สิ่งที่ได้เรียนรู้และประทับใจจากการเดินทางในโครงการ CRP


ครู คือ หลักสูตรที่เดินได้

 

 

เมื่อวันที่ 2 6  กันยายน พ.ศ. 2550  ผมและทีมงานได้มีโอกาสนำคณะผู้บริหารและฝ่ายวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเครือข่ายโรงเรียนปฏิรูปหลักสูตรโรงเรียนปอเนาะไปทัศนะศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซีย  สิงคโปร์  และอินโดนีเซีย  ภายใต้ชื่อโครงการ ปฏิรูปหลักสูตรสำหรับโรงเรียนปอเนาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : ประเทศไทยCurriculum  Reform  for Pondok in Southeast Asia : Southern Thailand  Section (CRP-PROJECT) โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิซาซากาว่า  ประเทศญี่ปุ่น              

 จากโครงการนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้และได้รับความประทับใจมากมาย  บางส่วนจากความประทับใจมีดังนี้

 1.  การให้ความสำคัญกับครูในการจัดการศึกษาและแนวความคิดในการสร้างครูของ ABIM ดังนี้“ครู คือ หลักสูตรที่เดินได้”

สิ่งที่ครูต้องมี

       -    ครูมีความสามารถในวิชาที่สอน

       -    ครูมีความสามารถในวิชาชีพครู  เช่น หลักการสอน วิธีการสอน จิตวิทยา      การผลิตและการใช้สื่อ  การวัดผลประเมินผล

                    -  มีบุคลิกภาพของความเป็นครู 

ลักษณะที่สำคัญของครู

            -          ความรัก (محبة)

            -          อดทน  (  صبر).

2. แนวคิดในการบริหารจัดการศึกษาภายใต้วิธีแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนอิสลามอัดนีย์ ท่าน   HJ.HASNI    MUHAMED  ทุกความคิด  ทุกกิจกรรม ของท่านต้องถูกรองรับโดยอัลกุรอ่าน และอัซซุนนะฮฺ  

3.  MOTTO ของ โรงเรียนอิสลามอัลอัดนีย์   คือ

العلم و التقوى سرّالفلاح            

ความรู้  และ ความยำเกรง คือ เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

หมายถึงการจัดการเรียนการสอนมิใช่เพื่อการสอบ   แต่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดการยำเกรงหรือ ตักวา โดยผ่านองค์ความรู้ (knowledge)    ดังนั้นคำว่า Education  กับ Tarbiah จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้

 

                  @ Education  มีกระบวนการ เพียงแค่  2 กระบวนการเท่านั้น คือ

 

                      -  การเรียนรู้ (Learning)

 

                        - การสอน (Teaching)  

 

                 @ Tarbiah  มี 5 กระบวนการ คือ

 

                       -  การเรียนรู้และการสอน  (Learning and Teaching)

 

                     - การสั่งสอน (Coaching)

 

                       - การฝึกฝน (Training)

 

                       - การแก้ปัญหา (Advertising)

                        -  การให้คำแนะนำและคำปรึกษา (Counselling)

4.   แนวคิดในการสร้างครูของโรงเรียนอิสลามนานาชาติอัดนีย์ ครูมิใช่เป็นเพียงแค่ مدرس  เท่านั้น  แต่ครู คือمربى  

5. เมื่อนักเรียนทำความผิด โรงเรียนอิสลามนานาชาติอัลอัดนีย์จะมีบทลงโทษด้วยการตักเตือนทุกเวลาที่ นัดเรียนว่างเว้นจากการเรียน  เช่น ช่วงเวลาก่อนเข้าเรียน  พักเที่ยง หลังละหมาดซูฮฺรีย์  และก่อนกลับบ้าน  ผู้ที่ทำหน้าที่อบรมได้แก่ครูประจำวิชา  ครูประจำชั้น  ครูฝ่าย MUTTAKEEN  DEPARTMENT  เรื่องที่อบรม  ตักเตือน  สามารถอบรมตักเตือนได้ทุกเรื่องที่สามารถทำให้นักเรียนเกิดความยำเกรงได้  ไม่จำเป็นเฉพาะเรื่องพฤติกรรมที่นักเรียนทำผิดเท่านั้น

6. ที่ IIUM / UIA ประทับใจแนวคิด 3ICE คือ             

       I : International         

       I : Islamization             

      I : Integration              

     C : Comprehention               

     E : Excellence

7. MUTTAKEEN  DEPARTMENT ซึ่งเป็นส่วนงานที่รับผิดชอบดูแลพฤติกรรมของนักเรียนของโรงเรียนอิสลามนานาชาติอัลอัดนี   โดยที่ทางโรงเรียนได้ผนวกงานปกครองและงานแนะแนวให้มาอยู่ด้วยกันภายใต้แนวคิดให้การดูแล  ให้คำปรึกษาและการแนะนำแก่นักเรียนมากกว่าการควบคุม   มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนให้เป็นบุคคลที่ตักวา

8. ความสามารถในการจัดการสังคมมุสลิมในประเทสสิงคโปร์โดย Majlis Ugama Islam Singapura (MUIS)    ทำให้มุสลิมอยู่ท่ามกลางสังคมที่หลากหลายทางเชื้อชาติ   และสังคมที่มีการแข่งขันสูง   ได้อย่างภาคภูมิใจ   ประทับใจในการรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมได้อย่างเข้มแข็ง    ประทับใจในการช่วยเหลือกันในการจัดการศึกษาของมุสลิมสิงคโปร์  โดยที่มุสลิมทุกคนเสนอให้ (MUIS)   ตัดเงินเดือนของตัวเอง 4 – 5 %  เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาและบริหารกิจการศาสนาอิสลาม   เพราะว่ารัฐบาลของประเทศสิงคโปร์ไม่ให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดการศึกษาแก่ทุกเชื้อชาติและทุกศาสนา   ประทับใจในการเสียสละของมุสลิมสิงคโปร์ซึ่งเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง  

9. การจัดการเรียนการสอนภาษาอาหรับของโรงเรียนอัลอิรชาต  ประเทศสิงค์โปร์  ที่สามารถทำให้นักเรียนสามารถสื่อสารด้วยภาษาอาหรับได้อย่างดี

10. ประทับใจกับการ Shopping ในเกาะบาตัม  ประเทศอินโดนีเซีย   เพราะเป็นโอกาสเดียวของชีวิตกระมังที่มีโอกาสซื้อของด้วยเงินราคาแสน  เงินล้าน....ถึงแม้จะเป็นตระกูลเงินรูเปียอินโดนีเซียก็ตาม

 

หมายเลขบันทึก: 126293เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้อ่านแล้วครับ

ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ที่มาเล่าสู่กันฟัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท