ส่งเรียงความคะ(อันใหม่ค่ะ)


"วิทยากรในการฝึกอบรม"

วิทยากรในการฝึกอบรม

       ในการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลหรือหน่วยงานให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นนั้นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การจัดการฝึกอบรมบรรลุผลสมความมุ่งหมายได้ก็คือ การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เพราะเทคนิคการฝึกอบรมจะเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมเทคนิคการฝึกอบรมแต่ละวิธี มีลักษณะต่างแตกกันออกไป การเลือกเทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสมสำหรับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ จึงเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อประสิทธิผลในการฝึกอบรมแต่ละครั้งผู้ที่เป็นวิทยากรจำเป็นต้องศึกษาลักษณะวิธีการฝึกอบรมแต่ละวิธี พร้อมทั้งข้อดีและข้อจำกัดจากการใช้วิธีนั้นๆ เพื่อพิจารณาตัดสินใจเลือกวิธีการฝึกอบรม

      การเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่หรือวิทยากรฝึกอบรมฉะนั้นในการเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรม จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. พิจารณาถึงความเหมาะสมของเทคนิคที่จะนำมาใช้ คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะของหัวข้อวิชาและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนานั้นๆ ด้วย
  2. พิจารณาถึงขนาดของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า มีมากน้อยเพียงใดลักษณะของการฝึกอบรมนั้นเป็นประการใดควรจะแบ่งกลุ่มย่อยหรือไม่ กลุ่มละเท่าใดแล้วเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เหมาะสม
  3. พิจารณาถึงลักษณะของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีพื้นฐานความรู้ความชำนาญประสบการณ์แตกต่างหรือคล้ายคลึงกันควรเลือกใช้เทคนิคการฝึกอบรมแบบใดจึงเหมาะสมและอำนวยประโยชน์สูงสุด
  4. พิจารณาถึงความสามารถ ความคุ้นเคย ต่อเทคนิคการฝึกอบรมที่จะนำไปใช้ว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคุ้นเคยต่อวิธีนั้นๆหรือไม่
  5. พิจารณาถึงเวลาและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ว่า มีเวลาเพียงพอและสะดวกแก่การจัดหาหรือไม่
  6. พิจารณาถึงงบประมาณที่มีอยู่ กับค่าใช้จ่ายที่จะต้องจัดทำ เพียงพอหรือไม่
  7. พิจารณาและประเมิณค่าเกี่ยวกับทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่าเป็นอย่างไรมีปฎิกิรยาไปในทางต่อต้าน ขัดขืน เฉื่อยชา เฉยเมย หรือขวนขวายใคร่รู้ในวิชาการใหม่ๆ

ทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความสำคัยต่อการเลือกสรรเทคนิคการฝึกอบรมมากจึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญประการนี้

 

 

ประเภทของเทคนิคการฝึกอบรม

เทคนิคการฝึกอบรมที่ใช้ในการฝึกอบรมโดยทั่วไปมีหลายด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ให้สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทคือ

  1. ประเภทการบรรยายและอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เทคนิคการอบรมประเภทนี้ได้แก่ การบรรยายหรือปาฐกถา การบรรยายเป็นชุด การอภิปรายเป็นคณะเป็นต้น
  2. เทคนิคการอบรมประเภทนี้ได้แก่ การบรรยายหรือปาฐกถา การบรรยายเป็นชุด การอภิปรายเป็นคณะเป็นต้น
  3. ประเภทให้ผู้รับการฝึกอบรมมีบทบาทร่วม เช่น สัมมนา การอภิปรายกลุ่ม การระดมความคิด การแสดงบทบาทสมมุติ การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นต้น
  4. เช่น สัมมนา การอภิปรายกลุ่ม การระดมความคิด การแสดงบทบาทสมมุติ การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นต้น
  5. ประเภทพัฒนาเฉพาะตัวบุคคล ผู้เข้าอบรมสามารถปรับให้เข้ากับระดับความสามารถในการเรียนรู้ และตามความสะดวกของตนเองได้ เช่น การสอนแบบสำเร็จรูป การสอนแนะนำเป็นต้น
  6. ผู้เข้าอบรมสามารถปรับให้เข้ากับระดับความสามารถในการเรียนรู้ และตามความสะดวกของตนเองได้ เช่น การสอนแบบสำเร็จรูป การสอนแนะนำเป็นต้น

    4. ประเภทใช้สื่อในการอบรม เป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง

บทบาทของวิทยากร

วิทยากรเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการฝึกอบรม เพราะวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้ ทักษะและทัศนะคติต่าง ๆ แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฉะนั้น วิทยากรในฐานะเป็นผู้ให้จำเป็นจะต้องมีบทบาทต่อการฝึกอบรม ดังนี้

ก.บทบาทของวิทยากรก่อนการฝึกอบรม

  1. ช่วยเหลือผู้อำนวยการฝึกอบรมในการประเมินหาความจำเป็นในการฝึกอบรม
  2. ให้คำแนะนำแก่ผู้อำนวยการฝึกอบรมในการจัดวางแผนการจัดฝึกอบรม ในหัวข้อรายวิชาต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ
  3. ศึกษากลุ่มผู้เข้ารับการอบรมเพื่อกำหนดขอบเขตของเนื้อหาวิชาเเละตัวอย่างที่เหมาะสม
  4. เลือกวิชาการอบรมหรือเทคนิคที่ใช้ในการอบรมของเเต่ละรายวิชา
  5. จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ สำหรับเเจกเเก่ผู้เข้ารับการอบรม

ข.บทบาทของวิทยากรในขณะการทำการฝึกอบรม

  1. สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้
  2. สังเกตความรู้สึกของผู้เข้ารับการอบรมอย่างระมัดระวังเเละจริงจัง
  3. ตรงต่อเวลา
  4. ให้เกียรติเเละยกย่องผู้เข้ารับการอบรม

 

คุณสมบัติของวิทยากร

ผู้จัดการฝึกอบรมซึ่งทำหน้าที่ติดต่อวิทยากร ควรจะได้พิจารณาการเลือกวิทยากรที่จะให้ประโยชน์เเก่ท่าน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. 1.เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในหัวข้อวิชาที่กำหนด หรือในวิชาเเขนงนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเชิญมาเเล้วจะสมารถให้ความคิดเห็นทั้งในด้านเนื้อหาเทคนิคเเละการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

2. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อจะได้ประสบการณ์ต่าง ๆ มาถ่ายถอดให้เเก่ผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี เคยดูงานเเละเป็นผู้ที่วงการนั้น ๆ ยอมรับ ในความสามารถในการทำงานเป็นอย่างดี

3. เป็นผู้ที่คนในวงการนั้น ๆ รู้จักดี เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง สามารถเข้าถึงจิตใจของผู้เข้ารับการ อบรมได้

4. เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

5. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสอน เเละใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ ได้

                    6.เป็นผู้ที่สนใจทางวิชาการ เป็นคนทันสมัย

การตรียมตัวเป็นวิทยากรที่ดี

ผู้อำนวยการฝึกอบรม เเละเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมบางท่าน ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรฉะนั้น ในฐานะที่เป็นวิทยากร ควรจะมีการเตรียมตัวหรือปฏิบัติดังนี้

1. สังเกตความสนใจของผู้ฟังก่อนจะเริ่มต้นพูดหรือบรรยาย

  1. เตรียมเรื่องราว หรือเนื้อหาที่จะพูด หรือบรรยายให้เรียบร้อย
  2. พยายามพูดหรือบรรยายให้ตรงจุด ไม่อ้อมค้อมเเละชัดเจน
  3. เลือกใช้คำหรือศัพท์ธรรมดา เเต่มีความชัดเจน
  4. ในขณะพูดหรือบรรยายควรสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง เเละพยายามปรับให้เข้ากับสถาน การณ์
  5. พยายามดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง โดยใช้สายตากวาดดูทั่วทั้งห้อง
  6. การพูดที่ดี ควรจะมีหัวข้อการในทางการพูดหรือบรรยายไว้ด้วย
  7. ถ้าหากลืมพูดบางสิ่งบางอย่างไปบ้าง อย่านำสิ่งเหล่านี้ กลับมาพูดในตอนที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ควรเก็บไว้ตอนสรุป
  8. อย่าเรียกร้องความสนใจของผู้ฟังด้วยการพูดนอกเรื่อง
  9. ต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่จะพูด
  10. ต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
  11. พยายามพูดให้เสียงดังพอสมควร พอที่ทุกคนจะได้ยินเสียงชัดเจน
  12. หลีกเลี่ยงการเเสดงออกที่ถือว่า เป็นการสร้างความขัดเเย้งกับวัตถุประสงค์ของการพูดเมื่อ

การพูดหรือบรรยายจบลงเเล้ว วิทยากรที่ดีควรเปิดโอกาศให้ผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมประชุมฟังคำบรรยายเเละซักถามข้อสงสัยเพื่อวิทยากรจะได้ชี้เเจงให้ทราบในที่ประชุม

การคัดเลือกวิทยากร

  • มีความรู้ เเละประสบการณ์ในหัวข้อวิชาที่จะบรรยายหรือไม่
  • มีความสามารถในการถ่ายถอดความรู้ เเละประสบการณ์ในหัวข้อวิชาที่ตะบรรยายได้ดีเพียงไร ฯลฯ
  • กระบวนการดำเนินการฝึกอบรม (Process)

    มีสิ่งสำคัญที่ควรได้รับการพิจารณา หรือตรวจสอบ คือ

    1. วิทยากร

    • มีการชี้เเจงวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทราบหรือไม่
    • มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชานั้นหรือไม่
    • มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้เเก่ผู้ฟังให้เข้าใจเพียงไร ฯลฯ

    2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

    • สนใจ เเละเอาใจใส่ต่อการฝึกอบรมหรือไม่
    • มีการซักถาม เเสดงความคิดเห็น เเละ/หรือให้ความร่วมมือต่าง ๆ ในระหว่างการฝึกอบรมหรือไม่ ฯลฯ

    3. เอกสารประกอบการบรรยาย

    • เเต่ละวิชามีเอกสารประกอบการบรรยายหรือไม่
    • เนื้อหาสาระของเอกสารประกอบการบรรยายสอดคล้อง เเละสนับสนุนกับวัตถุประสงค์หลักของหัวข้อวิชานั้น ๆ หรือไม่ ฯลฯ

    4 .สภาพเเวดล้อม เเละสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

    • การจัดสถานที่ฝึกอบรม รวมถึงโต๊ะ เก้าอี้ เหมาะสมหรือไม่
    • อุณหภูมิ เเละการถ่ายเทอากาศเหมาะสมหรือไม่
    • อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการฝึกอบรม มีเพียงพอหรือไม่ ฯลฯ

วิทยากร

จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการทุกประการ เช่น มีความรอบรู้ เเละประสบการณ์ในเนื้อหาวิชาที่จะบรรยายเป็นอย่างดี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เเละได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปในเรื่องที่จะบรรยายนั้น เเละมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เเละประสบการในเรื่องที่จะบรรยายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในระหว่างการฝึกอบรมหัวข้อวิชาดังกล่าว วิทยากรจะต้องนำเสนอเนื้อหาสาระต่าง ๆ ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ เเละขอบเขตของหัวข้อวิชานั้น ตามที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมนั้น เเละสามารถถ่ายทอดความรู้ เเละประสบการโดยใช้เทคนิคการฝึกอบรมต่าง ๆ ที่ดีเเละเหมาะสมกับ…..
  • วัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชานั้น
  • ขอบเขตเนื้อหาวิชานั้น
  • ระยะเวลาของหัวข้อวิชานั้น
  • ลักษณะของกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมนั้น (เช่น อายุตัว อายุการทำงาน เพศ พื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ตำเเหน่ง หน้าที่ปัจจุบัน ฯลฯ)
  • ขนาดหรือจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  • ขนาดของห้องฝึกอบรม

เเละที่สำคัญ คือ วิทยากรจะต้งเตรียมตัวสำหรับการบรรยายหรือการนำเสนอหัวข้อวิชาดังกล่าวเป็นอย่างดี เพื่อบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนั้น

การคัดเลือกวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการอบรม

หลักการเรื่องนี้เน้นหนักในเรื่องวิทยากรที่จะเชิญมาบรรยายหรือครูผู้ฝึกที่จะเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม มิใช่พิจารณาเเต่ทรงคุณวุฒิเพียงด้านเดียว เเต่ควรพิจารณาถึงความสามารถในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมมีประสบการณ์มีกลวิธีในการถ่ายทอดความรู้สอนตรงตามหัวข้อ เเละรายละเอียดของวิชา มิใช่สอนตามใจชอบ สามารถเพิ่มเติมความรู้เเละประสบการณ์เกิดการเปลี่ยนเเปลงเชิงพฤติกรรมในตัวผู้เข้ารับการอบรม เเต่ต้องทำอย่างเป็นความลับหรือจากคำเเนะนำของผู้จัดการฝึกอบรมคนอื่น ๆ ที่ช่วยเเนะนำให้ว่าเป็นวิทยากรที่มีคุณภาพ

การสอนใรการฝึกอบรมต่างกับการสอนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เราคงจะเคยฟังการบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิ เเต่มิได้ฝึกเทคนิคในการเป็นวิทยากรฝึกอบรมสอนวกวน ไม่เข้าประเด็น เกิดการสับสน ชวนเบื่อหน่ายเเละง่วงนอน สอนเรื่องง่าย ๆ ให้เป็นเรื่องยาก สอนไม่ครบไม่เต็มตามรายละเอียดวิชา มาสาย เจ้าอารมณ์ การสรรหาวิทยากรที่ดี จึงมีความจำเป็นการฝึกอบรมอย่างยิ่ง

วิทยากรที่ไม่ดีเพียงคนหรือสิงคน อาจสร้างความล้มเหลวให้กับโครงการฝึกอบรม หรือเกิดความปั่นป่วนขึ้นได้

วิทยากรฝึกอบรมที่มีความสามารถ

  • การคัดเลือกวิทยากรที่มีความสามารถในการทถ่ายทอด มีประสบการณ์เพียงพอ มีทักษะในการสอน
  • ความรู้ความสามารถในวิชาการ
  • ความตั้งใจในการสอน การถ่ายทอด
  • ทัศนคติต่อการสอนการอบรม
  • ความรู้สึกต่อวิชาที่สอน
  • ความรับผิดชอบในการอบรม (ขยัน เกียจคร้าน ตรงต่อเวลา ตรียมการสอน ฯลฯ)
  • ทัศนคติ เเนวความคิด ค่านิยม
  • พฤติกรรมของวิทยากร บุคลิกภาพ
  • ความพร้อมเเละคุณภาพของผู้สอน
  • ความรู้สึกในวิชาที่สอน เป็นที่ยอมรับ
  • วิธีการเทคนิคในการสอน เเละถ่ายทอดความรู้
  • การใช้จิตวิทยาในการสร้างบรรยากาศในการฝึกอบรม
  • สัมพันธ์ภาพ เเละมนุษย์สัมพันธ์กับผู้เข้ารับการอบรมกับวิทยากร
  • โต้เเย้ง ยืนการน ตอบโต้ วิพากษ์วิจารณ์ ให้เกิดความขัดเเย้ง ไม่เเนบเนียน ไม่ลงลอย
  • การใช้อุปกรณ์ โสดทัศน์ ประกอบการสอน เเละการใช้อย่างมีทักษะ
  • ภูมิหลัง เช่น

    เช่น
    • อายุ เพศ
    • พื้นฐานความรู้ วุฒิ สถาบันการศึกษา
    • พื้นฐานครอบครัว ความประพฤติ
    • ตำเเหน่งหน้าที่การงาน

บทบาทและหน้าที่ของวิทยากร

บทบาทและหน้าที่ของวิทยากรในยุคปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงจากผู้สอนเป็นอำนวยความสะดวก กล่าวคือ วิทยากรจะมีบทบาทและหน้าที่ 4 อย่าง คือ

1. ยั่วยุ ได้แก่ พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์แก่ผู้เรียน เช่น การท้าทาย กดดัน การผ่อนคลาย การทำตัวเป็นตัวอย่าง เป็นการทำให้เกิดการตอบสนอง

ยั่วยุได้แก่ พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์แก่ผู้เรียน เช่น การท้าทาย กดดัน การผ่อนคลาย การทำตัวเป็นตัวอย่าง เป็นการทำให้เกิดการตอบสนอง

2. ดูแล ได้แก่ การสร้างบรรยายกาศความสัมพันธ์อย่างอบอุ่นแก่สมาชิก ซึ่งได้แก่ การยอมรับ การเข้าใจ การสนับสนุน ให้กำลังใจและการสร้างความสนินสนม

ดูแล ได้แก่ การสร้างบรรยายกาศความสัมพันธ์อย่างอบอุ่นแก่สมาชิก ซึ่งได้แก่ การยอมรับ การเข้าใจ การสนับสนุน ให้กำลังใจและการสร้างความสนินสนม

3. อธิบาย ได้แก่ พฤติกรรมที่จะทำให้สมาชิกเกิดความเข้าใจ การแสดงความคิดเห็น การแปลความ การขยายความ และการเชื่อมโยง

อธิบาย ได้แก่ พฤติกรรมที่จะทำให้สมาชิกเกิดความเข้าใจ การแสดงความคิดเห็น การแปลความ การขยายความ และการเชื่อมโยง

4. จัดการ ได้แก่ พฤติกรรมการจัดการให้มีกิจกรรมหรือหยุดกิจกรรม เช่น รักษากติกา กำหนดมาตรฐาน แนะนำ สกัด หยุดยั้ง และการสั่งการ

จัดการ ได้แก่ พฤติกรรมการจัดการให้มีกิจกรรมหรือหยุดกิจกรรม เช่น รักษากติกา กำหนดมาตรฐาน แนะนำ สกัด หยุดยั้ง และการสั่งการ

หน้าที่ เหล่านี้ ผู้สอนหรือวิทยากรจะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบตามแผนหรือกระบวนการที่วางไว้ เพื่อช่วยให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

หน้าที่ เหล่านี้ ผู้สอนหรือวิทยากรจะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบตามแผนหรือกระบวนการที่วางไว้ เพื่อช่วยให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

คุณสมบัติที่จำเป็นของวิทยากร

  1. ต้องรู้ซึ้งถึงแก่นและแม่นย่ำ
  2. วิทยากรจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่รับผิดชอบอย่างเจาะลึกถึงแก่นและต้องทันสมัยทันเหตุการณ์

    อยู่ตลอดเวลา สามารถประยุตก์ความรู้ลงสู่การปฎิบัติที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ข้อมูลอ้างอิงเชื่อถือได้สนิทใจ

  3. นำเสนอข้อมูล มิใช่สอน
  4. กระบวนการหรือเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะเป็นจุดเชื่อมกระทบ ต่อการรับรู้ ผู้ใหญ่มีความละเอียดอ่อน และเปราะบางในความรู้สึก เมื่อใดก็ตามที่มีการไปกระทบอัตตาของเขาแล้วเขาจะปิดประสาทการรับรู้ทันทีพร้อมกันนั้นจะสร้างปราการต่อต้านขึ้นมาแทน เพราะฉะนั้นกระบวนการถ่ายทอดของวิทยากรจะต้องเป็นไปในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้พิจารณา และเปิดโอกาสให้เขาได้เผยอัตตาออกมา โดยนำประสบการณ์ของตนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมอภิปราย

  5. ความแน่นอน ความรัก ความจริงใจ
  6. วิทยากรจะต้องมีอารมณ์อันมั่นคงแน่นอนไม่โลเลไปตามข้อเสนอของสมาชิกจนสูญสิ้นความเป็นตัวของตัวเอง แต่ทั้งนี้หมายถึงยืดหยุ่นได้ในบางโอกาส เพราะกิจกรรมหรือข้อมูลทั้งหลายได้ผ่านการวางแผนมาอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันวิทยากรก็จะมีความรักความจริงใจต่อสมาชิกแล้วพฤติกรมที่แสดงออกไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือท่าทางจะไม่ขัดเขินและเป็นธรรมชาติ เป็นไปในลักษณะของการอ่อนน้อมและอ่อนโยน มิใช่ถ่อมตนจนหมดความภาคภูมิ

  7. มีนิสัยชอบคิดสร้างสรรค์
  8. วิทยากรจะต้องเป็นคนช่างคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ที่ผู้เข้ารับการอบรมมิสามารถคาดเดาได้ถูกต้อง และเมื่อเปิดเผยออกมาก็จะได้รับความพึงพอใจ ทึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นสื่อนำไปสู่เป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ การสร้างนิสัยชอบคิดสร้างสรรค์ทำได้โดยเมื่อจะทำสิ่งใดที่ซ้ำซากจำเจ น่าเบื่อหน่ายให้หยุดคิดและท่องคาถาให้ขึ้นใจว่า “จะต้องมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าเสมอ ถ้าจะยอมเสียเวลาคิดสักนิด”

    วิทยากรจะต้องมีความยืดหยุ่นสูง และความคิดลอยตัวพร้อมที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และปัญหาเฉพาะหน้าทุกรูปแบบได้อย่างนิ่มนวลแต่ไม่เสียหลักการ

     

    ประเด็นที่วิทยากรควรพิจารณา

    การจะเป็นวิทยากรที่ดีนั้นเป็นได้ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปสามารถฝึกฝนได้ เพียงแค่ขอให้มีความตั้งใจจริงหมั่นสังเกตและพัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ

    1. กลุ่มเป้าหมาย
    2. วิทยากรควรจะพิถีพิถันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนยิ่งละเอียดยิ่งดี เพื่อประสิทธิภาพในการวางแผนจัดกิจกรรม เช่น

      ก. เพศ เพศชายหรือหญิง สัดส่วนของเพศก็เป็นตัวแปรประการสำคัญที่วิทยากรจะนำไปพิจารณาในการวางแผนกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อความรู้สึก วัฒนธรรม ความรุนแรง รวดเร็ว ตลอดจนภาพหรือตัวอย่างประกอบอื่นๆ

       ข. วัย แนวโน้มของกลุ่มที่อยู่ในวัยใด เช่น วัยหนุ่มสาว วัยกลางคนสูงอายุและมีสัด ส่วนอย่างไร

    1. เวลา
    2. ก. มากหรือน้อย วิทยากรจะต้องยึดถือเวลาตามตารางเป็นเกณฑ์อย่างเคร่งครัดการบริหารเวลาที่มีประสิทธิ์ภาพจะสร้างภาพพจน์ที่ดี นาที กิจกรรมอาจประกอบด้วย 1 หรือ 2 กิจกรรม แต่ถ้ามีเวลาเกิน 30 นาทีแล้ว ควรจะมีรูปแบบของกิจกรรมที่เปลี่ยนไปทุก 30 นาที เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากน่าเบื่อหน่าย

    1. เช้า สาย บ่าย ค่ำ วิทยากรควรจะพิจารณาด้วยว่ากิจกรรมลักษณะใดที่จะเหมาะสมในช่วงเวลาใด เช่น
    2. วิทยากรควรจะพิจารณาด้วยว่ากิจกรรมลักษณะใดที่จะเหมาะสมในช่วงเวลาใด เช่น

    เช้า ::: กิจกรรมจัดได้หลายรูปแบบเพราะร่างกายและจิตใจมีความพร้อมสูง

    สาย บ่าย ค่ำ ::: วิทยากรจะต้องพิจารณาเป็นพิเศษเพราะช่วงเวลาที่เริ่มจะล้าสมอง กิจกรรมควรจะเป็นกิจกรรมย่อยๆ หลากหลาย มีความเคลื่อนไหว สลับปรับเปลี่ยนกระชับ ไม่ยือยาดเยิ่นเย้ย รอยต่อระหว่างกิจกรรมมีการเชื่อมโยงชวนให้ติดตามตลอดเวลา

