กล้วยไข่ส่งออก


การผลิตกล้วยไข่ส่งออก

 

 หายไปหลายวันครับวันนี้เลยเอาเรื่องดีๆ เวที KM อำเภอทองผาภูมิมาฝาก น่าสนใจครับแต่เนื้อหาอาจมากไปหน่อย ส่วนรูปจะนำมาลงให้ดูภายหลังวันนี้อ่านเอาเนื้อหาไปก่อนนะครับ

การผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออกของเกษตรกรอำเภอทองผาภูมิ

ความสำคัญกล้วยไข่

เป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาดดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญ คือ จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น  กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศไทย ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการ  การผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และคุณภาพตาม ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมใน ระยะยาว ดังนั้น กระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม    

แหล่งปลูก                 

 แหล่งปลูกกล้วยไข่ในเขตพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ  ดังนี้

-          ตำบลลิ่นถิ่นทั้งตำบล

-          ตำบลหินดาดได้แก่  หมู่  15

-          ตำบลสหกรณ์นิคมได้แก่  หมู่  2  บ้านสะพานลาว

-          ตำบลท่าขนุนได้แก่  หมู่  3  และหมู่  5

สภาพพื้นที่

óพื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
óความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
óมีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
óการคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน

 -          ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว

-          มีความอุดมสมบูรณ์สูง  ระบายน้ำดี

-          หน้าดินลึกมากกว่า  40  เซนติเมตร

-          ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า  75  เซนติเมตร

-          ค่าความเป็นกรด - ด่างของดิน  ระหว่าง  5.0-7.0 

สภาพภูมิอากาศ

ó อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส
ó ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
óไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
óมีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ

-          มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก

-          เป็นแหล่งน้ำสะอาด  ปราศจากสารอินทรีย์  และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน

-      ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0                                                                                  

พันธุ์                กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง

พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

1.  กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรชื่อสามัญ                 Pisang Mas
ชื่อพ้อง                       กล้วยกระ กล้วยเจ็กบอง
ชื่อวิทยาศาสตร์      
   Musa (AA group) "Kluai Khai"
แหล่งที่พบ
                พบได้ทุกภาคของประเทศ  นิยมปลูกมากในเขตจังหวัดกำแพงเพชร  นครสวรรค์
                                  ตาก  สุโขทัย  เพชรบุรี  และกาญจนบุรี                                                            

 ลักษณะประจำพันธุ์  ลำต้นสูง2. 5 - 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 - 20 เซนติเมตร สีเขียวออกเหลือง  กาบ                                   ใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลตใบตั้ง  ไม่มีนวล  ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบ                                   ขยายออก  ฐานแผ่นใบทั้งสองด้านแหลม  ผลแก่ที่โตเต็มที่  (ระยะเริ่มรับประทานแต่                                  ไม่สุกงอม)  มีรูปร่างโค้งเล็กน้อย  ปลายผลทู่  มีส่วนฐานของก้านเกสรเพศเมียยื่น                                      ออกมาและเมื่อตัดผลตามขวางมีรูปร่างเกือบกลม   

 2.  กล้วยไข่พระตะบองชื่อสามัญ                       -
ชื่อพ้อง                      กล้วยไข่บอง เจ็กบอง
ชื่อวิทยาศาสตร์         Musa (AAA group) "Kluai Khai Pra Tabong"
แหล่งที่พบ                จังหวัดตราด สุรินทร์ ชัยภูมิ นนทบุรี ชลบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา นครนายก
                                  ปราจีนบุรี

ลักษณะประจำพันธุ์   ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประดำหนา โดยเฉพาะใต้ขอบใบ ด้านในมีสีเขียวอมเหลือง  ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิด ขอบก้านใบมีสีชมพูเล็กน้อย  ผลโตกว่ากล้วยไข่ทั่วไปก้านผลค่อนข้างสั้นผลไม่มีเหลี่ยมปลายผลมนโค้งขึ้นเล็กน้อย เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อด้านในสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย

การปลูกการเตรียมดิน

óวิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก

óไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช จากนั้นทำการไถดะ  ไถแปร  และชักร่อง 

ฤดูปลูก

óในเขตภาคเหนือตอนล่าง ช่วงเวลาการปลูกเดือน สิงหาคม- กันยายน หากจะล่าช้าออกไปก็จะไม่เกินเดือนตุลาคม  เนื่องจากต้องอาศัยน้ำฝน และหลีกเลี่ยงไม่ให้กล้วยไข่ ตกเครือในช่วงฤดูแล้ง จะทำให้กล้วยผลเล็ก ถูกแสงแดดเผามาก คุณภาพเสียหาย             

   óในเขตพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศต่างไป  เช่น อำเภอทองผาภูมิ  จังหวัดกาญจนบุรี  ปลูกเดือนมกราคม กุมภาพันธุ์  โดยให้มีช่วงเวลาหลังปลูกประมาณ  78  เดือน  เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำและอุณหภูมิสูงในช่วงการพัฒนาของผล นอกจากนั้นการปลูกกล้วยไข่ในช่วงต้นปีของอำเภอทองผาภูมิ  จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของกล้วยไข่ได้ช่วงเทศกาลสาร์ทไทย  ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตที่ออกมาเป็นที่ต้องการของตลาด 

วิธีการปลูก

óปลูกด้วยหน่อความสมบูรณ์ดี  หน่อโคนโต, ปลายเรียว, ใบแคบ ลำต้นสูง  3050 เซนติเมตร

ó เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร

ó รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกโดยสูงจากก้นหลุมประมาณ  1  ใน  3  ของหลุม 

 óถ้ามีการไว้ตอหรือหน่อ (Ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
            
óระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตร  หรือ  2.5x2.5  เมตร  เป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (Ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (Ratoon) อีก 1-2 รุ่น
            
ó การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่ อยู่ในทิศทางเดียวกัน(ตะวันตก) เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน (ตะวันออก)เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาและป้องกันผลผลิตถูกแสงแดดเผา

óกลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น  คลุมด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 

เทคนิคการปลูกกล้วยของอำเภอทองผาภูมิที่แตกต่างออกไป          

      óใช้หน่อพันธุ์สมบูรณ์  ลำต้นสูง  45-50  เซนติเมตร  ใบกว้าง เนื่องจากปลูกในช่วงฤดูแล้งทำให้ทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่าหน่อใบแคบ               

   óหลังจากปลูกเสร็จแล้ว  จะทำการปาดยอดกล้วยเป็นรอยเฉียงตัดขวางลำต้น  ทำมุมเอียง  45  องศากับลำต้น  โดยให้รอยปาดด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ  35 40  เซนติเมตร  เพื่อให้กล้วยแตกใบพร้อมกันทั้งแปลง  และมีอายุการเก็บเกี่ยวพร้อมกัน 

การดูแลรักษา การให้ปุ๋ย

óใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูกอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม

 óใส่ปุ๋ยเคมี 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2  หลังจากปลูก 3  และ 4  เดือนซึ่งเป็นระยะที่กล้วยมีการเจริญเติบโตทางลำต้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0  หรือ 46-0-0 + 16-20-0  อัตรา125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้งต่างกับหลักวิชาการคือใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1  และ 2 สูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง หลังจากปลูก 1 และ 3 เดือน 

ó การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 เดือน  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 8-24-24  อัตรา  125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง  ในช่วงที่กล้วยอายุได้  7 เดือนจะให้ปุ๋ยเคมีสูตร  13-13-21  อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง  จนถึงระยะที่กล้วยออกปลีจึงหยุดให้ปุ๋ย  ต่างกับหลักวิชาการ  คือ  การให้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 3 และ 4 จะให้ปุ๋ยเคมีภายหลังจากปลูก 5 และ 7 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่กล้วยใกล้จะให้ผลผลิต จะให้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-24, 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง

óวิธีการใส่ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยเคมีโรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ 

การให้น้ำ

ó  ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
ó  ในฤดูแล้ง เริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม

ó  วิธีการให้น้ำ  ใช้วิธีปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในแปลงย่อยเป็นแปลง ๆ  หรือปล่อยน้ำเข้าไปตามร่อง เมื่อดินมีความชุ่มชื้นดีแล้ว จึงให้แปลงอื่นต่อไป

ó  เกษตรกรบางรายใช้วิธีการให้น้ำระบบสปริงเกอร์  ซึ่งเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูง  แต่สะดวกในการจัดการบริหารจัดการน้ำ 

การตัดแต่งและการดูแลต้นกล้วย การพรวนดินการพรวนดินหลังจากปลูกกล้วยไข่  ประมาณ  1  เดือน  ควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุดและเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก 

การพูนโคนโดยการโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย 

การแต่งหน่อหลังจากปลูกกล้วยประมาณ  5  เดือน  แต่งหน่อตามเพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์  เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอโดยปาดเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม 45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก   ปาด ด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หรือ  10-15  เซนติเมตร  หลังจากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน จึงปาดหน่อครั้งที่ 2 โดยให้รอยปาดครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยปาดครั้งก่อน และให้รอยปาด มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยปาดมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว หรือ  10-15  เซนติเมตร  หรือสูงจากโคนต้นประมาณ  20-25  เซนติเมตร  ทำการแต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่า จะถึงเวลาที่เหมาะสม  ก็จะปล่อยหน่อให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม

การตัดใบและการไว้ใบ

ó การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต  และคุณภาพผล

ó ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว  ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลัง 

ó กล้วยตกเครือ แล้วควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบ ก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก  จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย

ó ระยะกล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผาเป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้ 

การค้ำเครือ

เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรมีการป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น การปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับลำต้นกล้วยมาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือโดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช ้

 การห่อเครือ

การห่อเครือกล้วย ทำการห่อผลหลังจากตัดปลีแล้ว 3-7 วัน วัสดุที่ใช้ห่อ จะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือถุงปุ๋ยก็ได้ การห่อจะทำให้ผลของกล้วยมีผิวขาวนวล และใหญ่สม่ำเสมอ จำหน่ายได้ราคาดีกว่ากล้วยที่ไม่ได้ห่อเครือ (การห่อกล้วยเขตจังหวัดกำแพงเพชร)สำหรับถุงพลาสติกสีฟ้านั้นจะใช้ขนาดความกว้าง 30 นิ้ว

คำสำคัญ (Tags): #กล้วยไข่
หมายเลขบันทึก: 128478เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ถ้ามีโอกาส
  • จะตามลงไปดูในพื้นที่ครับผม
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณวีระศักดิ์ ดิฉันสนใจเรื่องการส่งออกกล้วยไข่ขอคำแนะนำด้วยค่ะ Email:[email protected] ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ

http://www.Sanookbet.com เรามีคาสิโนไว้บริการท่านมากมายเช่น GClub, Royal1688, Ruby888, Holiday-Palace,Genting Crown,Reddragon88,Princess Crown ซึ่งแต่ละคาสิโนออนไลน์

ได้รับความเชื่อถือด้านความซื่อตรง มั่นคงเรื่องระบบ รูปแบบเกมส์เพลิดเพลิน ตื่นเต้น เร้าใจ ทำให้ท่านได้ลุ้นระทึกทุกเกมส์การเล่นเสมือนได้เข้าไปนั่งเล่นจริงที่คาสิโนโดยท่านไม่ต้องเสียเวลา

เดินทางให้เหน็ดเหนื่อย เล่นได้โทรมาขอถอนเงินสดกับเราได้ทันที เรามีทีมงาน Call Center มืออาชีพไว้คอยบริการท่านตลอด 24 ชม.นอกจากนี้แล้วเรายังมีบริการ SportBook ออนไลน์จากหลายค่าย

ยอดนิยมไว้บริการท่าน เช่น SBOBET , IBCBET , 3M BET , STSBET , WINNINGFT

สนใจติดต่อเราที่ 080-7977773-6

[email protected]

http://www.Sanookbet.com

Sanookbet.com

สวัสดีครับผมอยากรู้ว่าทำอย่างไรไม่ให้กล้วยลายเพราะตอนนี้สวนที่ผมทำอยู่เวลาห่อกล้วยออกมาผิวไม่สวยเลยอยากทราบว่าต้องใช้อะไรฉีดก่อนห่อหรือป่าวและเวลาห่อต้องรอให้สุดปลีแล้วจึงห่อหรือห่อตอนที่ยังไม่สุดแล้วตัดปลีที่หลัง ขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับคำแนะนำดีๆๆ

สวัสดีครับผมอยากรู้ว่าทำอย่างไรไม่ให้กล้วยลายเพราะตอนนี้สวนที่ผมทำอยู่เวลาห่อกล้วยออกมาผิวไม่สวยเลยอยากทราบว่าต้องใช้อะไรฉีดก่อนห่อหรือป่าวและเวลาห่อต้องรอให้สุดปลีแล้วจึงห่อหรือห่อตอนที่ยังไม่สุดแล้วตัดปลีที่หลัง Email: [email protected]ขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับคำแนะนำดีๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท