แนวทางการบริหารโครงการส่งเสริมการเกษตรปี 2551


เกษตรตำบลเปรียบเสมือนทหารราบ

     กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการบริหารโครงการส่งเสริมการเกษตรปีงบประมาณ 2551วันที่ 24-25 กันยายน 2550 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานคร  ผู้เข้าสัมมนาประกอบด้วยผู้บริหารระดับกอง/สำนัก/เขต เกษตรจังหวัด/หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ รวมทั้งผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติงานต่าง ๆ 

     เริ่มจากอธิบดีให้นโยบายว่า  กรมส่งเสริมการเกษตรจะก้าวไปสู่ยุคใหม่ เป็นยุค knowledge base ใช้ความรู้/ภูมิปัญญาเป็นหลัก ที่ผ่านมากรมฯได้นำ km มาเป็นเครื่องมือในการทำงานอย่างเงียบ ๆ มาระยะหนึ่งแล้ว มีผลงานและมีผู้กล่าวถึงตลอดเวลา  เราใช้ km เป็นเครื่องมือเหมือนเครื่องมืออื่น ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นคอมพิวเตอร์ ปากกา ดินสอ ฯลฯ ทำให้งานของกรมฯเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น

เหตุผลประการหนึ่งที่เราจำเป็นจะต้องเข้าสู่ยุค knowledge base  เพราะเราถูกตัดงบประมาณมาก คำถามคือว่าเราจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จ km คือคำตอบ แหล่งความรู้ของเรามีมาก อาจเรียกว่า k1, k2 k3................ตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการ การลดต้นทุนการผลิต การบริหารทรัพยากร หรือเป็นความรู้วิชาการที่ได้จากการปฎิบัติ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ปลูกต้นไม้ใช้หนี้ เป็นต้น  เราติดความรู้เหล่านี้ไปหาประชาชนตามที่เขาอยากรู้ ส่วนงบประมาณอาจมาได้ 3 แหล่ง คือ(1)อบต.  (2)อบจ.   (3)งบธกส.หรือธนาคารออมสิน   

     ส่วนการเกิดภัยพิบัติ ในส่วนของ อบต. สามารถให้การสนับสนุน/ช่วยเหลือได้โดยจะต้องทำประชาคมและเขียนโครงการตามแบบฟอร์มที่กำหนด ถ้าเกินกำลัง อบต.เช่นการระบาดวงกว้าง ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากจังหวัด ซึ่งอยู่ในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด 50 ล้านบาทหรือกระทรวงเกษตรฯหรือกระทรวงมหาดไทย วงเงินหน่วยงานละ 50 ล้านบาท

     งบประมาณในปีนี้เรามีเงินทำงานประมาณ 400 ล้านบาทเป็นงบพัฒนาจริง ๆ เพราะงบส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน ดังนั้นเราต้องพยายามทำงานกับภาคีต่างๆ มากขึ้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนก็สามารถกู้เงินจากธกส./ธนาคารออมสิน ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยต้องศึกษาก่อนดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากมีปัญหาอะไรก็สามารถปรึกษาส่วนกลางได้

การทำงานของเกษตรตำบล ถ้าเปรียบเทียบกับกองทัพ เกษตรตำบลเปรียบเสมือนทหารราบซึ่งขณะนี้มีไม่ครบทุกตำบล กรมฯได้พยายามขอตำแหน่งพนักงานราชการอีก 1200 ตำแหน่ง ได้มาแล้วแต่มีเงินบรรจุเพียง 300 คน จึงต้องปรับการทำงานให้ทำแบบกลุ่มตำบล วิธีนี้จะสอดรับกับการนำ km มาเป็นเครื่องมือในการทำงาน  การทำงานร่วมกับ อบต. เราต้องมี Socialize  Intelligence (SI) เรียกว่า ความฉลาดทางสังคม(ส่วนรวม )กับ อบต.  จะทำให้กรมฯมีความเจริญก้าวหน้า

งานของกรมฯที่เกี่ยวข้องกับสถาบันมี 5 สถาบันคือ

     1.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

     2.กลุ่มยุวเกษตรกร

     3.กลุ่มพ่อบ้านเกษตรกร

     4.อาสาสมัครเกษตรกร

     5.วิสาหกิจชุมชน

และเรายังมีเครื่องมืออีก 2 เรื่องที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆคือ

     1.คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ  ขณะนี้เราต้องปรับงบประมาณให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถนำ km มาเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและพัฒนางานด้วย

     2.โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ขยายไปทุกจังหวัดแล้ว และยังมีครัวสายใยรัก ประกอบอาหารสดช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

ท่านยังได้กล่าวถึงจุดพลิกผันของกรมฯและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วยคะ แล้วจะได้รายงานต่อไปนะคะ

ธุวนันท์  พานิชโยทัย

25 กันยายน 2550

 

หมายเลขบันทึก: 131400เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์
  • เห็นด้วยครับ นำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมในยุคปัจจุบัน เหมาะสมมาก
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • จะรออ่านตอนต่อไปนะครับ
  • สวัสดีค่ะ..พี่หม่า..เพิ่งกลับจากสัมมนาวันที่ 2 
  • ขอบคุณที่บันทึกมาแบ่งปัน รวดเร็วมากค่ะ.. 

เรียนคุณสิงห์ป่าสัก

น่าดีใจแทนพวกเราที่ผู้บริหารให้ความสำคัญเรื่องการจัดการความรู้ หวังว่าเราจะได้ร่วมงานกันอีกในเวทีต่าง ๆ

เรียนคุณเธียรชัย

ที่ไชยาเป็นอย่างไรบ้างคะ

คุณจี้

  • ขอบคุณคะที่ติดตามอ่าน พี่ไม่มีโอกาสไปร่วมวันที่ 2 อย่าลืมแบ่งปันด้วยนะคะ
  • สวัสดีครับพี่ธุวนันท์
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • ผมดีใจนะครับที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท