มิจฉาทิฐิ และ สัมมาทิฐิ ของคนไทย


"มิจฉาทิฐิ" ก่อให้เกิด "ลัทธิอุปถัมภ์อำนาจนิยม", สัมมาทิฐิ ก่อให้เกิด "ลัทธิสิทธิมนุษยชน"

          ถ้าพิจารณาดูกันให้ดี เราจะพบว่าคนไทยจำนวนมากยังมีมิจฉาทิฐิซึ่งเป็นความเชื่อที่ก่อให้เกิดผลในทางลบอยู่ 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ คนไทยไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาในความสามารถหรือสติปัญญาของตนเอง และคนไทยไม่เชื่อว่าคนไทยทุกคนเท่าเทียมกัน ความเชื่อทั้ง 2 ได้ก่อให้เกิดลัทธิหนึ่งซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่า "ลัทธิอุปถัมภ์อำนาจนิยม" ลัทธิอุปถัมภ์อำนาจนิยมนี้มีลักษณะสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้คือ

          1. ยอมรับว่าการส่งส่วย การบนบานสานกล่าวนั้น เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมี

          2. ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินและอำนาจ

          3. ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตนและพวก
 
          4. เอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น
 
          5. วิธีแก้ปัญหามักเริ่มต้นจากสิ่งภายนอกก่อน

          6. คิดแทนทำแทน

          7. คิดว่าทำไม่ได้ ไม่ให้ทำ

          8. การให้ความช่วยเหลือคนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ใช้หลักเมตตาธรรม และเวทนานิยม

          9. เมื่อทำผิดกฎหมาย คิดได้แต่เรื่องลงโทษ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง หรือปรับ

     รศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เขียนเรื่องอุปถัมภ์อำนาจนิยม และสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ไว้ และผมอ่านแล้วย่อเอามาฝากไว้ (ท่านเข้าไปอ่านฉบับเต็มได้ตามที่ทำ link ไว้ครับ) ท่านบอกต่อว่า...

          อย่างไรก็ตาม คนไทยอีกกลุ่มหนึ่งยังมีความเชื่อที่เป็นสัมมาทิฐิ เป็นความเชื่อที่ก่อให้เกิดผลในทางบวก หรือในทางที่สร้างสรรค์ ความเชื่อที่เป็นสัมมาทิฐินี้ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่เป็นมิจฉาทิฐิ กล่าวคือคนไทยกลุ่มนี้มีความเชื่อใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ มีความเชื่อว่าคนไทยนั้นมีสติปัญญา และ มีความเชื่อว่าคนไทยทุกคนเท่าเทียมกัน ความเชื่อทั้ง 2 นี่เองที่ก่อให้เกิด "สัทธิสิทธิมนุษยชน" และทำให้มีลักษณะสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

          1. ถือเอาผลงานเป็นหลัก

          2. ทำทุกอย่างให้สมองโต

          3. ต้องมีความรับผิดชอบ

          4. การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากตนเองก่อน

          5. หากเขาคิดว่า เขาทำได้ส่งเสริมให้ทำ

          6. มีการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาของตน

          7. ทำทุกอย่างเพื่อทุกคน

          8. ร่วมกันทำงานอย่างผู้เป็นหุ้นส่วน

          9. การช่วยเหลือคนพิการและผู้ด้อยโอกาส มีกฏหมายกำหนดให้เป็นสิทธิของเขาและถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาล

          10. แม้ทำผิดต้องลงโทษอย่างสร้างสรรค์

หมายเลขบันทึก: 13041เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2006 00:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท