เหตุการณ์อุบัติเหตุสายการบินที่ภูเก็ต


มีเรื่องที่ต้องวิจารณ์สื่อโทรทัศน์อีกแล้วครับ บางสถานีรายงานด้วยความตื่นเต้นสยดสยอง 

เห็นใจทางสถานีเหมือนกันที่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ยิ่งมีการรายงานสดก็ยิ่งไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย แต่ผมคิดว่าสื่อต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยครับ การรายงานข่าวสดๆ ก็ไม่จำเป็นต้อง "อิน" มากมายขนาดนี้ เรื่องนี้กลับกับเมื่อตอนช่วงแรกๆ หลังจากเกิดสึนามิขึ้นในปี 2547 (ไม่แน่ใจว่าเป็นความพยายามที่จะ "ควบคุม" จากฝั่งผู้มีอำนาจหรือไม่)

ถ้าเป็นไปได้ สถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งควรเตรียมแผนฉุกเฉินไว้เช่นกัน ซักซ้อมกันด้วยครับ อย่าปล่อยให้ว่ากันไปสดๆ ถ้าทำได้เท่าเดิม แปลว่าไม่มีการเรียนรู้ครับ

ข้อมูลเร่งด่วนที่ต้องการคือรายชื่อ เอาชีวิตคนเป็นตัวตั้งซิครับ สถานการณ์ ความคืบหน้า สาเหตุก็สำคัญ แต่ไม่สำคัญกว่าชีวิตความปลอดภัยของคน ลองนึกถึงญาติมิตรผู้โดยสารบ้าง เขาคงอยากรู้ความเป็นไปของผู้ที่เขารัก ดังนั้นหากแยกแยะได้ว่าผู้ใดปลอดภัย ผู้ใด้ป็นอะไรแล้วตอนนี้อยู่ที่ไหน ก็จะถือได้ว่าสื่อทำหน้าที่ของตัวได้ในสถานการณ์แบบนี้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #opencare#อุบัติเหตุ
หมายเลขบันทึก: 128808เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2007 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

ไม่ใช่แต่ที่สถานีโทรทัศน์ และนักข่าวที่ต้องเรียนรู้ และมี protocol ในการรายงานข่าวแบบนี้

ตัวสายการบินเอง ที่มีรายชื่อผู้โดยสาร

กัปตันคนอื่นๆ ที่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้

เ้้จ้าหน้าที่วิทยุการบิน รวมถึง ทอท. ที่ดูแลการลงของเครื่องบิน และดูแลพื้นที่ runway

เ้จ้าหน้าที่กู้ภัย

เ้จ้าหน้าที่รัฐ เช่น ผู้ว่า รองผู้ว่า ผู้สนับสนุนทรัพยากรหลังเกิดเหตุการณ์

มีอีกหลายคนที่ควรเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่น่าเสียใจนี้ค่ะ..

เท่าที่ฟังผู้เห็นเหตุการณ์เล่าผ่านทีวี พอเครื่องลงแล้วก็ skid หางปัดไปชนกำแพงกันดินเลย  แสดงว่าสภาวะดินฟ้าอากาศคงรุนแรง (ฟังจากผู้รอดชีวิต) และปริมาณน้ำที่ runway คงมีพอสมควร

ทำให้นึกถึงเวลาขับรถแล้วมีน้ำบางๆ บนผิวถนน แล้วถ้าเบรครุนแรงก็หมุนได้เหมือนกัน 

ตอนนี้ก็ได้แต่เดาค่ะ..หวังว่าคงมีการเรียนรู้จากเหตุการณ์ในวันนี้จริงๆ ประัวัติศาสตร์จะได้ไม่ซ้ำรอยค่ะ 

ขอบคุณอาจารย์กมลวัลย์นะครับ ผมเขียนบ่นไว้เฉยๆ เพราะคิดว่าคนที่ผมบ่นถึง เขาคงไม่มาอ่านแถวนี้หรอกครับ แต่ในชุมชน GotoKnow นี้ มีนักคิดอยู่มาก มีครูบาอาจารย์ซึ่งผมอยากฝากไว้ด้วยครับ

นอกจากที่บางสถานีรายงานด้วยความตื่นเต้นแล้ว ก็ยังมีบางช่องที่เลือดเย็น ดำเนินรายการบันเทิงตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่น่าเชื่อเลย

สื่อสมัยนี้ ผมปวดหัวกับคุณภาพคำถามและวิธีคิดของนักข่าวจริงๆ หลายวันก่อนคุยกับคุณซูซานอย่างเมามัน เห็นแบบเดียวกันเลยครับ

ประสบการณ์ก็มีมาหลายครั้งแล้ว โรงแรมถล่มที่โคราช คลังน้ำมันไฟไหม้ที่แหลมฉบัง สึนามิที่หกจังหวัดอันดามัน น้ำท่วม-ดินถล่ม เราเรียนรู้อะไรมาบ้างครับ

สวัสดีครับพี่

ผมเห็นช่องทีวี CNN เค้าเปิดตลอดติดตามสถานการณ์ เป็น Breaking News ตลอดเลยครับ พร้อมสลับกับข่าวอื่น แต่เอาข่าวนี้เป็นหลักครับ

แต่ในขณะที่ผมรับทราบว่า ช่องหลายๆ ช่องในเมืองไทย กำลังเปิดละคร หรือรายการอื่น แบบนี้ เฮ้อ...ถอนหายใจครับ...

นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศไทยครับ ส่วนเหตุการณ์อื่นที่เกิดต่างประเทศคงไม่ต้องคิดว่าจะนำเสนอเมื่อไหร่

หากสื่อไม่ได้อยู่กับพี่น้องประชาชนแล้ว ไม่มีพี่น้องประชาชนสื่อจะอยู่กับใครเอ่ย...

ร่วมบ่นด้วยคนนะครับ... สังเกตมาตั้งแต่แผ่นดินไหววันก่อนแล้วครับ ในวงบ่นๆ เรื่องนี้

เอาเถอะครับไม่ว่ากัน... ผมไม่มีสถานีเองครับ

ขอบคุณมากครับ 

เช้านี้ฟังการสัมภาษณ์ของผู้โดยสารที่รอดชีวิต คิดว่าเป็นไปได้ที่เครื่องบินจะเจอกับ microburst ครับ ถึงอย่างไรก็ควรจะรอการสอบสวนอย่างเป็นทางการ -- ถ้าหากเป็น microburst จริง อาจมีข้อมูลอะไรในกล่องดำบอกได้

Doppler radar สามารถตรวจจับ microburst ได้ ว่าแต่ว่าบรรดาสนามบินซึ่งอยู่ริมทะเลมีกันหมดหรือยัง?

ขอบคุณครับ เห็นศัพท์แปลก  microburst  ก็เลยเปิดเข้าไปอ่านดู เป็นความรู้ใหม่...น่าสนใจมากครับ

เมื่อวานก็บ่นกับเพื่อนเม้งครับ ว่าทีวีไทยขณะที่ยังมีเหตุการณ์ยังมีละครและรายการอื่น พอดีบ้านไม่ได้ติดจานดาวเทียมและชมแค่สองช่องที่ผูกขาด แต่ก็อาศัย internet กับวิทยุ ที่ถ่ายทอดได้ฉับไว

แต่เรื่องข้อมูลที่นำเสนอค่อนข้างสับสน ..ในช่วงเวลาเดียวกัน

เห็นด้วยว่า การนำเสนอบางครั้งก็ดู"ล้นๆ" และไม่ค่อยเหมาะสม ต้องนึกถึงใจของผู้เป็นญาติมิตรของผู้เสียหายด้วย ...เกินจริงไปก็ทำให้เสียกำลังใจมากขึ้น

ที่สังเกตอีกอย่าง สังเกตทางไกลนะครับ ว่าการช่วยเหลือครั้งนี้ดูเหมือนช้ามาก ที่เขียนแบบนี้ไม่ทราบปัจจัยอื่นๆในพื้นที่จริงขณะนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานานมาก ทั้งๆที่อุบัติเหตุอยู่ภายในบริเวณสนามบิน

น่าเป็นห่วงสนามบินในประเทศไทยบางจุดนะครับ เช่น ที่จังหวัดผมนี่ มีคนว่าโลดโผนมาก เพราะถูกจำกัดด้วยพื้นที่ ช่วงมีหมอกควัน เครื่องจะบินวนและกลับไปที่สนามบินเชียงใหม่ ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่ดี

 

 

สวัสดีค่ะ

P

เห็นข่าวจากทีวี ตกใจ ไม่นึกว่าจะเสียหายมากขนาดนี้

คอยติดตามอยู่ค่ะ

ในขณะเดียวกัน ในฐานะปุถุชน ใจแว้บ เป็นห่วงลูก เขาเดินทางบ่อย ในปีหนึ่งๆ  อาทิตย์ที่แล้ว ไปpitch งานที่New York 1 วัน แล้วบินกลับมา outing ที่ภูเก็ตเลย

ไม่อยากเห็นข่าวแบบนี้เลย สลดใจมากค่ะ

อ้อ!!

เปลี่ยนรูปอีกแล้ว จมูกยาวววว เชียวค่ะ.....

คุณเอก: กรณีของ microburst นี้เป็นเพียงความเป็นไปได้ครับ ส่วนจะเป็นสาเหตุหรือไม่ ยังไงก็ต้องรอการสอบสวน

เรื่องของ microburst คร่าวๆ เป็นอย่างนี้ครับ

microburst เป็นกระแสลมแรงที่พุ่งดิ่งลงมาจากเมฆ มีสองชนิดคือ dry microburst และ wet microburst แบบหลังเกิดในพายุฝนฟ้าคะนอง ที่มีความชื้นสูง; "แท่งลม" ที่พุ่งลงล่าง มีขนาดเล็ก (แต่แรง) ถ้ามีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4 กม. จึงจะเรียกว่า microburst เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดนี้ กินพื้นที่สนามบินได้ทั้งหมดสบายๆ 

เมื่อลมพุ่งมาปะทะกับพื้น ก็จะฟุ้งกระจายออกด้านข้าง (เรียกว่า gust front ลมกระโชกส่วนหน้า รูปข้างล่างเรียกว่า outflow front) ทำให้มีปัญหากับเครื่องบินที่ลดระดับลงมาต่ำเพื่อลงจอด 

พอเครื่องบินลดระดับเพื่อลงจอด เข้ามาเจอขอบ vortex ring ก็จะ เจอลมปะทะด้านหน้า ผลักเครื่องบินให้ลอยสูงขึ้น เป็นธรรมชาติที่นักบินจะพยายามปรับความสูงให้กลับมาอยู่ในแนวความสูงที่พร้อมจะลงจอด แต่พอบินพ้นแนวนี้ไป ลมดันขึ้นสูงก็หายไป แถมทีนี้อาจเจอลมบนที่กดเครื่องบินให้ลงต่ำอีกด้วย ก็เลย "ลงแรง" ครับ

คุณศศินันท์: รูปคงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ครับ ถ้าร่างกายเราเปลี่ยนได้ ทำไมรูปจึงเปลี่ยนไม่ได้

รูปนี้ ไป crop มาจากรูป แม่ของวิสเลอร์ ซึ่งคุณบีนไปทำเจ๊ง แล้ววาดเอาไว้แทน

ส่วนเรื่องจมูกยาว อาจารย์พิชัยสงสัยว่าไปผิดคำสาบานว่าจะไม่โกหก แต่อาจารย์พิชัยจำผิดเรื่องครับ รูปมาจากหนังเรื่อง Bean ไม่ใช่ Pinocchio

เห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะคุณ Conductor ที่ว่าสถานีโทรทัศน์ไทยไม่ควรนำภาพร้ายแรงมาเสนออย่างโจ่งแจ้งอย่างนี้

เมื่อครั้งสึนามิก็แล้ว ครั้งระเบิดซ้อนแผนที่ระเบิดนายทหารเก็บกู้ระเบิดที่่ยะลาก็แล้ว มาครั้งนี้อีก

กำหนด rating ของรายการกันนักกันหนา แล้วทำไมพอเป็นข่าวด่วนเช่นนี้ ก็น่าจะกำหนดกติกากันบ้างนะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

เบิร์ดเพิ่งเดินหัวเราะออกมาจาก " หมีจาม " ของคุณ Conductor ที่เบิร์ดเข้าไปเป็นครั้งที่ห้า ด้วยความสนุกสนานอย่างยิ่งยวด น่ารักเหลือเกินค่ะ ^ ^

มาเข้าเรื่องดีกว่าค่ะ..เบิร์ดเห็นด้วยนะคะว่าการรายงานข่าวของสื่อไทยมักจะตื่นเต้นจนเกินงามและแนวทางการเสนอข่าวก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันหมดคือ รายงานสถานการณ์เป็นหลัก ( และมักจะไม่มีอะไรคืบหน้า แต่ก็จะพูดซ้ำๆกันอยู่อย่างนั้น )..เรื่องที่น่าสนใจเช่น ชื่อของผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเจ็บกลับเป็นเรื่องท้ายๆ หรือสาเหตุ จุดเกิดเหตุกลับได้รับความสำคัญเป็นเรื่องรองๆ ( แบบแผ่นดินไหวที่ผ่านมาไงคะ ) แถมบางครั้งยังเป็นการรายงานบนความคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างไม่มีหลักการเพียงพอซะด้วยสิคะ

เป็นเพราะอะไรคะ มาตรฐานการทำข่าว + การรายงานข่าวถึงเป็นแบบเดียวกันไปหมด ( พวกเค้าเหล่านี้ก็ไม่น่าจะจบจากสถาบันเดียวกันหมดเลยนี่คะ )

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกดีๆที่เบิร์ดสนุกกับการอ่านและคิดตามเสมอ..^ ^ 

สำหรับสื่อโทรทัศน์ ผมพบว่าตัวเองรำคาญการถามนำของผู้ดำเนินรายการบางคนมากครับ รำคาญจนต้องเปลี่ยนช่อง

ถึงจะมีข้อจำกัดของเวลา ความกระชับ ตลอดจนข้อจำกัดในการสื่อสารต่างๆ ผู้ดำเนินรายการก็ไม่ควรจะเอาความคิดของตน ยัดใส่ปากผู้ที่กำลังให้สัมภาษณ์นะครับ ถ้าคิดว่าไม่รู้เรื่องจริงๆ ควรจะขอตัดบทอย่างสุภาพและให้เกียรติผู้ที่ให้สัมภาษณ์

เช่นเดียวกับผู้ที่ให้สัมภาษณ์ ถ้าคิดว่าคุณภาพของคำถามไม่ดีพอ ก็ควรตัดบทเช่นเดียวกันครับ

มีหนังเครื่องบินเกือบตกจากลมขวางมาให้ดูครับ -- 1 มีนาคม 2551 เครื่อง A320 ที่สนามบิน Hamburgs รันเวย์ 23

  • เห็นด้วยกับอาจารย์จันทวรรณครับ ว่าข่าว ควรมี rating ได้แล้ว
  • สมมติว่ามี เราก็จะได้เห็นอะไรประมาณนี้
  • ข่าวโหด ก็ควรห้ามต่ำกว่า 18 ดู
  • ข่าวดาราตบตี ห้ามเด็กดูโดยไม่มีผู้ปกครองคอยชี้แนะ
  • ข่าวการเมือง ...เอ่อ...
  • กรุณาซ่อนข่าวอันนี้ก่อนได้ไหมครับ
  • เพื่อนๆๆพี่ๆน้องๆๆไม่กล้าไปภูเก็ต
  • ฮ่าๆๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท