรับการรักษา ไม่ใช่มุ่งเน้นแค่ขอให้มีลายมือลงนามก็พอ

หมายเลขบันทึก: 13325เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2006 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท