ประเด็นงานศึกษาวิจัยและพัฒนาที่แม่ฮ่องสอน : สำหรับผู้สนใจ


หากสนใจข้อมูลสามารถติดต่อพูดคุยได้ครับ(ผมมีฐานข้อมูล,การประสานงาน,ทีมงานเป้าหมายในการประสานงาน,พื้นที่) และแม้กระทั่งการคิดทำงานร่วมกันในอนาคต หากการทำงานนั้นได้ช่วยพัฒนาท้องถิ่นได้ตามประเด็นที่ผมเรียบเรียงมา ติดต่อผมโดยตรงได้เลยครับทั้งอีเมลและโทรศัพท์

ผมใช้เวลาพักผ่อนที่บ้านที่เมืองปาย นั่งคิดประเด็นการทำงานศึกษา วิจัย โดยอาศัยฐานข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ และสภาพจริงในปัจจุบันของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีบริบทของปัญหาและความต้องการที่คล้ายคลึง

การมองของผมใช้การมองแบบนักวิจัย บวกกับความต้องการที่จะศึกษาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนา ผมเห็นว่ามีประเด็นหลากหลายซึ่งล้วนแล้วแต่น่าสนใจ เหมาะสำหรับการต่อยอดประเด็นของผู้ที่สนใจจะเข้ามาศึกษา วิจัย หรือใช้พื้นที่นี้เป็นฐานในการทำงาน

ผมของลองยกมาเป็นประเด็นใหญ่ๆก่อน ส่วนประเด็นย่อยๆในหัวข้อใหญ่สนผู้สนใจสามารถขอรายละเอียดและเจาะลึกได้ทันที มาดูประเด็นที่ผมคิดดูนะครับว่า ประเด็นไหนที่ท่านสนใจและต้องการเข้ามาร่วมทำงานในพื้นที่ 

  • องค์ความรู้ทางด้านสุขภาพ :พัฒนา ยกระดับ จัดการความรู้

ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ผมใช้เป็นวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งผมศึกษาในกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่ง พบว่าได้องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และองค์ความรู้นั้นถูกยกระดับ นำไปสู่การดูแลสุขภาพตนเองในชุมชน  ในครั้งนั้นผมทำเพียงกลุ่มชาติพันธ์เดียว แม่ฮ่องสอนและภาคเหนือยังมีกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆมากมาย  องค์ความรู้ดังกล่าวรวมทั้งหมดตั้งแต่ สมุนไพร,อาหาร และกระบวนการดูแลสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสิ่งดีๆอันเป็นภูมิปัญญามากมาย หากเราได้พัฒนาและศึกษาวิจัย จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ผมสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธ์จีนยูนนาน,ลาหู่,ลีซู และ ไทใหญ่

  • ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต : การพัฒนาสืบทอด ฟื้นฟู

ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์ เป็นสิ่งที่จุดประกายให้ผมเห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ นับวันศิลปะ วัฒนธรรม ดั้งเดิมของคนท้องถิ่นถูกลืม และคนรุ่นใหม่มาเห็นความสำคัญ มีคำถามที่ท้าทายว่า เราจะพัฒนาและอนุรักษ์ ฟื้นฟูสิ่งดีๆเหล่านี้ได้อย่างไร”?  ผมเห็นความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา แต่ยังไม่เห็นกระบวนการที่ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างจริงจัง - - -ประเด็นนี้หากแยกย่อยจะมีประเด็นทำงานพัฒนาเยอะมาก

  • ประวัติศาสตร์ศาสตร์ท้องถิ่น : วางแผน พัฒนา ตัดสินใจ

งานศึกษาทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่บอกที่มาของชุมชน ที่มาของกลลุ่มชาติพันธ์ ตลอดการนำองค์ความรู้ที่เราเรียนรู้อดีต มาใช้ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาปัจจุบัน อีกทั้งเป็นเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ชิ้นใหญ่ของประเทศ

  • พฤติกรรมสุขภาพ : ปัญหา และการพัฒนานวัตกรรม

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเมือง และสภาพสิ่งแวดล้อมส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพของผู้คนเปลี่ยนแปลงตาม ผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเหล่านี้ ส่งผลกระทบอย่างมากกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติการณ์ของโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อ และโรคไร้เชื้อ ในท่ามกลางการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขผมก็ยังมองว่าเรายังตามเรื่องเหล่านี้ไม่ทัน แม้จะทำเชิงรุก เชิงรับกันเต็มที่ หากเราไม่กระบวนการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงวิถีแบบช๊อค เช่น อ.ปาย แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

  • การท่องเที่ยวโดยชุมชน : การพัฒนาและการสร้างเครือข่ายฯ

ประเด็นนี้ถึงแม้ว่าแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีทุนหลากหลาย โดยเฉพาะหมู่บ้านที่ได้จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นชุมชนต้นแบบระดับนานาชาติไปแล้ว แต่การเคลื่อนไหวของการพัฒนายังมีปัญหา ความเข้าใจ และการนำไปใช้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชนใหม่ๆที่เข้าสู่ระบบการท่องเที่ยวกลับไม่ได้รับการพัฒนาจากแนวคิดการท่องเที่ยวทางเลือก กลับรับกระแสการท่องเที่ยวกระแสหลักเต็มที่ แนวทางการพัฒนาต่อผมมองถึง การเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ การก้าวสู่เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เข้มแข็ง โดยส่วนตัวผมเป็นนักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับงานสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชน เห็นปัญหานี้เป็นปัญหาเร่งด่วน

  • สถานการณ์เด็กเยาวชน : ปัญหาและกระบวนการพัฒนา

ใครจะรู้ว่าจังหวัดชายแดนจะมีปัญหาเด็กและเยาวชนที่รุนแรงไม่แพ้เมืองหลวง เพียงแต่รูปแบบของปัญหาที่แตกต่างกัน ทั้งการละเมิดทางเพศ การค้ามนุษย์ และความรุนแรงที่เด็กได้รับ เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น กระบวนการพัฒนาเด็ก จึงเน้นในทั้งเชิงรับ คือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเชิงรุกได้แก่การพัฒนาที่เด็กโดยตรง การพัฒนาตามแนวคิดหลังมองถึงภาคีในการร่วมพัฒนา การทำงานแบบบูรณาการ ในกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนถึงวัยรุ่น กันเลยทีเดียว ในส่วนของการพัฒนาเริ่มต้น งาน BBL. (การพัฒนาสมอง) ทักษะชีวิต จนถึงผลักดันงานเยาวชน ประเด็นงานโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนหลากหลายมากครับ

บันทึกแรกนี้ขอยกมาเพียง ๖ ประเด็นใหญ่ก่อนนะครับ เป็นประเด็นที่อยู่ในใจผม และประเด็นย่อยๆนั้นยังมีอีกมากมาย

ผู้ที่สนใจ นักวิจัย แหล่งทุนวิจัยและพัฒนา รวมถึงสถาบัน หากสนใจข้อมูลสามารถติดต่อพูดคุยได้ครับ(ผมมีฐานข้อมูล,การประสานงาน,ทีมงานเป้าหมายในการประสานงาน,พื้นที่) และแม้กระทั่งการคิดทำงานร่วมกันในอนาคต หากการทำงานนั้นได้ช่วยพัฒนาท้องถิ่นได้ตามประเด็นที่ผมเรียบเรียงมา ติดต่อผมโดยตรงได้เลยครับทั้งอีเมลและโทรศัพท์  

    



ความเห็น (25)

อ้ายเอกเจ้า...

 ขอเสริมประเด็น...

วิถีเกษตร ภูมิปัญญา และความเปลี่ยนแปลง

ไม่รู้ว่ามีประเด็นเกษตรสอดแทรกอยู่ในประเด็นวิถีชีวิตหรือเปล่า...

---^.^---

ขอเก็บเป็นข้อมูลเผื่อมีโอกาสได้ทำวิจัยร่วมกันเนาะอ้าย

ขอบคุณนักๆครับ น้องพิมพ์

P

พอดี ประเด็นที่น้องเขียนถึงนั้นวิถีเกษตร ภูมิปัญญา และความเปลี่ยนแปลง ผมตั้งใจจะเขียนอีก หนึ่งบันทึกครับ เป็นประเด็นใหญ่ที่ผมสนใจเช่นเดียวกัน

ที่แม่ฮ่องสอน เรามีเกษตรอินทรีย์ ฟาร์มต้นแบบ และผมคิดว่าการทำงานต่อเนื่องประเด็นนี้ คือขยายผล ปละ การจัดการความรู้ประเด็นนี้ ผสานภูมิปัญญาครับ และมองในส่วนของการจัดการเครือข่ายด้วยครับ

มีหลายๆหน่วยงานเข้ามาทำ โดยการเริ่มต้นใหม่ ผมคิดว่าเสียดายเวลา และเสียดายงบ เพราะเราสามารถต่อยอดได้ ใช้ข้อมูลเดิม เครือข่ายเดิมมาใช้ประโยชน์

พักหลังเห็นหน่วยงาน สถาบัน ที่เข้ามาทำงานประเด็นเดิม และทำซ้ำโดยที่ย่ำกับที่ เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายมากครับสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเดิม

ตอนนี้ผมมีทั้งข้อมูล มีกลุ่มเป้าหมาย และมีจุดประสานงานทั่ว ครอบคลุม การเริ่มประเด็นงานใหม่ๆที่นี่จึงไม่ยากครับ

ขอบคุณครับ

 

 

คุณจตุพรครับ

           ผมไปสอนที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอนทุกสัปดาห์ ปัญหาต่างๆ ตามที่คุณแจกแจงประเด็นไว้  ตรงใจผมทั้งสิ้น แต่ผมคงไม่ได้มีโอกาสเข้าไปทำอะไรในเรื่องเหล่านี้ ได้แต่ถ่ายทอดพัฒนาทางด้านภาษาไทยให้เด็กนักศึกษา ซึ่งมีปัญหามาก เพราะพื้นฐานทางวัฒนธรรมของตน  ต้องค่อยๆ พัฒนาเขา

            อยากคุยเรื่องราวเหล่านี้อย่างจริงจังครับ จะติดตามอ่านต่อไปครับ น่าสนใจมาก

สวัสดีครับ อาจารย์กรเพชร P

ใช่เลยครับ

เหมือนกับว่าผมติดอาจารย์เรื่อง การคุยประเด็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาของแม่ฮ่องสอน ที่อาจารย์ถามผมในบันทึกหนึ่ง

ประเด็นเหล่านี้อยู่ในใจผม ยังไม่หมดนะครับ ผมยังมีประเด็นใหญ่ๆอีก ในอีกบันทึกกำลังเรียบเรียงอยู่ ผมมองว่าหากเราได้บูรณาการงานเหล่านี้สู่งานการเรียนการสอนของ มรภ.เชียงใหม่ ก็จะดีมากครับประเด็นเหล่านี้เป็นของจริงและรอการพัฒนา และเรียนรู้ร่วมกันของคนท้องถิ่น

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

มีโอกาสจะเข้าไปพูดคุยกับอาจารย์อย่างจริงจังครับ

ผมมีความสนใจอยู่มากนะคุณเอก ถึงแม้จะไม่ได้สอนที่นั่น แต่มีนักศึกษามาเรียน ราชภัฏเชียงใหม่เยอะ ทำให้เราเห็นมุมที่แตกต่างระหว่างคนเชียงใหม่กับที่นั่นอย่างมาก

ถ้ามีโอกาสผมก็อยากทำวิจัย แล้วผมจะติดต่อคุณเอกนะครับ หวังว่าเราคงได้ร่วมงานกันเพิ่มจากที่ทำใน k2g นะครับ

น่าสนใจทั้งนั้นเลยน้องเอก ยิ่งทำเป็น action research ก็ยิ่งน่าสนใจครับ

ยินดีมากครับ อาจารย์Pchainung

มีประเด็นงานวิจัยที่น่าสนใจมากที่แม่ฮ่องสอน ผมมองว่าประเด็นงานบางอย่างจำเป็นอย่างยิ่งต้องวิจัยและพัฒนา ผมยินดีครับ ยินดีเป็นผู้ประสานงานให้ข้อมูล ผมมีทุนเรื่องการเชื่อมต่อคนในพื้นที่อยู่มากทีเดียว

ผมยินดีต้อนรับทุกท่านครับ ที่สนใจจะเข้ามาใช้งานวิชาการเชื่อมกับชุมชน และเรียนรู้ร่วมกัน

 

ผมมีเรื่องเล่าครับ อ.. chainung

ผมชักไม่ค่อยเชื่อองค์กรบางองค์กรที่ทำงานในพื้นที่ครับ เพราะไม่ค่อยได้ส่งผลกับคนในพื้นที่เท่าไหร่ เหมือนกับเอาชุมชนเป็นพื้นที่ หาเงินทุน เพื่อมาทำงาน อันนี้เจ็บปวดนะครับ

เมื่อปีกลายมีสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพ มาทำงานวิจัยงานศึกษาในพื้นที่ ผมเป็นผู้ประสานงานให้เป็นอย่างดี ปรากฏงานสำเร็จอย่างดี แต่...พอผ่านไปก็ปัดก้นไม่ใยดี เพราะได้ผลงานแล้ว แบบนี้คงต้องขอร้อง เราไม่ต้อนรับ...คือ  สงสารชาวบ้านครับอาจารย์ ผู้ให้ข้อมูล แต่งานที่ออกมากลับสนองคุณวุฒิของอาจารย์ไปเลย สมใจแล้วเขาก็หายไป...แบบนี้หัวใจคนบ้านนอกมันช้ำมากครับ

ติดต่อมาได้ครับอาจารย์chainung
- - - โอกาสดีเราจะได้ร่วมงานกัน ผมศรัทธาท่าน คณบดีพิชัย กรรณกุลสุนทร เสมอครับ หากได้มีโอกาสได้ร่วมทำงาน ก็เป็นโอกาสที่ดีมากครับ

ตอนนี้หลายๆสถาบันก็คงจ้องตาเป็นมัน เพราะอยากมาทำงานวิจัยด้วยเหตุผลต่างๆนานา หากมาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาบ้านผมอย่างจริงใจ นายเอกยินดีช่วยจนสุดใจเลยคุณเอ๋ย!!!

 

 

พี่บางทรายครับ

P

บางประเด็นออกแบบเป็นวิจัยองค์ความรู้และต่อด้วย Action research ครับ

มีข้อจำกัดนิดหนึ่งว่า หน่วยงานให้ทุนที่ใหญ่ที่สุดในไทยตอนนี้ ไม่ค่อยให้ความสำคัญงานเชิงคุณภาพ และงาน action เท่าไหร่ อันนี้ก็เป็นข้อจำกัดหนึ่งครับ เท่าที่คุยกับพี่หลายๆคน

ผมกำลังคุยงานกับ จุฬาฯ ครับ ว่าอาจมีสักชิ้นงานที่ลงไปในพื้นที่ที่นี่ครับ

ขอบคุณครับ

ท่านผู้อ่านครับ

หากท่านสนใจให้ผมเขียนรายละเอียดเจาะลึกลงในหัวข้อไหนที่ท่านสนใจ ก็สามารถแจ้ง หรือสอบถามมาได้ครับ

หลายประเด็นเป็นงาน Thesis ได้ครับ หลายงานพัฒนาเป็นงานเชิงประเด็น ที่ทำงานต่อเนื่องกับแหล่งทุนต่างประเทศได้ด้วย

น่าสนใจดีครับ

ยินดีครับสำหรับข้อเสนอแนะครับผม

สวัสดีค่ะ

  •  การเรียนรู้+ภูมิปัญญา+การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง เราจะไม่ย่ำอยู่กับที่แน่นอนค่ะ...
  • ขณะนี้เรา (โรงเรียนเกษตรอินทรีย์) พยายามเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนให้รับรู้+ลองทำในสิ่งที่เรารู้และทำอยู่
  • หลังจากไปติดตามผลแล้วเขานำไปทำต่อและขยายผลเป็นกลุ่มเล็กๆ...ชื่นใจค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

 

อ้อ...เมื่อปลายปี 2549 มีโอกาสแอ่วเหนือ

จุดหมายจริงจริงคือ "ปาย" ค่ะ

แต่หมดพลัง ณ ด่านแม่สายซะก่อน

เด๋วเราจะมาอีก (I'll return)

ฮุฮุฮุ

  • แวะมาสนับสุนคะ...ถ้าทุกประเด็นได้มีการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
  • และผลักดันให้ทุกชุมชนในเมืองไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • เป็นชุมชนแข้มแข็งที่ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเองคะ

สวัสดีครับ

P

พอดีผมได้ไปอ่านบันทึกคุณครูแล้วน่าสนใจมากครับ เลยแอดplanet ไว้แล้ว

จะมาเที่ยวปายก็ยินดีครับ

 

สวัสดีครับ คุณนารี

P

ผมพยายามนำเสนอเป็นประเด็นๆไป หากเจาะลึก ก็แล้วแต่ว่าสนใจเรื่องไหน ประเด็นไหน

อยากให้มีการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมครับ และมีทีมงานวิจัยพัฒนาที่ทำเพื่อท้องถิ่นจริงๆ

 

 

  • แวะมาอีกรอบคะ คุณเอกขา..
  • ฉันส่งเมล์ขอไกด์บุ๊ค แม่ฮ่องสอนไปที่ Hot mail แล้วคะ

สวัสดีครับ คุณ

P

ได้รับเมลล์แล้วครับ และจะจัดให้นะครับ ฝากดูแลคนที่โน่นด้วยครับ

ขอบคุณครับ

  • รับฝากดูแลแบบห่างๆ..ไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัวคะ..อิอิ

คุณ

P

 ดูแลแบบให้รู้ตัวก็ได้นี่ครับ ...ผมจะจัดส่งให้เร็วๆนี้นะครับผม

  • รับทราบคะ..อิอิ..กลัวเจอตัวเป็นๆแล้วจะตกใจนะซิ..
  • แล้วจะแวะไปแอบดูใครคนนั้น..นะคะ

สวัสดีครับ คุณนารี

P

ยินดีมากมายครับ ที่ทราบว่าจะดูแลใครคนนั้นให้ผม...แถวนั้นค่อนข้างจะดูไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ มีอะไรคุณนารีลุยเลยนะครับ

  • อิจฉาจังคะ ได้ทำงานอยู่กับธรรมชาติ
  • ฟังโครงการแล้วก็น่าสนใจดีคะ อยากจะช่วย แต่รู้ตัวว่าช่วงนี้งานยุ่ง ก็ได้แต่เอาใจช่วยเฉย ๆ คะ
  • อีกสักประมาณ 3-4 เดือน มีโครงการจะไปเที่ยวปางอุ๋งคะ หากคิดไม่ออก ไม่รู้จะบอกใคร ก็จะบอกคุณจตุพรคะ อิอิ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ คุณ P

สักครู่มีสุภาพสตรีท่านหนึ่งจาก กทม.โทรมาคุยเรื่อง "ปางอุ๋ง" เหมือนกันครับ

ผมดูแลในส่วนข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชนครับ มีข้อมูล และสถานที่ดีๆแนะนำ หากมาแม่ฮ่องสอน เชิญได้เลยครับ โทรมาได้ตลอดครับ

หากบอกโคดลับว่า "Gotoknow" ก่อนพูดคุยจะได้รับสิทธิพิเศษทันที อิอิ

  • อิอิ ขอบคุณคะ แล้วจะจำโคดลับไว้คะ
  • ขอให้มีความสุข และสนุกกับงานนะคะ
ยินดีครับ ขอให้สุขและสนุกกับงานเช่นเดียวกันครับผม
Pเรียนคุณหมอเอก  แวะมาหาหมอเอก เห็นประเด็นแล้วน่าสนใจมาก ๆ มีอีกอย่างหนึ่งที่อยู่ในใจผมมานาน  แต่ยังไม่ได้บอกใครเลยครับ  สมัยก่อนที่ผมอยู่นาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า ผมเห็นวีถีชีวิตของคนบนดอยก็เป็นสิ่งที่น่าศึกษา มีทั้งด้านที่ดีงาม และด้านมืด ซึ่งใครไม่ขึ้นไปอยู่จะไม่รู้นะครับ ถ้าเป็นกรณีอย่างนี้จะไปอยู่ในประเด็นไหนครับ สมัยก่อนที่เป็นครูดอย ตอนแรกผมมีความมุ่งมั่นมาก แต่หลายปีผ่านไปเราเห็นว่าความพยายามของเราเหมือนกับเราปรบมือข้างเดียว โดยที่ชุมชนไม่ให้ความร่วมมือกับเรา (คือร่วมแต่มือแต่ไม่ร่วมสมอง) ผมยอมรับว่าเหนื่อยมากและท้อ  จึงอยากให้มีทีมที่เข้าไปปรับพื้นฐานความคิด วิธีคิดของคนบนดอยให้ เห็นความสำคัญของการศึกษา รวมทั้งดูแลลูกหลานของเขาให้เป็นผลผลิตที่ดี บ่อยครั้งที่ผมสอนแม่ฮ่องสอน แล้วเจอเด็กที่ดี ๆ เรียนดี แต่ออกกลางคัน เพราะสังคมพาไปน่ะครับ  ไม่รู้ว่าบ่นมากไปหรือเปล่า

สวัสดีครับครูmannyP

ขอบคุณมากครับที่มาเติมประเด็น

การทำงานกับชาวบ้านเป้นศาสตร์และศิลป์ รวมถึงใช้เวลาในการเข้าถึงเข้าใจชาวบ้านมากด้วยครับ

"เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

ผมเข้าใจว่า การที่เราเข้าไม่ถึงโลกของชาวบ้าน เราก็ไม่สามารถทำอะไรด้ หรือหากทำได้ก็ชั่วคราว ไม่ยั่งยืน

ผมเห็นส่วนราชการในหมู่บ้านหลายที่ ต่างคนต่างอยู่ เมื่อมีงานที่ต้องทำกับชาวบ้านก็มาร่วมกันที ความผูกพันใจไม่เกิด

ครูอาจต้องยอมรับนะว่า...หลายๆโรงเรียนก็เป็นแบบนี้ ครูอยู่แต่ในโรงเรียน ไม่ยอมเข้าหาชุมชนเลย เลิกเรียนก็อยู่ในห้องพัก บ้านพัก ปิดเรียนก็ลงดอยกลับบ้าน ...นี่เป็นสถานการณ์จริงครับ(ไม่เฉพาะครูนะครับ คุณหมอที่อยู่ สถานีอนามัยเช่นกัน หากอยู่แต่ที่ทำงาน บ้านพัก ก็ไม่เคยเข้าใจ ได้ใจชาวบ้านเลย)

ผมมองจากประสบการณ์ของผมครับครู

ที่เวียงแหงผมคิดว่าครูลองปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้คุณครูในโรงเรียนกับชุมชนเชื่อมกันมากขึ้น งานทุกอย่างจะง่ายกว่าที่เราคิดครับผม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท