ajarnaun
อาจารย์ ณัฐสุดา เชื้อมโนชาญ

ประชุมStaffกิจกรรมบำบัด


การเริ่มต้นค้นหาความสามารถเฉพาะทางของนักกิจกรรมบำบัด OT Specialist

วันนี้ได้มีการประชุมStaffนักกิจกรรมบำบัด วันนี้ถือว่าเป็นการประชุมสบายๆโดยเน้นค้นหาความเป็นspecialtyของตัวเอง ค้นหาความเป็นดาวในตัวเองว่างั้นเถอะ รวมทั้งวิธีและขั้นตอนในการเป็นมืออาชีพต้องทำอย่างไร ถือได้ว่าเป็นการพัฒนางานทางกิจกรรมบำบัดอย่างหนึ่งเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ

หมายเลขบันทึก: 132056เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2007 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านประวัติของอาจารย์แล้วดีใจมากคะ คือ 1.เราจบมาจาก มช.เหมือนกันคะ รหัส 35 2. มีลูกเป็นออทิสติก อยากได้คำแนะนำและจะขอคำปรึกษาคะ

ครูนอยเขียนเล่าไว้บ้างที่ เด็กพิเศษที่แสนจะพิเศษ อาจารย์ลองเข้าไปอ่นดูนะคะ

จริงๆแล้วที่รู้ว่าลูกเป็นออทิสติก ก็ที่ มช.นี้แหละคะ (ตอนนั้นลูกอายุ 1 ขวบ 10 เดือน) มีหมอท่านหนึ่งที่จ.แพร่แนะนำมา ตอนนั้นพอรู้เรีื่องออทิสติกบ้าง แต่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง (เครียดและคิดมาก) อาจารย์หมอสุรชัย ได้วินิจฉัยว่าเป็น ออทิสติก แบบPDD บกพร่องทางด้านสังคมและภาษา ชอบเขย่งปลายเท่า หมุนรอบตัวเอง ดูของหมุน พูดภาษาประหลาด แต่ยังกอดพ่อแม่อยู่นะคะ

คุณหมอแนะนำให้ไปที่คณะเทคนิคการแพทย์ จำได้ว่าชื่อพี่แดง ทีดูแลเด็กกลุ่มนี้อยู่ พี่เขาน่ารักมาก ให้กำลังใจ พาไปดูเด็กที่เป็นมากกว่าลูกของเรา มีตารางแบบฝึกให้มาฝึก(กิจกรรมบำบัด)ที่บ้าน เช่นการออกเสียงอักษรหรือคำต่างๆ การนวดตัว กระตุ้นปลายประสาท และจดบันทึกไว้ทุกวัน ตอนนั้นโรคนี้ยังไม่ดัง ก็ได้ตำราที่คณะนั้นแหละคะมาอ่าน

ได้ส่งตัวลูกไปรักษาต่อที่ รพ.พุทธชินราช ได้นักกิจกรรมบำบัดชื่อคุณสมบัติ หรือครูอ๊อด (มช.37) ดูแลให้ ครูอ๊อดเก่งมาก ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ทุกอย่าง ลูกไปทำกิจกรรมบำบัดครั้งแรก แม่แทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่ ไม่มีความหวังเลย เพราะลูกต่อต้าน ตอนนั้นเข้ามีอาการไฮเปอร์ด้วย ครูอ๊อดจับให้นั่งในแปลญวนแล้วไกว เข้าต่อต้านและสามารถยืนบนแปลได้ แต่ที่น่าประหลาดใจ เขากลับมาบ้านจะไม่ค่อยซนแล้ว ฝึกสัปดาห์ละ 3 วันที่ รพ. แต่ที่บ้านทำทุกวัน คือ เอาผ้าเช็ดตัวมาห่อตัว แล้วจับกลิ้ง นั่งเก้าอี้ที่หมุนได้ จับเขาหมุนไปรอบๆ แล้วดูการเคลื่อนไหวของลูกตา เล่นไถนา (ให้เขานอนคว่ำ แล้วยกขาสองข้างขึ้น ให้เขาคลานไปข้าหน้า) พานั่งรถมอเตอร์ไซด์ พาไปดูสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากในบ้าน เพราะตอนนั้นให้ย่าเป็นคนเลี้ยงแล้วดูแต่การ์ตูน โดยเฉพาะ เทเลทับบี้ (สื่อสูตรสำเร็จ ไม่เหมาะกับเด็กกำลังหัดพูด) พยายามบอกว่าสิ่งที่พาเขาไปดูคืออะไร เช่น ไก่ หมา พระ ต้นกล้วย อยู่อย่างนี้ทุกวัน จนในที่สุดคำแรกที่พูดได้ คือ หมา เรียกแม่ได้ เมื่อใช้เวลา 4 เดือน ดีใจมาก  อ้อ ลืมบอกไปคะว่า ตอนที่รู้ว่าเขาเป็น หมอให้เขาเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ทำเป็นประจำ คือเขาจะอยู่แต่บ้านกับย่า ก็เลยตัดสินใจให้เขาไปอยู่เนิสเซอร์รี่คะ ต้องของคุณพี่เลี้ยงและคุณหมอที่ รพ.รัตนเวชเด็ก จ.พิษณุโลกด้วยที่ดูแล

ลูกไปทำกิจกรรมบำบัดอยู่ปีกว่า ก็ไม่ได้ไปแล้ว เพราะครูอ๊อดบอกว่าหายแล้ว แต่ก็นานๆไปที

คำว่าหายแล้วของครูอ๊อดจริงๆแล้วรู้สึกดีมาก แต่เท่าที่สังเกตลูกดูก็จะรู้ว่ายังไม่ 100% เพราะหากเล่นรถก็จะแบดูล้อรถเวลาหมุนบ้าง ต้องคอยบอกเขาว่าอย่าดูเดี๋ยวไม่สบาย หมอบอกว่าเหมือนโรคหัวใจ ถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นอีกก็จะไม่มีอาการ

ตอนนี้เรียนอยู่ ป.3 ในโรงเรียนปกติ การเรียน ค่อนข้างดี ประมาณ 92% มีความสามารถด้านความจำ และด้านคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ แต่ต้องคอยสังเกตเรื่อยๆว่า มีอาการอีกหรือไม่ ต้องถามครูว่ามีปัญหาอะไรไหม แต่เท่าที่ถามก็ยังไม่มี

สุดท้ายนี้อยากจะฝากบอกพ่อแม่ที่มีลูกเป็นออทิสติกว่า พ่อแม่สำคัญกว่าหมอซะอีก การกอดการหอมลูกทุกๆวันนี่ก็คือการรักษาแล้ว อย่าหวังพึ่งแต่หมอ เพราะ หมอไม่สามารถดูแลลูกของเราได้ทุกวันและตลอดเวลา การดูแลลูกคือหน้าที่ของเราคะ

สวัสดีค่ะคุณแม่น้องลูกนัท เนื่องจากภาระกิจรัดตัวจึงตอบกระทู้ช้ามาก ต้องขอแสดงความดีใจที่ลูกนัทของคุณแม่มีพัฒนาการดีมากจริงๆ ซึ่งน้อยรายจะประสบความสำเร็จเช่นนี้

จึงสามารถมองภาพได้ว่าคุณแม่ทุ่มเทมากจริงๆ อยากให้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคุณแม่ท่านอื่นในการดูแลลูก เพราะเด็กจะดีขึ้นได้นั้นต้องอาศัยเวลา และทุ่มเทจากคุณแม่ในการฝึกส่วนนักกิจกรรมบำบัด หรือวิชาชีพอื่นเป็นแค่บุคคลที่ให้ความรู้และเทคนิคต่างๆ

เด็กไม่สามารถอยู่กับผู้บำบัดได้ไปตลอด และตลอดเวลา แต่คนที่เด็กอยู่ด้วยไปตลอดนั้นแหล่ะค่ะ คือ key person จริง 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท