กัลยาณมิตร


กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตรคำว่า ผู้เป็นกัลยาณมิตร คือผู้เป็นมิตรที่ดี ผู้ตั้ง ( ตน ) อยู่ในฝ่ายเจริญ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ( ผู้อื่น )ไปฝ่ายเดียว กอบด้วยคุณ มีคุณอย่างนี้ คือ น่ารัก ๑ น่าเคารพ ๑ น่ายกย่อง ๑ เป็นผู้ว่ากล่าว ( คนอื่น ไม่เฉยเมย ) ๑ เป็นผู้ยอมให้ ( คนอื่น ) ว่ากล่าว ( ไม่หัวดื้อ ) ๑ แต่ง ( ธรรม ) ถกาอันลึกซึ้งได้ ๑ ไม่ชักชวน ( ผู้อื่น ) ในที่อันไม่ควร ๑ เป็นอาทิ ก็เพราะพระพุทธพจน์ว่า ดูกรอานนท์ จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิดได้ ดังนี้เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น เมื่อพระองค์ยังเสด็จอยู่ กรรมฐานที่ถือเอาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเท่านั้น จึงเป็นอันถือเอาอย่างดี แต่เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว บรรดาพระมหาสาวก ๘0 องค์ พระมหาสาวกองค์ใดยังทรงชีพอยู่ ถือเอา ( กรรมฐาน ) ในสำนักพระมหาสาวกองค์นั้น จึงควรแม้นพระมหาสาวกนั้นไม่มี ตนใคร่จะถือกรรมฐานบทใด ก็พึงถือเอาในสำนักพระขีณาสพผู้ที่ทำจตุกฌานหรือปัญจกฌานให้เกิดด้วยอำนาจกรรมฐานบท ( เดียวกับที่ตนใคร่จะถือ ) นั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาอันมีฌาน
นันเป็นปทัฏฐาน ( จน ) ได้บรรลุอาสวักขัย ( นั้น ) เถิด
ควรมีอาจารย์เป็นผู้แนะนำชี้ทางผิดและทางถูกให้ เพราะอาจารย์ก็นับเป็นจำนวน ๑ ใน ๓ ที่โยคีบุคคลจะละ
เสียมิได้ คือ อุปนิสฺสย อยู่ในสำนักอาจารย์ผู้สามารถ อารกฺข รักษาอินทรียให้สมบูรณ์ อุปนิพทฺธ ผูกจิตไว้ในอารมณ์กัมมัฏฐาน เหตุนี้จึงนับว่า อาจารย์เป็นบุคคลที่สำคัญยิ่ง ผู้ที่จะเข้าเป็นศิษย์ต้องพินิจพิจารณาให้จงหนัก แต่ไม่ควร
วิพากย์วิจารณ์ไปในทางที่เป็นโทษ เพราะอาจารย์ทุกท่านย่อมพากเพียรเกื้อกูล ให้เป็นคุณแก่ศิษย์ด้วยความ
เมตตากรุณา ในวิสุทธิมัคค แสดงองค์คุณของอาจารย์ไว้ว่า ๑. ปิโย เป็นผู้มีสีล เป็นที่รัก น่าเลื่อมใส เป็นที่รักใคร่ของสรรพสัตว์ เพราะความสมบูรณ์แห่งสีล ๒. ครุ เป็นผู้มีใจคอหนักแน่น น่าเคารพยำเกรง ๓. ภาวนีโย เป็นผู้ได้ฝึกฝนอบรมตนมาแล้วด้วยดีทั้งการเรียนและการปฏิบัติ มีสีลาจารวัตรอันดี
งามควรแก่การยกย่องสรรเสริญ ๔. วตฺตา เป็นผู้ที่สามารถแนะนำ ชี้แจงแสดงแนวทางแห่งการปฏิบัติได้ดี และถูกต้องด้วย ๕. วจนกฺขโม เป็นผู้ที่มีขันติอดทนพร่ำสอนศิษย์ไม่เข้าใจก็พยายามให้เข้าใจตามแนวทางแห่งการ
ปฏิบัติ และอดทนต่อการกล่าวล่วงเกินของศิษย์และผู้อื่น ไม่หวั่นไหวต่ออิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์นั้น ๆ ๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา สามารถแสดงวิปัสสนาภูมิให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจได้ด้วยวิธีการที่ สอนน้อยแต่
ให้ทำมาก ๗. โน ฐฏฺฐาเน นิโยชเย บอกทางที่ถูกให้ นอกจากนี้แล้วในมหาฏีกา ยังแสดงคุณสมบัติของผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ไว้อีกดังนี้ คือ ๑. สทฺธาสมฺปนฺโน โหติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ ๒. สีลสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสีล คือมีมารยาทอันดีงาม ๓. สุตสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยการศึกษา สามารถแสดงแนวทางแห่งการปฏิบัติได้ดี ๔. จาคสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ยอมเสียสละ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๕. วิริยสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ได้เคยเจริญกัมมัฏฐานมาแล้ว ๖. สติสมฺปนฺโน ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ ไม่เผลอ ไม่ประมาท ๗. สมาธิสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสมาธิ มีจิตตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระสับ กระส่าย ๘. ปญฺญาสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยปัญญา

คุณสมบัติของ กัลยาณมิตร นั้นต้องประกอบด้วย
๑. ปิโย แปลว่า เป็นที่รัก หมายถึง เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส อ่อนโยน น่าเข้าใกล้
๒. คะรุ แปลว่า เป็นคนน่าเคารพ หมายถึง เป็นคนวางตัวเหมาะสมกับทุกๆ คน ทุกๆ
สถานการณ์  เสมอต้นเสมอปลาย
๓. ภาวะนีโย แปลว่า เป็นคนที่คนอื่นพึงให้เจริญได้ หมายถึงเป็นคนผู้จะเอาดีได้ เป็น
คนว่านอนสอนง่าย
๔. วัตตา แปลว่า เป็นคนพูดเป็น หมายถึง มีจิตวิทยามีศิลปะในการถ่ายทด ในการตัก
เตือนเพื่อน
๕. วะจะนักขะโม แปลว่า เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ หมายถึงมีความเคารพ ตระหนักในคำ
ชี้แนะของบุคคลอื่น เหมือนมีคนมาชี้ขุมทรัพย์ให้
๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แปลว่า เป็นคนทำเรื่องลึกซึ้งให้เป็นเรื่องง่ายได้ หมายถึง
เป็นคนผู้สามารถพูด และทำเรื่องที่เหลือวิสัยคนทั่วไปได้ สามารถอธิบายธรรมะที่ลึก
ซึ้งให้เข้าใจ ให้คำปรึกษาแก่บุคคลผู้เป็นมิตรได้

๗. โน จัฎฐาเน นิโยชะเย แปลว่า ไม่ชักนำไปในทางที่ไม่ใช่ฐานะ หมายถึง ใครก็แล้ว
แต่ผู้มาคบตน ไม่แนะนำเขาไปในทางผิดๆ ในทางฉิบหาย จะแนะนำแต่ในทางสวรรค์
และพระนิพพานอย่างเดียว
                 กัลยามิตรจึงเป็นนักเสียสละผู้ยิ่งใหญ่ เหมือนพระโพธิสัตว์ผู้จะรื้อขนสรรพ
สัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ด้วยการแนะนำให้ผู้อื่นได้ดีโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก
เป็นภารกิจแห่งชีวิตอันเกิดจากการเห็นความสำคัญของ บุญของการสร้างบารมี เพราะ
เป็นหน้าที่ที่ต้องดูแลตัวของเราเองแล้ว ยังต้องมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #กัลยาณมิตร
หมายเลขบันทึก: 126645เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

 นับเป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์ มากๆเลยค่ะ ใครมีกัลยาณมิตรผู้มีคุณสมบัติ ครบถ้วน ให้หมั่นรักษา ไว้ให้ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท