เมื่อวาน(18ม.ค.)ผมนำเสนอแนวคิดโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครเริ่มจาก400หมู่บ้านกับพรรคพวกวงเรียนรู้คุณอำนวยที่ทำงานร่วมกันมาตลอด
ผมลองคำนวณกลุ่มเป้าหมายของโครงการซึ่งครอบคลุมครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 100 ครัวเรือนรวม400 หมู่บ้านเท่ากับ 40,000 ครัวเรือน
1)คุณกิจเป้าหมายครัวเรือนละ1คนจำนวน 40,000 คน
2)แกนนำหมู่บ้านเป้าหมายๆละ8คน รวม 3,200 คน
3)คุณอำนวยจากส่วนราชการตำบลละ 3 คนจำนวน165ตำบลรวม 495 คน
4)คุณเอื้ออำเภอๆละ 22 คนจำนวน23อำเภอรวม 276 คน
5)คุณเอื้อจังหวัดจำนวน 38 คน
การจัดการความรู้ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
1)ทีมวิทยากรในแต่ละวงเรียนรู้
2)ทีมวิชาการ
3)ทีมจัดการกลางเรื่องประสานงานและบัญชีการเงิน
ทราบจากจ่าจังหวัดว่าได้เสนอเรื่องถึงท่านผู้ว่าให้มีคำสั่งแต่งตั้งทีมทำงานแล้ว
ผมกำลังประสาน
1)หารือทีมเลขาวงเล็ก นอกรอบกันก่อนประกอบด้วยจ่าจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ผอ.กศน.จังหวัด สาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด ผอ.ธกส. คงหลังวันที่ 7ก.พ.ทีมนี้น่าจะเป็นทีมจัดการกลาง ให้จนท.ในส่วนงานที่รับผิดชอบดูแลในรายละเอียด
2)ทีมวิชาการ นัดหารือคณาจารย์ม.วลัยลักษณ์วันที่24ม.ค.นี้ เป็นทีมแกน โดยผมได้ข้อมูลจาก อ.เทิดพงศ์ เครือข่ายอาชีวะ สนใจร่วมงานด้วย คิดว่าน่าจะระดมอาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆในนครศรีธรรมราชเข้าร่วมทีมในระยะต่อไป
3)ทีมวิทยากรได้ประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายกับสรส.โดยพี่ทรงพล และสคส.โดยอ.หมอวิจารณ์ไว้แล้ว วันที่ผมนำเสนอแนวคิดที่สคส.(17ม.ค.) ภาคีต่างๆสนใจมากเพราะเป็นเงื่อนไขพิเศษที่ใช่ว่าจะหาได้ง่ายคือมี1)ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่ชัดเจนเรื่องการสร้างชุมชนเข้มแข็งและเข้าใจแนวคิดการจัดการความรู้อย่างทะลุปรุโปร่งมาเป็นแกนนำ(CKOส่วนราชการ) 2)มีน้าประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้านรางวัลแมกไซไซเป็นแกนนำขับเคลื่อนขบวนภาคประชาชนลงลึกรายครัวเรือนด้วยแนวคิดสภาผู้นำชุมชน(หมู่บ้าน) (CKOภาคชุมชน) โดยอาศัยเข้มทิศนำทางเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน และวิสัยทัศน์ เมืองแห่งการเรียนรู้ น่าอยู่และยั่งยืน เป็นกระบวนการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย
อย่างไรก็ตามแผนที่นำทางที่ร่างไว้ยังเป็นเพียงแผนที่ภาคสวรรค์ ต้องอาศัยพลังความร่วมมือ ความพากเพียรพยายามและความอดทนเพื่อทำให้เป็นจริงขึ้น