อาจารย์ ดร.แอนดรูว์ แม็คคอลลอช ผู้อำนวยการมูลนิธิสุขภาพจิต สหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ)กล่าวว่า คนอังกฤษกินอาหารที่มีคุณภาพลดลงไปเรื่อยๆ
เมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน...
- คนอังกฤษกินผักลดลง 1 ใน 3 (34 %)
- กินปลาน้อยลง 2 ใน 3
- เทคนิคการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มที่เปลี่ยนแปลงไปมากในรอบ 30 ปีก็มีส่วนทำให้ไก่โตไวขึ้น 2 เท่า และมีไขมันเพิ่มขึ้น 2-22 %
อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนส่วนใหญ่มักจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งส่งผลทางอ้อมให้ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูงขึ้น
ท่านแนะนำว่า โรคภัยไข้เจ็บยุคใหม่หลายโรคอาจจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินอาหารดังต่อไปนี้...
-
ภาวะซึมเศร้า:
โรคซึมเศร้า (depression) อาจมีความสัมพันธ์กับการกินปลาน้อยเกิน โดยเฉพาะปลาทะเล ซึ่งมีน้ำมันคุณภาพดีตระกูลโอเมก้า-3 น้อย - ตัวอย่างอาหารที่มีน้ำมันโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาทะเล อาหารทะเล เมล็ดฟักทอง ฯลฯ
- โรคจิตเภท:
โรคจิตเภท (scizophrenia) อาจมีความสัมพันธ์กับการขาดกรดไขมันจำเป็น - กรดไขมันจำเป็นมีมากในน้ำมันปลา และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ (ปาล์มและกะทิมีไขมันอิ่มตัวสูงมาก จึงควรใช้แต่น้อย)
- โรคอัลไซเมอร์:
โรคสมองเสื่อมในคนสูงอายุหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) อาจมีความสัมพันธ์กับการกินผักน้อย มีการศึกษาพบว่า การกินผักให้มากพอเป็นประจำช่วยป้องกันโรคนี้ได้
- โรคสมาธิสั้น:
โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) อาจมีความสัมพันธ์กับการขาดธาตุเหล็ก และกรดไขมันจำเป็น ธาตุเหล็กมีมากในเนื้อสัตว์ เลือดสัตว์ ผักใบเขียว และงา -
กรดไขมันจำเป็นมีมากในน้ำมันปลา น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
ฯลฯ (ปาล์มและกะทิมีไขมันอิ่มตัวสูงมาก
จึงควรใช้แต่น้อย)
คำแนะนำ:
ถึงแม้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจะไม่รับรองความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสุขภาพจิตแบบฟันธงลงไป กล่าวไปในทำนองว่า "อาจจะ"
แต่เรื่องนี้ก็นับเป็นข่าวดีที่ว่า อาหารที่ดีกับร่างกายมีแนวโน้มจะดีกับสุขภาพจิตด้วย
การกินข้าวกล้อง ถั่ว ปลา งา ผัก และผลไม้พอประมาณ กินปลาทะเลสัปดาห์ละ 2 ครั้ง กินข้าวทำเองที่บ้านมากขึ้นหน่อย กินอาหารสำเร็จรูปให้น้อยหน่อย ใช้น้ำมันพืชดีๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ฯลฯ ลดการใช้น้ำมันปาล์มและกะทิลง การไม่ดื่มเหล้า
การออกกำลังกาย เช่น เดินเร็วอย่างน้อยวันละ 30 นาที ฯลฯ และการใช้แรงในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเดินขึ้นบันไดแทนลิฟต์เป็นประจำ มาตรการเหล่านี้ดีกับร่างกายและสุขภาพจิตอย่างมากมาย
การเดินขึ้นบันไดมีความสำคัญต่อสุขภาพมาก(ถ้าแข็งแรงพอ) เนื่องจากเป็นการออกแรงต้านน้ำหนักตัวคล้ายกับการยกน้ำหนัก ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อขาและลำตัวท่อนล่างไม่ให้ลดลงตามอายุ แถมยังประหยัด ไม่ต้องเสียเงินค่าสมาชิกศูนย์ออกกำลัง
กล้ามเนื้อมีการเผาผลาญอาหารเป็นพลังงานมาก เมื่อมีมวลกล้ามเนื้อมากจะไม่อ้วนง่าย เรื่องนี้ทำให้นึกถึงเสื้อยืดหลายตัวที่พิมพ์ข้างหลังว่า “สุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวเรา”...
แนะนำให้อ่าน:
- รวมเรื่องสุขภาพ > "เนื้อ"
- [ Click - Click ]
- รวมเรื่องสุขภาพ > "สมอง"
- [ Click - Click ]
- รวมเรื่องสุขภาพ > "อาหาร"
- [ Click - Click ]
- บล็อก "สารคดีแบบสบายๆ" > "บ้านสาระ"
- http://gotoknow.org/blog/talk2u
แหล่งที่มา:
- ขอขอบคุณ > Mental health link to diet change. > http://news.bbc.co.uk/1/hi/health/4610070.stm > January 16, 2006.
- ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
- ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
- นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๑๙ มกราคม ๒๕๔๙