หน่อไม้ฝรั่งนครปฐม


เทคนิกการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

                           

P1160460

การจัดการความรู้ (Knowledge-Management)เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน.................................                        โครงการส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน     ในจังหวัดนครปฐม  เริ่มต้นจากโครงการส่งเสริมการปลูกหน่อไม้ฝรั่งแบบครบวงจร  ใช้ระบบการซื้อขายมีสัญญาตามระบบตลาดข้อตกลงล่วงหน้าเมื่อ  ปีพ.ศ.2530  โดยมีอดีตเกษตรจังหวัดนครปฐม  นายบุญครอง  นครศรี เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการส่งเสริม                        ในอดีตที่ผ่านมานั้นความรู้เรื่องการปลูกหน่อไม้ฝรั่งยังมีไม่มากนัก  ต้องอาศัยความรู้ที่ได้จากผู้รู้จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่น ท่านอาจารย์ธวัช ลวเปาระยะ และท่านอาจารย์สมพร ทรัพย์สารและจากการศึกษาดูงานที่นิคมสหกรณ์บ้านหุบกระพง    จังหวัดเพชรบุรี       ในช่วงแรกของการส่งเสริมท่านเกษตรจังหวัดได้มอบหมายให้นักวิชาการของสำนักงานเกษตรจังหวัด  2  ท่าน  ดำเนินการเขียนเป็นตำราการปลูกหน่อไม้ฝรั่งพร้อมให้มีการบันทึกการปฏิบัติกับหน่อไม้ฝรั่งควบคู่ไปด้วย  สำหรับเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของจังหวัดนครปฐม   ฉบับนี้ได้จากการจัดการความรู้ในระดับเกษตรกร  มีเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากอำเภอที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งและเจ้าหน้าที่ที่มาให้ความรู้  ซึ่งขอสรุปให้ทราบดังนี้                       

การเตรียมดิน  ก่อนจะไถดะให้นำปุ๋ยคอก  เช่น  มูลวัว  มูลไก่  นำไปใส่ในพื้นที่แล้วให้รถไถทำการไถคลุกเคล้าไปให้ทั่วพื้นที่  ตากกินไว้ให้แห้งประมาณ  15  วัน  แล้วไถแปร                       

พันธุ์และการเตรียมพันธุ์  สำหรับเมล็ดพันธุ์ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นแม่ที่ให้หน่อดกยอดหน่อแน่น  ยอดหน่อยาว  ปล้องหน่อห่าง ให้ใช้เมล็ดจากต้นแม่ที่เป็นพันธุ์แอ็ทลาตและบล็อคอิมพรูปเท่านั้น                       

การปลูกทำได้  2  วิธี  คือ                       

1. การปลูกด้วยเมล็ด  ให้ใช้ระยะระหว่างแถว 1.35 ม.และระยะระหว่างหลุม 20  ซม.                       

2. การปลูกด้วยกล้า                           

- กล้าถุง ให้หยอดเมล็ด  1-2  เมล็ด/ถุง  ปลูกเมื่อต้นกล้าอายุได้  2.5 เดือน - 3 เดือน  โดยใช้ระยะห่างระหว่างแถว  1.35 ม. และระยะห่างระหว่างหลุม  30  ซม.                           

- กล้าต้นหรือต้นกล้าที่ได้จากการเพาะในแปลงเพาะให้ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวที่1.35 ม.  และระยะระหว่างหลุมที่ 30 ซม.  

- 2 -                                               

 การให้น้ำ     การให้น้ำกับหน่อไม้ฝรั่งที่เหมาะสมที่สุดคือการให้น้ำด้วยระบบฝนเทียมมินิสปิงเกอร์  เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุด  เวลาที่เหมาะสมคือ  หลังจากเก็บหน่อไม้ฝรั่งเสร็จ  ควรให้น้ำ                       

การให้ปุ๋ย                         

ปุ๋ยคอก                       

- มูลไก่แกลบ  หมายถึง  มูลไก่ที่มีแกลบเป็นส่วนผสม  ต้องหมัก  3  เดือน  ก่อนนำมาใช้                       

- มูลเป็ดแกลบ  หมายถึง  มูลเป็ดที่มีแกลบเป็นส่วนผสม  ต้องหมัก  3  เดือน  ก่อนนำมาใช้                       

- มูลวัวนม  ให้ใช้ในช่วงพักต้นเท่านั้น                       

- มูลสุกร  ต้องใช้ร่วมกับแกลบดิบ                       

- มูลไก่อัดเม็ด  ให้ใช้ร่วมกับแกลบดิบ                       

- ปุ๋ยหมักสำเร็จรูป  ให้ใช้ร่วมกับแกลบดิบ                       

- ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  ให้ใส่  25 กก./ไร่/10 วัน ช่วงเก็บเกี่ยวใช้สูตร  15-5-35  หรือ 

16-16-16  หรือ  14-10-30 ช่วงพักต้นใช้สูตร  30-20-0  หรือ  25-7-7  หรือ 

8-24-24  ธาตุอาหารเสริม  ให้พร้อมกับน้ำ  7 วัน/ครั้ง                       

การจัดการเรื่องโรค                          

- การใช้สารเคมีให้ใช้สารเคมีที่ทางบริษัทอนุญาตให้ใช้เท่านั้น                       

- การใช้สารชีวภัณฑ์ให้ใช้สารชีวภัณฑ์ที่ทางบริษัทอนุญาตเท่านั้น                       

- การใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าเพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคหน่อไม้ฝรั่ง  ควรใช้ดังนี้                          

1. ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหว่านบริเวณโคนต้นรอบแปลง                          

2. เชื้อไตรโคเดอร์ม่าผสมน้ำฉีดพ่น                          

3. เชื้อไตรโคเดอร์ม่าผสมน้ำ  ให้พร้อมกับการให้น้ำสปิงเกอร์                       

การจัดการเรื่องแมลง                       

- การใช้สารเคมีให้ใช้สารเคมีเฉพาะที่ทางบริษัทอนุญาตให้ใช้เท่านั้น                        - การใช้สารชีวภัณฑ์ให้ใช้สารชีวภัณฑ์  หากมีการระบาดของแมลงศัตรูพืช                       

- การใช้ศัตรูธรรมชาติต้องปล่อยแมลงตัวห้ำ ตัวเบียน เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง    

- 3 -          

การดูแลรักษาต้นแม่                       

- การขึงเชือกเพื่อกันลมโยกและไม่ให้ต้นแม่ล้ม ให้ขึงเชือก  1  ชั้นก็พอ                      

- การตัดยอดต้นแม่ให้ตัดยอดต้นแม่ช่วงต้นแม่แตกใบขิงที่ระดับความสูงต่ำกว่าหัวสปิงเกอร์ เมื่อต้นแม่อายุประมาณ  8-10  วัน  หรือไม่ต้องตัดยอดต้นแม่ก็ได้                       

- การไว้จำนวนต้นแม่/กอ  ให้ไว้ต้นแม่  4-6  ต้น/กอ                       

การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว                       

- การถอนหน่อไม้ฝรั่งให้ถอนใส่ภาชนะ  เช่น  ตะกร้า  กระป๋อง                       

- ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดส่วนโคนที่เปื้อนดิน                       

- ตัดตามขนาดความยาวที่บริษัทต้องการบนโต๊ะคัดที่มีพลาสติกหรือเสื่อน้ำมันปูพื้น ป้องกันการปนเปื้อน   

หมายเลขบันทึก: 130003เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับพี่อนันต์
  • ยินดีต้อนรับสู่ gotoknow.org
  • ขยันเขียนบันทึกมาแลกเปลี่ยนกับพวกเราชาวชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรบ่อยๆ นะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีค่ะ..คุณอนันต์
  • ยินดีต้อนรับเข้าสู่ G2K  ด้วยคนค่ะ
  • ขออนุญาตนำบล็อกเข้าสู่ แวดวงเกษตร ด้วยนะคะ
  • จะติดตามบันทึกต่อไปค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเก็บเกี่ยวข้อมูลดีๆ
  • ชวนไปร่วมชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตกด้วยค่ะ

มีความรู้ดีค่ะ

คุณอนันต์คะและกูรูทุกท่าน

อยากทราบว่าเมล็ดหน่อไม้ฝรั่งมีปัญหาการเกิดโรคหรือเปล่าคะ

และจะซื้อเมล็ดได้ที่ไหนคะ

ต้องซื้อเมล็ดพันธ์ค่ะจะทดลองปลูกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท