เมื่อพูดถึงคำว่าประเมิน หลายคนคงรู้สึกเสียว ๆ ว่าจะถูกประเมินโดยมีอคติจากผู้ถูกประเมิน แต่การทำงาน ณ วันนี้คงหลีกหนีไม่พ้นจากการถูกประเมิน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน โดยหน้าที่คงต้องทำให้ดีที่สุด และถ้าทำงานด้วยใจมีความผูกพันธ์กับหน่วยงานแล้ว ก็จะมีความสุขกับการทำงาน มากกว่าการทำงานตามหน้าที่ แง่คิดในเรื่องความสุขจากการทำงาน มี Blog ของดร.ประพนธ์ ได้รวบรวมไว้จากผู้เขียน Blog ที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีประโยชน์สำหรับคนทำงาน
วันนี้ที่ผมเขียนเรื่องการประเมิน เพราะเนื่องจากในการประกันคุณภาพในองค์ประกอบที่ 7 ดัชนีที่ 7.1 โครงสร้างการบริหาร ในเกณฑ์การตัดสินที่จะสามารถผ่าน 4 ได้จะต้องมีการประเมินผู้บริหาร แต่ถึงไม่มีการประกันคุณภาพ ผู้บริหารไม่ว่าระดับไหนก็ควรจะมีการประเมิน เพื่อการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน ปีที่แล้วผมก็ปวดใจอยู่เหมือนกันที่จะต้องประเมิน ครั้งแรกที่ผมประเมินตนเอง โดยให้น้อง ๆ พี่ ๆ ในสำนักงานเลขานุการประเมิน ก็ใช้กระดาษเปล่าแจกให้กับทุกคนในสำนักงานเลขานุการ ไม่ปิดกั้นความคิด หรือกำหนดกรอบในการแสดงความคิดเห็นใด ๆ ทั้งสิ้น รู้สึกว่าได้ Tacit ของแต่ละคนเป็นอย่างดี ว่าแต่ละคนมองการทำงาน พฤติกรรมของผมอย่างไร ได้ในเรื่องของความรู้สึก ที่เขารู้สึกอย่างไร ก็เขียนออกไปอย่างนั้น พอมาปีที่แล้วปรับวิธีการประเมินของผมใหม่ โดยใช้แบบสอบถาม มีรูปแบบที่ชัดเจนขึ้น ขอมาแบ่งปันกันครับ
-
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของแบบสอบถาม แสดงสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (พยายามจะทำในรูป 360 องศา) ใช้วิธีการสำรวจข้อมูลจากบุคลากรในคณะ
กลุ่มแรก คือ ผู้บังคับบัญชา (ท่านรองคณบดีของคณะฯ)
กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ใต้บังคับบัญชา (น้อง ๆ พี่ ๆ ในสำนักงานเลขานุการ)
กลุ่มที่ 3 คือ ผู้บริการ (คณาจารย์ในคณะฯ)
-
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ (ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ)
รายละเอียด |
|
ด้านพฤติกรรมการทำงาน 1.1 ความเป็นมืออาชีพ การทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จโดย อาศัยความรู้ ความสามารถของตนเอง และความร่วมมือของผู้อื่น การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานมากกว่ากระบวนการความยืดหยุ่น ผ่อนปรน และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความรับผิดชอบ/กล้ารับ ผิดและความตรงต่อเวลา 1.2 การบริหารทรัพยากร การคำนึงถึง ความประหยัดและการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า 1.3 การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ความสนใจ ความสามารถในการแนะนำ สอนงานและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน การ สนับสนุนและการให้กำลังใจได้อย่างเหมาะสม 1.4 ความเชื่อถือไว้วางใจ / ความเอาใจใส่งาน ความเชื่อถือไว้วางใจในการ ทำงาน ความตั้งใจ อุตสาหะ เสียสละ ความขยันขันแข็ง การอุทิศตน ความกระตือรือล้นในการทำงานและติดตามงาน 1.5 การทำงานเป็นทีมและความเป็นประชาธิปไตย การแสวงหาความร่วมมือ กับผู้อื่น การประสานงาน ความร่วมมือ การรับฟังความคิดเห็นหรือข้อ เสนอแนะ ของผู้อื่นรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาและให้โอกาสในการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ 2. ด้านความรู้ความสามารถในการทำงาน 2.1 การวางแผนและจัดระบบงาน ความสามารถในการคาดการณ์ การกำหนด เป้าหมายและมาตรฐาน กำหนดวิธีปฏิบัติ การวัดผลงานตลอดจนการจัด คนให้เหมาะกับงาน 2.2 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่มเกี่ยวกับงานในหน้าที่และงานที่ ที่เกี่ยวข้อง โดยนำไปใช้ปฏิบัติให้เหมาะสมกับการเป็นผู้บริหารในยุค IT 2.3 ความรู้ความสามารถ วิธีการปฏิบัติงานในหน้าที่และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ งาน ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง 2.4 การตัดสินใจแก้ปัญหาในงาน ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ 3. ด้านบุคลิกภาพ 3.1 ภาวะผุ้นำ ความมีวิสัยทัศน์ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความกล้าที่จะเปลี่ยน แปลง การควบคุมตนเอง ความสามารถในการวางตน ความน่าเชื่อถือ ความ สามารถในการโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมมือและปฏิบัติงานตามที่ต้อง การด้วยความเต็มใจ 3.2 ความมีอัธยาศัย ความสุภาพ ความอดทน ความน่าเชื่อถือ การรู้จักกาละ เทศะ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน ผู้ใต้ บังคับบัญชา 3.3 ทักษะในการสื่อสาร ความสามารถในการสื่อความให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่าง ถูกต้อง 4. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 4.1 การครองตนและประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและคุณธรรม จริยธรรม ยุติธรรม ยึดหลักนิติธรรม โดยมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ ส่วนตน ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีพฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบหรือ ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผู้อื่นโดยเจตนา ความเป็น กัลยาณมิตร ความมีเมตตาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และ ชี้แนะในทางที่ถูกต้อง
|
|
เป็นอันว่าผมผ่านการประเมินไปเรียบร้อย ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการทำงาน ด้านความรู้ความสามารถในการทำงาน ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณธรรมจริยธรรม แต่ถ้าจะให้การประเมินในดัชนีนี้ได้คะแนนเท่ากับ 5 แต้ม จะต้องมีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการบริหารงาน (เป็นการบ้านที่จะต้องทำต่อไปครับ)
สำนักงานเลขานุการที่ไหนมีรูปแบบการประเมินที่น่าสนใจ ก็ร่วม ลปรร.กันได้นะครับ เพื่อการพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเลขานุการ
บอย
ชุมชนสำนักงานเลขานุการ