กว่างน่านนักสู้แห่งขุนเขา ( 1 )


                 ค่ำวันนี้   ( 22-09-2550 ) ลูกชายวัย 10 ปี ชักชวนไปชมงานโลกของกว่าง บริเวณหน้าห้างนราฯ  เขตเทศบาลเมืองน่าน  กิจกรรมนี้ทำกันมาหลายปี  แรกเริ่มเติมที่เขาจะจัดกันเป็นงานใหญ่ที่ อ.ปัว ตอนนั้น จำได้พี่ตุ่ยเป็นแม่งานหลัก  มีหมู่บ้าน ตำบล ท้องถิ่น อำเภอและจังหวัดร่วมจัดงานกันยิ่งใหญ่

                การจัดงานที่ได้ไปเห็นในวันนี้  หากมองเทียบเคียงกับงานที่เคยจัดที่ อ.ปัว ในหลายปีก่อน แม้ว่าจะไม่ใหญ่เท่าก็ตาม ในสายตาเราเห็นว่า มีคุณภาพและคุณค่าไม่แพ้กัน เพราะยุคนี้จะอาศัยเพียงให้ใหญ่อย่างเดียวโดยไร้คุณค่า และคุณภาพไม่ดี เนื่องจากเงิน ๆ ทอง ๆ หายาก

                ปลัดสมรักษ์ฯ  เป็นแม่งานในฐานะเลขานุการชมรมอนุรักษ์กว่างจังหวัดน่าน แนะนำให้เราได้พบกับ ผศ.เผดิมศิลป์ รามศิริ  นักวิชาการ คณะทำงานชมรมฯ   อันที่จริงท่านนี้เป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่ผมสมัยเรียนอยู่ประถมต้น ป.5- ป.7 รร.เวียงสา ( ปัจจุบันสถานที่โรงเรียนเป็นโรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร )   เขามีประวัติการศึกษาไม่ธรรมดาเป็นคนเรียนดีมาก  เป็นผู้ที่มีความตั้งใจ สำเร็จการศึกษาด้านแมลง ขณะนี้สอนหนังสืออยู่ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนา วิทยาเขตน่าน

                 ชีวิตจริงที่ ผศ.เผดิมศิลป์ รามศิริ เล่าความผูกพันกับกว่าง และแมลงต่าง ๆ  ให้รับฟังในค่ำวันนี้  http://www.science.cmu.ac.th/study_abstract/4425211.pdf  เราเห็นว่า จังหวัดน่านมีทรัพยากรบุคคลทรงคุณค่า  ควรอย่างยิ่งที่พวกเราจะได้อาศัยผู้รู้เหล่านี้เพื่อเชื่อมโยงกันภูมิปัญญาท้องถิ่นน่าน การชนกว่าง กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง  มีหลายท่านมองว่า เป็นการพนันบ้าง รังแกสัตว์บ้าง  สังคมที่แตกต่างหลายหลากนั้น  จำต้องยอมรับฟังความเห็นต่างไว้  เป็นธรรมดา  ทางชมรมอนุรักษ์กว่างจังหวัดน่าน  เห็นความวิถีชีวิต หรือวงจรชีวิตกว่างผูกพันผู้คน   เขาจึงไม่ลืมวิถีชีวิตชนบท  ชีวิตจริงของผู้คนในสังคมที่ผูกพันกันต่อกันมาเป็นเวลานาน

หมายเลขบันทึก: 130840เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท