องค์กรจำนวนมากประสบปัญหาในเรื่องของการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องในการรักษาจุดแข็งหรือความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรให้ดำรงอยู่ในองค์กรอย่างถาวร การพัฒนาองค์กรส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น และเมื่อกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทต่อความสำเร็จขององค์กรเหล่านี้ได้ออกจากองค์กรไปไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม ความรู้และความเชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่เคยเป็นส่วนที่สร้างความแข็งแกร่งขององค์กรมักจะหายไปพร้อมกับบุคคลดังกล่าวด้วย ในกรณีเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างมาก บางองค์กรอาจถึงกับวิกฤตทำให้องค์กรประสบกับปัญหาอาจถึงขึ้นที่ต้องเลิกดำเนินการเลยก็มี ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของการจัดการความรู้ทั้งสิ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เนื่องจากองค์กรไม่สามารถเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในบุคลากร (Personal knowledge) ให้กลายมาเป็นความรู้ขององค์กร (Organizational knowledge) ที่สามารถถ่ายทอดให้กับบุคลากรอื่นในองค์กรได้เพื่อให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น
การจัดการความรู้สามารถแบ่งออกเป็นกระบวนการย่อย ๆ ได้ดังนี้
1. การกำหนดความรู้และแหล่งของความรู้ (Knowledge identification)
2. การแสวงหาความรู้จากภายนอก (Knowledge acquisition)
3. การพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Knowledge creation/development)
4. การผสานความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (Knowledge integration)
5. การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer)
6. การจัดเก็บความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ (Knowledge storage and maintenance)
การจัดการความรู้มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของบุคคลและองค์กรในปัจจุบัน เพียงแต่เน้นการทำงานและการใช้งานให้เป็นกระบวนการที่เน้นในเรื่องของความรู้ทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย อภิรักษ์ เชษฐเผ่าพันธ์ ใน knowledge management
ไม่ทราบว่าคุณอภิรักษ์อยู่ในหน่วย KM ของรพ.มอ.ด้วยหรือเปล่าคะ ลอง share ความรู้ด้าน KM ให้อ่านกันบ้างนะคะ
ส่วนดิฉันจะเข้าบรรยายเกี่ยวกับ GotoKnow.org ในการประชุมตลาดนัดความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลใน จ.สงขลา ในวันเสาร์ที่ 11 มิย. นี้ อาจจะได้เก็บเกี่ยวความรู้ด้าน KM ในโรงพยาบาลมาบ้าง แล้วจะมาเล่าสู่กันฟังคะ