GotoKnow

คุยเรือง KM แบบเต็ม ๆ

นาย อภิรักษ์ เชษฐเผ่าพันธ์
เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2548 05:27 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:51 น. ()
จะเล่าแก่นแท้ของ KM ให้ฟัง

หากพูดถึงเรื่อง KM คงต้องถามว่า "สภาพแวดล้อมในองค์กรของท่านเป็นอย่างไร" (ของผม เจอแบบนี้แหละ) เช่น เวลาทำผิดมักผิดซ้ำซากในเรื่องเดิม ๆ, เวลามีพนักงานลาออกมักเป็นคนเก่ง ๆ (โง่อยู่ได้นาน! แต่เก่งทนไม่ได้ไปดีกว่า) สรุป พวกเค้าเหล่านี้ก็นำความเก่งติดไปด้วยทำให้องค์กรมีเท่าไหร่ได้เท่านั้น ไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย, อีกอย่างเวลาเรามีเรื่องที่ทำได้ดีหลายอย่างในองค์กรแต่ไม่มีการจัดการและนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง (พูดง่าย ๆ คือ เราไม่รู้เรื่องเพื่อน และเพื่อนก็ไม่รู้เรื่องเรา) , เวลาเรามีความคิดริเริ่มดีๆ หรือบางทีก็ซ้ำซ้อนกัน หรือเรื่องเดิม ๆ คิดแล้วคิดอีกทำซ้ำ ไม่ได้คิดใหม่เสียที อันนี้แหละคือที่มาของการต้องทำ KM ทีนี้ถ้าหากจะดูว่า KM คืออะไร (การจัดการความรู้) คงต้องมาดูก่อนว่าความรู้มาจากไหน โดยปกติแล้วก่อนจะมาเป็นความรู้ มันต้องเป็นข้อมูลข่าวสารมาก่อน กล่าวคือ (หิวข้าวจัง อันนี้บ่นเล่น ๆ )

          โดยปกติแล้วข้อมูล ข่าวสาร และความรู้มีความใกล้ชิดกันอย่างมาก แต่อันที่จริงแล้วทั้งสามสิ่งก็ยังมีข้อที่แตกต่างกันโดยคำว่า "ข้อมูล" (Data) นั้นหมายถึงเนื้อความของข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวมเก็บไว้โดยคำนึงถึงสาระที่เกิดจากข้อมูลเหล่านั้น เมื่อข้อมูลหลาย ๆ อันประกอบกันเพื่ออธิบายเรื่อง ๆ เดียวกันสิ่งนี้ทำให้เกิดคำว่า "ข่าวสารหรือสารสนเทศ" (Information) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีความหมายในเชิงเนื้อหาสาระสำหรับผู้รับ ส่วนคำว่า "ความรู้" (Knowledge) คืออะไร คำตอบก็คือ ความรุ้คือสิ่งที่รู้ไม่ว่าจะเกิดจากการเรียนรู้หรือจากประสบการณ์ที่สะสมมา ทั้งนี้ความรู้เกิดขึ้นมาจากวิธีการทางตรรกหรือการวินิจฉัยจากความรู้เดิมและประสบการณื ถ้าเรากล่าวว่าสารสนเทศคือข้อมูลบากกับความหมายแล้วละก็ ดังนั้นภูมิปัญญาก็คือ สารสนเทศบวกกับการประมวลผลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หรือความสามารถที่จะคิดหาทางออกหรือการแก้ปัญหาโดยการเปรียบเทียบกับสารสนเทศที่มีอยู่

เดี๋ยวมีต่อภาค 2 รอแป๊บน่ะ!


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย