หวงแหนภาษาถิ่น วันละคำ “หมังเหมํ"


ผมเลยสำทับอีกทีว่า จะเกิด "หมังเหมํ" เป็นภาษาถิ่นพัทลุง มีพี่คนหนึ่งในที่ประชุมบอกว่า "นั่นแหละ ชัดเลย"

     "หมังเหมํ" เป็นคำพูดที่ผมไม่แน่ใจว่าใช้กันที่ไหนบ้าง แต่ที่บ้านผมชัดเจนในความหมาย เข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร ทีนี้ผมลองเอามาขยายความเป็นภาษากลางก็ไม่แน่ใจนักว่าจะให้ความหมายได้ถูกทั้งหมดหรือไม่ครับ

     "หมังเหมํ" เป็นอาการลังเล (ไม่ใช่โลเล) ว่าจะทำดี หรือไม่ทำดี เกิดจากความไม่แน่ใจว่าจะเอาอย่างไรดีเมื่อต้องตัดสินใจปฏิบัติ เน้นว่าเป็นการลงมือทำครับ ไม่ใช่แค่คิด หากเป็นความไม่แน่ใจในขั้นตอนการคิดมักไม่ค่อยเรียกว่า "หมังเหมํ" เช่น ข้อสอบข้อนี้น่าจะถูก 2 ข้อ จะเลือกอะไรดี หากจะตอบทั้ง 2 ข้อ ก็ผิดกติกาถูกปรับตก โดยส่วนเมื่อเกิดอาการ "หมังเหมํ" เราจะทำได้ 2 ลักษณะ คือ หยุดนิ่งไม่ต้องทำอะไร กับตัดสินใจเลือกแบบเสี่ยงไปเลย บางเรื่องรอได้ บางเรื่องรอไม่ได้ก็ต้องเสี่ยง

     คำนี้เกิดจากตอนวันประชุมเพื่อยกร่างแนวทางการทบทวนยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2549 ผมพูดเรื่องความชัดเจนของตัวชี้วัดว่าหากไม่ชัดแล้ว จะเกิดความลังเลของคนทำงาน แต่ดูเหมือนสมาชิกในห้องประชุมจะไม่อิน ผมเลยสำทับอีกทีว่า จะเกิด "หมังเหมํ" เป็นภาษาถิ่นพัทลุง มีพี่คนหนึ่งในที่ประชุมบอกว่า "นั่นแหละ ชัดเลย" บรรยากาศหายเครียดกันเป็นปลิดทิ้ง เลยเอามาเล่าให้ฟังครับ

     ได้ไอเดียขึ้นมา เลยเปลี่ยนชื่อเรื่อง และจะสรรหามาเล่าอีกเรื่อย ๆ เอาคำที่สะดุด ๆ ใจครับ

หมายเลขบันทึก: 12990เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2006 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท