เล่าเรื่องดูงานการศึกษาที่นิวซีแลนด์(ตอนที่ 3)


การจัดการเรียนการสอนใน Year 1-8 จะเน้นและให้ความสำคัญกับ การอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น (Litteracy and Numeracy) และใช้กิจกรรมศิลปะ ดนตรี และกีฬา เป็นแกนในการบูรณาการการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เด็กจึงไม่เครียดกับการเรียน
       ตอนนี้น่าจะเป็นตอนที่มีสาระสำคัญที่น่าสนใจในการจัดการศึกษาของนิวซีแลนด์
       นิวซีแลนด์ปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี ค.ศ.1989(พ.ศ.2532) ก่อนหน้าประเทศไทยประมาณ 10 ปี  เขากระจายอำนาจให้โรงเรียนบริหารตนเอง  ภายใต้การนำของ Board of Trustees (กรรมการสถานศึกษา)  กรรมการสถานศึกษาของเขามีบทบาทและความรับผิดชอบสูง  โดยจะทำทุกวิถีทางให้โรงเรียนมีคุณภาพ  กรรมการส่วนใหญ่จะมาจากผู้แทนพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ  บางโรงเรียนจะมีนักเรียนมัธยมร่วมเป็นกรรมการด้วย
        Board of Trustees
จะเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารสถานศึกษา ที่ผู้บริหารจะต้องนำไปปฏิบัติ  โดยมีบทบาทในการสั่งจ้างผู้บริหารและครูด้วย  โรงเรียนสามารถบริหารได้อย่างอิสระสามารถเลือกจ้างครู ผู้บริหาร และสามารถบริหารจัดการด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่  โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนที่นี่จะเข้ามามีส่วนร่วมดูแลการศึกษาเป็นอย่างดี 
            ผู้บริหารและครูจะมีความรับผิดชอบสูง  ในโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่ทั้งการสอนและการบริหาร  ครูจะทิ้งห้องสอนไม่ได้  ถ้าจำเป็นต้องไปอบรมจะต้องจ้างคนอื่นสอนแทน 
         
นอกจากนี้เขายังมีหน่วยงานดูแลช่วยเหลือครูทั้งในเรื่องทำสื่อ และเครื่องมือประเมินผลที่จำเป็น ซึ่งระบบจะนำไปช่วยวิเคราะห์ให้   แต่สื่อการสอนทั่วๆไปครูจะต้องทำขึ้นเอง  ครูไม่ต้องไปทำงานธุรการหรืองานอื่นที่ไม่ใช่การสอน  จึงทำให้ครูมีเวลาเตรียมการสอนและจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                โรงเรียนส่วนใหญ่จะจัดห้องเรียนคละชั้นผสมผสานตามกลุ่มอายุและตามความสามารถ (multi-grade)โดยการรวมชั้น เช่น
Year 1 กับ Year 2  Year 3 กับ Year 4  Year 4 กับ Year 5 เป็นต้น โดยหากมีนักเรียน ๒๕ คน จะมีผู้บริหารและครู เพียง ๑ คน โดยผู้บริหารจะมีเวลาว่างสัปดาห์ละ ๑/๒ วัน เพื่อทำงานบริหาร และในช่วงเวลานั้นรัฐจะจัดครูมาช่วย หากมี ๓๐ คน จะมีครูมาช่วยอีก ๑ คน ต่อเมื่อมี ๓๖ คน จึงมีครู (รวมผู้บริหารด้วย) เป็น ๓ คนจึงต้องจัดการเรียนการสอนเป็นแบบคละชั้น 
              การจัดการเรียนการสอนใน
Year 1-8  จะเน้นและให้ความสำคัญกับ การอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น (Litteracy and Numeracy) และใช้กิจกรรม ศิลปะ ดนตรี และกีฬา เป็นแกนในการบูรณาการการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ  เด็กจึงไม่เครียดกับการเรียน 
             ขนาดของห้องเรียนจะมีนักเรียนไม่เกิน 25 คน ครูจึงสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างดีและทั่วถึง  ถ้าครูใหญ่มีงานล้นมือเกินไปก็สามารถจ้างคนอื่นมาช่วยได้  เขาจะมีความคล่องตัวในการเลือกจ้างครูสูง
              ประเภทของโรงเรียน แบ่งได้ดังนี้
              1.
Primary School  สำหรับเด็กอายุ 5-10 ปี หรือ 5-12 ปี
              2.
Intermediate School  สำหรับเด็กอายุ 11 และ 12 ปี
              3.
Secondary School  สำหรับเด็ก 13-19 ปี
              4.
Composite School  เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนทั้งประถมและมัธยมในโรงเรียนเดียวกัน
             5.
Kura Kaupapa Maori  เป็นโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาเมารี
             6.
Special School  เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กที่ต้องให้บริการพิเศษ เช่น  Correspondence School ที่ให้การศึกษาทางไกล หรือให้การศึกษาสำหรับเด็กทุกประเภท เช่น ต้องติดตามพ่อแม่ ผู้ปกครอง  เด็กถูกทอดทิ้ง  เด็กชาวเกาะ เป็นต้น
             7.
Integrated School  คล้ายโรงเรียนในกำกับของรัฐ ที่ดูแลด้วยตนเองส่วนหนึ่งและรัฐเข้าไปสนับสนุนส่วนหนึ่ง ซึ่งมีหลากหลายประเภท
             8.
Private School  คือโรงเรียนเอกชน
        หน่วยงานสำคัญที่ช่วยดูแลคุณภาพการศึกษาให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ
(MOE) เช่น            
            
1.
Education Review Office (ERO) เป็นหน่วยงานประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก คล้าย สมศ.ของเรา แต่มีมาตรการควบคุมคุณภาพที่จริงจังและเป็นระบบ
             2.
New Zealand Qualification Authority (NZQA) เป็นหน่วยงานประเมินผลคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนระดับชาติ คล้ายสำนักทดสอบทางการศึกษา(สทศ.)ของเรา
             3.
New Zealand Teacher Council (NZTC) เป็นสภาวิชาชีพครู คนที่มาเป็นครูต้องผ่านการลงทะเบียนที่หน่วยงานนี้
            

หมายเลขบันทึก: 130546เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

           ชั้น ป.1 ถึง ป. 3 ของเราควรทำแบบนี้บ้าง

          การจัดการเรียนการสอนใน Year 1-8  จะเน้นและให้ความสำคัญกับ การอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น (Litteracy and Numeracy) และใช้กิจกรรม ศิลปะ ดนตรี และกีฬา เป็นแกนในการบูรณาการการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ  เด็กจึงไม่เครียดกับการเรียน 

                เพราะสังเกตุดูทุกวันนี้เราเรียนตั้ง 8 สาระและ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทำให้เด็กเล็ก ๆ รับไม่ไหว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท