กลุ่มเด็กรักไอคิโด แห่งเมืองสามหมอก


ผมใช้แนวคิดการเรียนที่มุ่งเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center) และแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ที่เหมาะกับสมอง (Brain Base Learning) มาประยุกต์ใช้กับการฝึกไอคิโดที่นี่ รวมถึงความสนุกและผ่อนคลายที่เด็ก ๆ มีให้กัน แต่สิ่งที่น่าจะเหมือนกันกับโดโจหรือสถานที่ฝึกที่อื่น ๆ คือ การฝึกที่นำไปสู่การระงับความขัดแย้งและกลับมาเป็นเพื่อน สร้างมิตรภาพร่วมกันครับ

เอ่ยถึง ไอคิโด (Aikido) พวกเรารุ่นพี่รุ่นน้องชาวไอคิโดในสถาบันอุดมศึกษาย่อมคุ้นเคยดีอยู่แล้ว ว่าเป็นศิลปการต่อสู้ป้องกันตัวที่ทรงอานุภาพและเน้นสันติวิธีแขนงหนึ่ง

แต่มาวันนี้ผมได้รับการเชื้อเชิญจากผู้จัดการชมรม (พี่ป๋อม) ไอคิโด มช. และ บก.ไอคิโดนิวส์เลตเตอร์ (พี่กบ)ให้เขียนถึงที่มาที่ไปของการฝึกสอนไอคิโด ที่ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อนำมาเล่าสู่แก่มิตรสหาย พี่น้อง ครูอาจารย์ ผมก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับโอกาสเช่นนี้นะครับ            

ปางมะผ้าเป็นอำเภอเล็กๆ อำเภอหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากอำเภอปายขึ้นไปทางเหนืออีกประมาณ 40 กิโลเมตร อำเภอนี้แวดล้อมไปด้วยภูเขาและป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีประชากรประชากรกลุ่มหลักเป็นไทใหญ่ แต่ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มอยู่รวมกันด้วย ได้แก่ ลาหู่ ลีซู ลัวะ คนเมือง             

ผมเข้ามาทำงานงานที่นี่ ในฐานะผู้ช่วยนักวิจัยของโครงการ The Uplands Program, University of Hohenhiem สหพันธรัฐเยอรมัน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547

ความที่เป็นนักมานุษยวิทยาทำให้ต้องเกาะติดกับพื้นที่วิจัย ผมจึงต้องใช้เวลาเก็บข้อมูลภาคสนามในหมู่บ้านนานหลายสัปดาห์ต่อหนึ่งเดือน ทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสไปฝึกซ้อมกับชมรมไอคิโดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เท่าใดนัก

ผมเกรงว่าฝีมือจะตกลงไป (อันที่จริงก็ไม่ค่อยก็ไม่ค่อยมีฝีมือจะให้ตกกะเขานะครับ) ก็เลยหาสถานที่ อุปกรณ์ และเวลามาฝึกซ้อมเองในช่วงที่ทำวิจัยภาคสนาม            

แรกทีเดียวผมก็อาศัย ศาลาริมน้ำของเกสต์เฮาส์เป็นที่ฝึกซ้อมเพียงลำพังไปพลาง ๆ ต่อมานึกอยากใกล้ชิดกับชุมชนเพื่อสะดวกในการเก็บข้อมูลมากขึ้น ผมก็เลยย้ายออกไปอยู่บ้านเช่าของชาวบ้านแทน

หลังจากที่ย้ายออกมาอยู่บ้านเช่า ผมก็ยังคงฝึกซ้อมต่อและลงทุนสั่งซื้อเบาะมาฝึกเอง เด็ก ๆ ในชุมชนละแวกนั้นเห็นผมฝึกซ้อมอยู่ก็แสดงความสนใจ มาขอฝึกด้วย ผมก็รับเข้ามาฝึกซ้อมร่วมกัน แต่ก็ฝึกกันอยู่ประมาณ 3-5 คน ไม่ได้มีกรอบ กฏ กติกาอะไร อาศัยเวลายามว่างช่วงเย็นมาฝึกกันตามอัธยาศัย ไม่มีการเก็บค่าเรียนครับ แต่ถึงกระนั้นบางทีก็ต้องไปรับเด็กถึงที่พักเพราะเด็กไม่มีพาหนะเดินทางมา ก็นับว่าเป็นช่วงทุลักทุเลเหมือนกัน            

ปี 2549 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการฝึกสอนไอคิโดที่นี่ เพราะหลังจากที่โครงการวิจัยที่ผมเป็นผู้ช่วยนักวิจัยอยู่นั้นสิ้นสุดลง ผมได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อทำโครงการวิจัยต่อกับกลุ่มเด็ก ๆ จนกระทั่งสามารถพัฒนาจัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีชื่อว่า สโมสรผู้นำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน หรือเรียกย่อ ๆ ว่า สยชช. ในปี 2550 นี้ซึ่งเกิดผลพลอยได้คือ ทำให้เรามีสถานที่และระบบการฝึกที่ชัดเจนขึ้น            

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้นมา การฝึกไอคิโดที่นี่ก็ค่อย ๆ เป็นระบบ จากเด็กที่มาๆหายๆ ก็เริ่มมีเด็กที่ฝึกต่อเนื่องเพิ่มขึ้น ผมก็ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ ร่วมสามปี จนปัจจุบัน รูปแบบการฝึกสอนไอคิโดของผมแก่เด็ก ๆ มีอยู่ 3 แบบครับ 

แบบแรก จะฝึกสอนทุกวันจันทร์, พุธ ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 5 โมงเย็น ถึง 6 โมงเย็น บางสัปดาห์ก็มีการฝึกชดเชย เด็กที่เล่นได้ดี มาสม่ำเสมอผมก็จัดหาชุดฝึกให้เป็นกำลังใจ และได้โอกาสไปแสดงตามงานต่าง ๆ กลุ่มเด็กที่มาฝึกในแบบนี้ ปัจจุบันมีอยู่ 7 คน อายุตั้งแต่ 8-14 ปี เป็นเด็กผู้หญิงชาวไทยใหญ่ ที่ไม่มีบัตรประชาชน 

แบบที่สอง จะฝึกกันเฉพาะ วันเสาร์  เวลา 10 โมงเช้า ถึงเที่ยง กลุ่มนี้จะเป็นเด็กลีซูและกะเหรี่ยง ผมใช้สถานที่คือโรงครัวของโรงเรียนศูนย์ปางมะผ้าในโครงการตามพระราชดำริ มาฝึกเด็กประมาณ 12 คน ทั้งชายหญิง ส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กไร้สัญชาติเช่นกัน

  

แบบที่สาม ไปฝึกตามคำเชิญของโรงเรียนบางแห่ง ที่ผ่านมาก็คือโรงเรียนบ้านห้วยแห้ง ซึ่งเป็นเผ่าไทใหญ่กับาหู่ มาขอให้จัดฝึกไอคิโดแก่นักเรียน 3 วัน 2 คืน อันนี้ก็ผมกับครูใหญ่ก็ไปติดต่อขนมนมเนย ข้าวสาร อาหารแห้งจากวัด มาช่วยอุปการะเด็กระหว่างการฝึก เด็กที่มาฝึกมีทั้งหมด 10 คน บ้านก็อยู่ไกลหนทางกันดาร ถ้าไม่มีโครงการจากโรงเรียน ก็ยากที่จะมาสัมผัสกับไอคิโดครับ   

          เหล่านี้เป็นที่มาที่ไปจากอดีตถึงปัจจุบันของการฝึกสอนไอคิโดที่ผมทำขึ้นที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนกลายเป็น กลุ่มเด็กรักไอคิโด  

<p>  กลุ่มเด็กรักไอคิโดเป็นกลุ่มเด็กไทใหญ่ ลีซู และกะเหรี่ยง ที่สนใจมาฝึกไอคิโดกับผม ที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ความจริงเราเล่นๆหยุดๆกันมาหลายปีแล้ว เพิ่งจะมาเป็นรูปเป็นร่างก็ปีนี้ ผมก็เลยแนะให้ทำเป็นกลุ่มซะเลย ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ กลุ่มเด็กรักไอคิโด </p><p>เราก่อตั้งกันเมื่อ มิถุนายน 2550 นี้เอง ปัจจุบันมีสมาชิกเป็นเด็กอายุ 8-15 ปี จำนวน 20 คน รวมเผ่า ไทใหญ่ ลีซู กะเหรี่ยงครับ และคิดว่าอีกหน่อยคงจะมีลาหู่เข้ามาเร็วๆนี้  </p><p style="margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">รูปแบบ เทคนิค การสอน กฎกติกามารยาท ในการฝึกของพวกเราย่อมไม่อาจเข้มข้นขึงขังเท่ากับโดโจที่ใดในโลก </p><p style="margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">สิ่งที่แตกต่างก็อาจจะเป็นเรื่อง ผมใช้แนวคิดการเรียนที่มุ่งเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center) และแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ที่เหมาะกับสมอง (Brain Base Learning)  มาประยุกต์ใช้กับการฝึกไอคิโดที่นี่ รวมถึงความสนุกและผ่อนคลายที่เด็ก ๆ มีให้กัน </p><p style="margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>แต่สิ่งที่น่าจะเหมือนกันกับโดโจหรือสถานที่ฝึกที่อื่น ๆ คือ การฝึกที่นำไปสู่การระงับความขัดแย้งและกลับมาเป็นเพื่อน สร้างมิตรภาพร่วมกันครับ </p><p>โปรแกรมการฝึกไอคิโดที่อำเภอปางมะผ้า โดยนายวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ (8 กิ้ว)  </p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0" class="MsoTableGrid" style="border-collapse: collapse; border: medium none"><tbody>

เวลา สถานที่ จำนวนผู้เรียน จันทร์, พุธ, ศุกร์17.00 – 18.00 น. ศาลารวมใจ สยชช. 3 - 8 คน เสาร์ 10.00 -12.00 น. โรงเรียนศูนย์ปางมะผ้าในโครงการตามพระราชดำริ 10 - 12 คน

</tbody></table><p> หมายเหตุ : ในการเรียนการสอนไม่มีค่าจ้าง ค่าบำรุงสถานที่ และค่าเล่าเรียน แต่อย่างใด แต่วางเงื่อนไขของผู้ฝึกให้ต้องไปบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนเป็นการตอบแทน  </p><p>             สนใจติดตามการฝึกไอคิโด และกิจกรรมอื่น ๆ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของพวกเราก็เข้ามาได้ที่ http://gotoknow.org/blog/dek3moktoday ครับ      </p><p>       อนึ่งขอขอบคุณ ชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่รักยิ่งที่กรุณาอนุเคราะห์เบาะ, ชุดฝึก และเสื้อผ้าเหลือใช้แก่เด็ก ๆ ตลอดจนอนุเคราะห์เนื้อที่ในจดหมายข่าว ในการแนะนำพวกเรา รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจแก่ผม ในการเขียนบันทึกนี้ด้วยครับ</p><p></p>



ความเห็น (2)

ว้าว เก่งกันจัง  หนูทำไม่หรอกค่ะ อย่างนั้นหน่ะ แบบว่า ม้วนหน้าม้วนหลัง  เวียนหัว สลบแน่ๆเลย 5555++....ขอชื่นชมเยาวชนด้วยกันค่ะ

       เป็นกำลังใจให้พี่นะค่ะ ยินดีที่ได้รู้จัก จะคอยติดตามผลงานต่อไปเจ้าค่ะ -------> น้องจิ ^_^

  • นานๆทีจะมีเด็กแวะเข้ามาทักทายในบล็อก
  • จริงๆ พี่ก็ทำงานกับบรรดาสภาเด็กจังหวัดแม่ฮ่องสอนเหมือนกัน แต่เป็นที่ปรึกษาอยู่ห่างๆนะครับ
  • สุพรรณกับแม่ฮ่องสอน อยู่ประเทศเดียวกัน แต่มีหลายอย่างต่างกันมาก เยาวชนก็ต่างกันมาก น้องหมั่นแวะเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ อย่างนี้จะรู้ลึกกว่าคนอื่นเยอะ
  • เกียรติประวัติน้องน่าชื่นชมนะครับ อย่างนี้ใครเป็นพ่อแม่ต้องปลื้มใจมากๆ
  • ยินดีที่ได้รู้จักครับ น้องฟูจิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท