ยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security)


      ผมได้ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดกรอบ แนวทาง และวิธีการจัดทำ Scenario ความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อ 17 มกราคม 2549 มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุมประมาณ 15 คน
      ในเรื่องนี้ผมมีความเห็นว่า การมอง “สถานการณ์ความเป็นไปได้ในอนาคต” (Scenario) ที่จะเกี่ยวโดยตรงหรือโดยอ้อมกับ “ความมั่นคงของมนุษย์” (Human Security) สามารถมองในมิติต่างๆที่สำคัญ คือ (1) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การเมืองการปกครอง (3) เศรษฐกิจ (4) สังคมวัฒนธรรม (5) สุขภาวะ (ทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปัญญาหรือจิตวิญญาณ)
      เมื่อคาดคะเนสถานการณ์ในอนาคตแล้ว ก็สามารถพิจารณาออกแบบ “ยุทธศาสตร์” เพื่อพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังอาจแบ่งได้เป็น
           1. “ยุทธศาสตร์เชิงวิธีการ” ที่อาจประกอบด้วย
                   (1)    การจัดการข้อมูลและความรู้ ("พลังปัญญา")
                   (2)    การสนับสนุนความเป็นองค์กรและเครือข่าย ("พลังสังคม")
                   (3)    การสื่อสารและรณรงค์ ("พลังสื่อ")
                   (4)    การมีนโยบายที่เหมาะสมทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ("พลังนโยบาย")
            2. “ยุทธศาสตร์เชิงเนื้อหา” ซึ่งควรเลือกเรื่องที่หากทำได้สำเร็จ (ภายในระยะเวลาหนึ่ง) จะมีความสำคัญและมีพลังอย่างมากต่อการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทย เช่น อาจจัดให้มี “จังหวัดอาสาสมัครปฏิบัติการเข้มข้นเพื่อพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์” ภาคละ 1 จังหวัด โดยมีเงื่อนไขว่า การอาสาสมัครต้องเป็นความเห็นพ้องและพร้อมจะร่วมมือรวมพลังกันระหว่าง “สามฝ่ายหลัก” ในเขตพื้นที่ของจังหวัดนั้นๆ อันได้แก่ (1) ฝ่ายประชาชน (2)ฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3)ฝ่ายราชการส่วนภูมิภาค
            ในการ “ปฏิบัติการเข้มข้นเพื่อพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์” ในแต่ละ “จังหวัดอาสาสมัคร” สามารถใช้ “ยุทธศาสตร์เชิงวิธีการ” ทั้ง 4 ข้อ ที่กล่าวข้างต้น โดยมีการประยุกต์ให้เหมาะสมตามควรแก่กรณีและสถานณ์การด้วย
            ควบคู่กับการ “ปฏิบัติการเข้มข้นเพื่อพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์” ใน 4 “จังหวัดอาสาสมัคร” ก็ควรมีการ “การจัดการความรู้” (Knowledge management) (รวมถึงการ จัดทำข้อมูล ศึกษา ค้นคว้า วิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ ระดมความคิดสร้างสรรค์ สรรสร้างนวัตกรรม ฯลฯ ตามควรแก่กรณี) ทั้ง 3 ช่วงเวลาของปฏิบัติการ คือ (1) “ก่อน”  ปฏิบัติการ (2) “ระหว่าง” ปฏิบัติการ และ (3) “ภายหลัง” ปฏิบัติการ
            ในขณะเดียวกัน จังหวัดอื่นๆที่ไม่ใช่ “จังหวัดอาสาสมัครปฏิบัติการเข้มข้น” ก็สามารถและควรจะดำเนินการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ไปเท่าที่จะพึงทำได้ โดยใช้ความพยายามของตนเอง ผสมกับ การจัดการความรู้” ทั้ง “ภายในจังหวัด” และ “ข้ามจังหวัด”
            ส่วนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควนมีบทบาทเป็น ผู้ส่งเสริม (Promote) สนับสนุน (Support) เอื้ออำนวย (Facilitate) สร้างความสามารถ (Enable) และเพิ่มพลัง (Empower) เป็นสำคัญไม่ควรไปเป็นผู้ปฏิบัติหรือดำเนินการเอง (Act หรือ Operate) หรือ ไปชี้นำ (Direct) 
            หมายเหตุ
            1. ความเห็นข้างต้น ส่วนหนึ่งได้ให้ไว้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ อีกส่วนหนึ่งเป็นความคิดที่เขียนเพิ่มเติม
            2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดให้มีการพัฒนา ตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์” (Human Security Indicators) ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัดใน 10 มิติ ดังนี้
                    (1)  ที่อยู่อาศัย
                    (2)  สุขภาพอนามัย
                    (3)  การศึกษา
                    (4)  การมีงานทำและรายได้
                    (5)  ความมั่นคงส่วนบุคคล
                    (6)  ครอบครัว
                    (7)  การสนับสนุนทางสังคม
                    (8)  สังคม – วัฒธรรม
                    (9)  สิทธิและความเป็นธรรม
                  (10)  การเมืองและธรรมาภิบาล
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12771เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ได้รับรู้มาตั้งแต่เด็กว่าความมั่นคงมนุษย์(ในความหมายที่เข้าใจเอง)ก็คือการมีพร้อมซึ่งปัจจัย 4 คือ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย   แต่ในสังคมตอนนี้ดูเหมือนจะไม่พอเสียแล้ว  จะวัดว่า "มนุษย์มีความมั่นคง" อย่างไรต้องดูกันถึง 10 มิติข้างต้น ก็ไม่รู้ว่าดูอย่างไร แล้ววัดได้จริงหรือ   ในแง่หนึ่งของความเชื่อ(ส่วนตัว) มิติด้านที่อยู่อาศัย การมีงานทำและรายได้ ความมั่นคงส่วนบุคคลหรือครอบครัว เป็นเรื่องภายในของตนเองว่าจะ "พอ"แค่ไหน ส่วนประเด็นอื่น ๆ เป็นเพียงบริบทที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  

ได้รับรู้มาตั้งแต่เด็กว่าความมั่นคงมนุษย์(ในความหมายที่เข้าใจเอง)ก็คือการมีพร้อมซึ่งปัจจัย 4 คือ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย   แต่ในสังคมตอนนี้ดูเหมือนจะไม่พอเสียแล้ว  จะวัดว่า "มนุษย์มีความมั่นคง" อย่างไรต้องดูกันถึง 10 มิติข้างต้น ก็ไม่รู้ว่าดูอย่างไร แล้ววัดได้จริงหรือ   ในแง่หนึ่งของความเชื่อ(ส่วนตัว) มิติด้านที่อยู่อาศัย การมีงานทำและรายได้ ความมั่นคงส่วนบุคคลหรือครอบครัว เป็นเรื่องภายในของตนเองว่าจะ "พอ"แค่ไหน ส่วนประเด็นอื่น ๆ เป็นเพียงบริบทที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  

ผมขอร่วมวง   เสนอว่า น่าจะมักน้อย โดยจากระดับ หมู่บ้าน ที่อาสาสมัคร ตามหลักการที่ว่า เช่น หมู่บ้านปลอดสุรา แบบ อาสาสมัคร เพื่อวาระ 60 ปี ครองแผ่นดินโดยธรรม

   เพื่อเรียกความเชื่อมั่นคืนหมู่บ้านที่เริ่มจะแข็งแรง ให้ลองทำเรื่องที่ยากนิดหน่อย แต่มีหลายหมู่บ้านในประเทศเขาทำได้จริง ก็น่าจะลองทำดู เช่น หมู่บ้านเรา ตกลงกันว่า จะไม่ขายสุรา ได้มั้ย   หมู่บ้านเรา จะลองเลิกเหล้าเข้างานศพ งานแต่ง  เราจะพัฒนาสูตรเครื่องดื่มบำรุงธาตุ ประจำหมู่บ้าน แทน เช่น น้ำมะขามป้อม   น้ำสมอ  น้ำผลไม้อื่นๆ ตามภูมิปัญญา บรรพบุรุษ  ที่กลุ่มอินแปง ได้เคยทำมา  แต่ ที่อินแปง มีไวน์ผลไม้    ซึ่งถือว่าไวน์เป็นน้องชายของสุรา  จึงไม่ควรส่งเสริมให้กินไวน์ แต่กินสดดีกว่า  หรือ บรรจุขวดเป็นหัวเชื้อเข้มข้นผสมน้ำ

ไม่ขาดสติ ไม่เปลืองสตางค์  ได้ฟื้นคืนภูมิปัญญา             ชีวิตย่อมมั่นคง   ดังบรรพบุรุษไทยในอดีต

 

 

ผมมองว่า ตัวชี้วัดทั้ง 10 มิติ เป็นด้าน result

ในขณะที่ความรู้ ในการพัฒนาความมั่นคง จะเป็นด้าน how-to

การจะคิดตัวชี้วัด ต่อให้ดีขนาดไหน ก็ไม่พอ  ต้องมี howto ว่า
จะทำอย่างไรให้ได้ result เหล่านั้น  ซึ่งผมเชื่อว่า KM จะช่วย
ได้มาก  และจะคอยติดตามข่าวความคืบหน้าต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท