STI – KM ที่จัดครั้งแรกในกลุ่ม COP – STI สถาบันบำราศนราดูร
Storytelling
ก้าวแรกของการจัดการความรู้ในสถาบันบำราศนราดูร
Storytelling ก้าวแรกของการจัดการความรู้ในสถาบันบำราศนราดูร <p align="left"></p>
ความเป็นมา
โครงการพัฒนาสถาบันบำราศนราดูรเพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งชาติในการดูแลและฝึกอบรมโรคเอดส์ภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ
ด้านสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
มีกิจกรรมย่อยด้านการป้องกันการแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ทั้งเพศหญิงและเพศชาย(Positive
prevention in HIV-infected patients for sexually transmitted
infection)
กิจกรรมนี้ประกอบด้วยการซักประวัติผู้ติดเชื้อเพื่อการให้คำปรึกษาด้านการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการรับและแพร่เชื้อเอชไอวี
รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์
สถาบันฯ
จึงต้องส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้
ทักษะในการซักประวัติและให้การปรึกษา
ซึ่งมีการอบรมทั้งภายในและภายนอกสถาบันฯ
เช่นการอบรมเรื่องการให้การปรึกษาและตรวจเลือดโดยสมัครใจ (Voluntary
Counseling Testing) สำหรับชายที่มีพฤติกรรมชายรักชาย (Men who have
Sex with Men) เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการอบรม
และทักษะในการปฏิบัติงานจริง สถาบันฯ
จึงได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้โดยใช้วิธีการบอกเล่าเรื่อง
(storytelling) ซึ่งได้ดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 25
พฤศจิกายน 2548
วิธีการ
จัดการประชุมในคณะทำงาน STI
ซึ่งเปรียบเสมือนเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันมีลักษณะของชุมชนนักปฏิบัติในด้านโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์
โดยมี”คุณอำนวย” 2 คน ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้ให้การปรึกษา
(คุณอารีวรรณ เจริญรื่น และ คุณอารี รามโกมุท )
ทำหน้าที่ซักถามประเด็นความรู้ในการซักประวัติผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีพฤติกรรมชายรักชาย
จาก”คุณกิจ” พยาบาลเทคนิค(คุณเดชา ญานฤทธิ์ )
ผู้ปฏิบัติงานและผ่านการอบรม มี “คุณลิขิต”
บันทึกข้อมูลก่อนการประชุมได้มีการอธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้ผ่านการเล่าเรื่องของผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการความรู้
ข้อสังเกต
บรรยากาศในตอนแรก ”คุณกิจ”
ค่อนข้างจะเขินอายเพราะเป็นครั้งแรกที่เป็นทั้งวิทยากรและผู้ถูกสัมภาษณ์
ไม่กล้าพูดขอให้ทุกคนอ่านเอกสารประกอบการบรรยายที่นำมาแจกแทน
“คุณอำนวย”
ต้องใช้เทคนิคในการซักถามพูดคุยในประเด็นปัญหาในการทำงานก่อน
และตั้งคำถามด้านวิชาการ เช่น
คำนิยามของชายที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน ซึ่ง “คุณกิจ”
ได้อธิบายเพิ่มเติมจากเอกสารประกอบคำบรรยายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
จากนั้นบรรยากาศของการเล่าเรื่องของทั้ง”คุณกิจ”
และคุณอำนวยจึงได้เริ่มขึ้น
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนร่วมซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้คุณกิจเกิดความรู้สึกอยากจะเล่าประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับมาจากการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น
“คุณอำนวย” คอยตั้งประเด็นและสรุปสาระสำคัญโดยแบ่งเป็นหัวข้อให้
“คุณลิขิต” บันทึกไว้
ตัวอย่าง
คุณอำนวย
ถามว่ามีวิธีซักถามกับผู้ป่วยอย่างไรว่าเขามีพฤติกรรมชายรักชาย
คุณกิจ ผู้ป่วย HIV/AIDS
ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจะมีจิตใจที่ละเอียดอ่อน
การตั้งคำถามจึงต้องละเอียดอ่อนตามไปด้วย
และต้องเป็นคำถามที่คลอบคลุมทุกรายละเอียด
การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามที่ชี้แนวทางให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยและต้องใช้คำถามที่ไม่ทำลายความรู้สึก
เช่น
ถ้าต้องการที่จะทราบว่าผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์กับชายหรือไม่
ส่วนใหญ่ผู้ให้การปรึกษาจะพูดคุยในประเด็นอื่น ๆ
ก่อนแล้วจึงใช้คำถามที่ถามถึงความรู้สึกที่แท้จริง เช่น
เมื่อคุณอยู่ใกล้และสัมผัสผู้หญิง คุณรู้สึกอย่างไร
มีความสุขหรือไม่
และเมื่อเทียบกับการที่ได้สัมผัสกับผู้ชาย
ความรู้สึกไหนสร้างความสุขและความต้องการมากว่ากัน
ในการสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะต้องสังเกต
ตั้งแต่การพูดคุย การตอบคำถาม พฤติกรรมการแสดงออก
และผู้ให้การปรึกษาต้องให้การประเมินเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งคำถามให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้ป่วยในแต่ละบุคคล
ข้อสรุป
แม้ว่ากิจกรรมการจัดการความรู้โดยวิธีการเล่าเรื่องในคณะทำงาน STI
จะเป็นครั้งแรกและอาจจะไม่เป็นไปตามแบบแผนนักแต่ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกของการแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคลากร
ซึ่งจะนำไปสู่ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้ในสถาบันบำราศนราดูร
รายงานโดย
นางชนกพรรณ ดิลกโกมล
เลขาคณะกรรมการ
จัดโดย แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช
ผู้อำนวยการสถาบัน
ข้อสังเกตจากผู้อำนวยการ
การทำ KM โดยการเล่าเรื่องเป็นกาทำครั้งแรก
โดยความจริงทางสถาบันก็มีรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ตามหลักการแพทย์อยู่แล้ว
แต่เมื่อเราเริ่มมีความรู้เรื่อง KM และนำ Technique
ต่างๆ มาใช้
น่าจะเป็นช่องทางราบของการประสานงานและถ่ายทอดความรู้ได้มากยิ่งขึ้นแทนการประสานงานทางดิ่ง
ที่ต้องอาศัยหัวหน้างานกำหนดคนนั้นคนนี้ไปเข้าฟัง
หากเจ้าหน้าที่ไม่มีฉันทะที่จะเรียนรู้
อย่างหวังว่าจะเกิดการพัฒนาของการดูแลในระยะยาว
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การให้คำปรึกษาผู้ป่วย
HIV/AIDS
ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศชายรักชาย
(MSM)
นิยามของ
MSM
MSM คือ กลุ่มชายรักชายที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน
ซึ่งแบ่งเป็นหลายประเภทและเรียกแตกต่างกันออกไป
ชายที่ชอบร่วมเพศทั้งหญิงและชาย เรียกว่า BISEXSUAL
ส่วนชายที่ต้องการหรือชอบที่จะมีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยกันอย่างเดียว
เรียกว่า HOMOSEXSUAL แต่ก็ต้องดูตามสถานการณ์ด้วย
ซึ่ง MSM
ไม่ได้หมายถึงว่าบุคคลเหล่านี้จะอยู่ในประเภทที่มีใจรักชายอย่างเดียวเท่านั้น
ชายบางคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอาจหาผู้หญิงร่วมเพศสัมพันธ์ไม่ได้
จึงจำเป็นต้องร่วมเพศกับชาย เช่น
ชายที่อยู่ในทัณฑสถาน หรือ ผู้ที่ใช้สารเสพติด
เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนที่มีพฤติกรรม MSM
นี้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HIV/AIDS
และโรคทางเพศสัมพันธ์ (STI) เช่น โรค
กามโรค หนองใน เริมอ่อน หูดหงอนไก่
เป็นต้น
ในปัจจุบันผู้ที่มีพฤติกรรมชายรักชาย
มีการเปิดเผยมากยิ่งขึ้น
กลุ่มผู้ติดเชื้อจึงมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
<h1>การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงทางไหน
</h1>
การมีเพศสัมพันธ์ของ MSM
จะมีในลักษณะของการร่วมเพศทางทวารหนักเป็นส่วนใหญ่
การร่วมเพศลักษณะนี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองจากการเสียดสีเนื่องจากจะมีไม่มีสารหล่อลื่นจากธรรมชาติเหมือนในเพศหญิง
ซึ่งจะทำให้เกิดแผลและเป็นช่องทางที่ทำให้ติดเชื้อ
HIV/AIDS
นอกจากการร่วมเพศทางทวารหนักแล้วยังมีการร่วมเพศในลักษณะของ
Oral sex คือ การใช้ปากและลิ้นในการมีเพศสัมพันธ์
ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การร่วมเพศโดยใช้อุปกรณ์ช่วยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ
วิธีการตั้งคำถามและการให้คำปรึกษาผู้ป่วย
HIV/AIDS
ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
ผู้ป่วย HIV/AIDS
ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศจะมีจิตใจที่ละเอียดอ่อน
การตั้งคำถามจึงต้องละเอียดอ่อนตามไปด้วย
และต้องเป็นคำถามที่คลอบคลุมทุกรายละเอียด
การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามที่ชี้แนวทางให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยและต้องใช้คำถามที่ไม่ทำลายความรู้สึก
เช่น
ถ้าต้องการที่จะทราบว่าผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์กับชายหรือไม่
ส่วนใหญ่ผู้ให้การปรึกษาจะพูดคุยในประเด็นอื่น ๆ
ก่อนแล้วจึงใช้คำถามที่ถามถึงความรู้สึกที่แท้จริง เช่น
เมื่อคุณอยู่ใกล้และสัมผัสผู้หญิง คุณรู้สึกอย่างไร
มีความสุขหรือไม่
และเมื่อเทียบกับการที่ได้สัมผัสกับผู้ชาย
ความรู้สึกไหนสร้างความสุขและความต้องการมากว่ากัน
ในการสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะต้องสังเกต
ตั้งแต่การพูดคุย การตอบคำถาม พฤติกรรมการแสดงออก
และผู้ให้การปรึกษาต้องให้การประเมินเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งคำถามให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้ป่วยในแต่ละบุคคล
สัมพันธภาพในการเข้าถึงกลุ่มชายรักชาย
ผู้ให้คำปรึกษาต้องสร้างความไว้วางใจให้ผู้ป่วยเชื่อใจและมีความมั่นใจว่าความลับของตนจะไม่ถูกเปิดเผย
กล้าที่จะตอบคำถาม
ต้องแสดงให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เห็นว่าผู้ให้คำปรึกษามีความเข้าใจ
เห็นอกเห็นใจ และทำตัวเป็นพวกเดียวกับคนกลุ่มนี้
ในขั้นตอนแรกอาจต้องมีการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้ป่วย
เช่น ท่าทางการเดิน การพูดคุย และ
การแต่งกาย
ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ
และจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
ต้องมีการพูดคุยที่เป็นกันเอง
ไม่ใช้ศัพท์หรือคำพูดที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างและเกิดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้คำปรึกษา
การใช้น้ำเสียงต้องไม่แข็งกระด้าง
รวมถึงการใช้คำถามผู้ให้การปรึกษาต้องมีกลยุทธ
ในการถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากที่สุด
การเกิดหูดหงอนไก่ใน HIV/AIDS
ที่มีพฤติกรรมชายรักชาย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ คือ
การมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในการร่วมเพศที่ผิดวิธี
ผิดธรรมชาติ ไม่สะอาด
ทำให้เชื้อไวรัสเกิดการแพร่เชื้อ
ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องติดต่อในกลุ่มชายรักชายและผู้ติดเชื้อ
HIV/AIDS
เท่านั้นในกลุ่มคนปกติก็สามารถติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้
หากไม่มีการตรวจร่างกายก่อนการมีเพศสัมพันธ์
หรือมีการร่วมเพศที่ผิดวิธี
แต่ไวรัสชนิดนี้ก็สามารถรักษาให้หายได้
เข้ามาดูเพื่อเรียนรู้และอยากนำไปทำCOPชมรมจริยธรรมบ้างค่ะ