    1. สถานที่
    2. ถ้าเป็นไปได้ วิทยากรควรจะเลือกใช้ห้องที่มีขนาดกว้างพอเหมาะ พอที่จะจัดกิจกรรมได้สะดวกเพราะจะต้องอาศัยพื้นที่สำหรับการเคลื่อนไหว แบ่งกลุ่ม ประชุม และอภิปราย ถ้าจะมีโต๊ะก็ควรจะเป็นโต๊ะที่ยกเคลื่อนที่ได้ แต่ถ้ามีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ไม่สามารถจัดหาได้ดังกล่าว วิทยากรก็ควรเลือกหรือปรับกิจกรรมให้สามารถใช้พื้นที่ที่จำกัดนั้นให้ได้ ดังนั้นวิทยากรต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ให้ชัดเจนเสียก่อน

    3. เครื่องอำนวยความสะดวก
    4. ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ามาก วิทยากรจะต้องก้าวให้ทัน และพยายามนำออกมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรม ซึ่งสามารถทุ่นเวลาและช่วยในการสื่อสารให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เครื่องฉายแผ่นใส สไลด์ วีดีโอเทป ฯลฯ วิทยากรควรจะต้องศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้อง และทดลองก่อนทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณีต่างๆ อยู่ในตำแหน่งและสภาพที่ใช้การได้ หรือถ้ามีอะไรขัดข้องจะแก้ไขได้ทัน แต่อย่างไรก็ดี วิทยากรที่รอบคอบนั้นจะต้องเตรียมกิจกรรมสำรองที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องอำนวยความสะดวกดังกล่าวไว้ด้วย เพื่อป้องกันแก้ปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์เหล่านั้นเช่น หลอดขาด ไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น

    5. ลักษณะกิจกรรมที่มีประสิทธิ์ภาพ
    6. ลักษณะของกิจกรรมที่จัดเป็นบันไดเชื่อมที่สำคัญที่จะทำให้การจัดกิจกรรมครั้งนั้นสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์หรือประสบความล้มเหลวเพราะฉะนั้น วิทยากรจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และมีการทบทวนปรับปรุงทั้งก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ลักษณะที่มีประสิทธิ์ภาพของการจัดกิจกรรม มีหลักการยึดได้เป็นเกณฑ์ดังนี้

    1. แต่ละขั้นตอนมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงอย่างครบถ้วน
    2. มีความหลากหลายในรูปแบบและกระชับ
    3. มีสถานการณ์แข่งขันเชิงสร้างสรรค์ ลักษณะขยายฐานสร้างยอดชนะด้วยกันในที่สุด
    4. ทุกคนมีโอกาสแสดงออกอย่างทั่วถึง
    5. มีความสนุกสนานที่เหมาะสม
    6. ได้สาระประโยชน์เสริมส่งเนื้อหาหรือกระบวนการของโครงการ
    7. มีความทาทายให้เข้าร่วมกิจกรรม และใช้แรงเสริมทางบวกจากผลงานเป็นสิ่งยั่วยุจูงใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13042เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2006 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณสำหรับการสรุปภาพรวมที่กระชับและได้ประโยชน์มากค่ะ ดิฉันต้องเป็นวิทยากรค่อนข้างบ่อย เลยได้เกร็ดที่จะช่วยพัฒนาและใช้เตือนตนเองในการทำหน้าที่นี้ค่ะ
คุณเอาข้อมูลมาจากไหน? บรรณานุกรมจำเป็นต่อการเขียนรายงานและให้เกียรติแก่ผู้เขียน

ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบต่าง ๆ ในการฝึกอบรม,การเลือกวิธีการฝึกอบรม,การจัดสถานที่ในการฝึกอบรมในแต่ละแบบทั้งภายในภายนอกอาคาร,วัสดุ อุปกาณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ กรุณาส่งเมล์มาให้ด้วยนะคะ เพราะจะต้องใช้ทำรายงานด่วน

ไม่เห็นมีบรรณานุกรมจิงๆด้วยค่ะ ควรจะมีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท