Mind Management


บรรยากาศในการทำงานที่มีความขัดแย้งก่อให้เกิดเรียนรู้และระวัง "ใจ เชาวน์ ความตั้งใจ และความคิด" ของตนเอง

แม้ว่าผมจะจบดอกเตอร์สาขากิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม ที่ดูเหมือนจะเชี่ยวชาญเทคนิควิธีการบริหารความคิด จิตใจ ความรู้ความเข้าใจ และการเข้าสู่กิจกรรมทางสังคมอย่างมีทักษะ เช่น การจัดการความเครียด การจัดการปัญหาการดำเนินชีวิต การจัดการความล้าในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การจัดการเวลา การจัดการการใช้จ่าย การจัดการระบบความรู้และเหตุผล การใช้เวลาว่างให้สมดุลกับการทำงานเป็นต้น รายละเอียดวิธีการ ขอเชิญชวนผู้อ่านติดตามจากเวปหนึ่งของต่างประเทศ คือ http://www.mindtools.com/

แต่ขณะเริ่มพัฒนาตนเองในการบริหารในปัจจุบัน ต้องพบปะผู้ร่วมงานหลากหลายอารมณ์และความคิด บางครั้งผมก็ต้องกลับมานั่งพิจารณา "ใจ เชาวน์ ความตั้งใจ และความคิด" ของตนเอง 

เมื่อเช้านี้ ผมก็ได้ถ่ายทอดประสบการณ์แก่น้องๆ กิจกรรมบำบัดมหิดลเรื่อง การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองในการนำไปปรับปรุงจุดอ่อนในการทำงาน น้องๆทุกคนได้มักไม่พยายามมองศักยภาพ (ทักษะความสามารถในการทำงาน) ของตนเอง แต่มองเพียงจุดอ่อนของตนเองที่ไม่มีการพิจารณาหาเทคนิคการปรับปรุงแก้ไข

ผมเลยใช้ประสบการณ์ที่เรียนมาในการ "มอง พิจารณา และวิเคราะห์ใจ เชาวน์ ความตั้งใจ และความคิดของน้องๆ ด้วยการสังเกตการกระทำและการถ่ายทอดความคิดขณะทำงานหรือสนทนา" 

ยกตัวอย่างเช่น น้องท่านหนึ่งมีความรู้ค่อนข้างละเอียดและเรียนรู้สิ่งๆใหม่เร็ว แต่ชอบนิ่งเงียบ (เหมือนจะอดทนหรือควบคุมอารมณ์) และกลัวที่จะดึงความรู้มาใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ขณะที่น้องอีกท่านหนึ่งมีความพยายาม ค่อยๆ คิดเพื่อแก้ไขปัญหา แต่มีการจัดการใช้เวลาตัดสินใจค่อนข้างช้า หรือน้องอีกคนหนึ่งมีความคิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ แต่บางครั้งมีความคิดที่ไม่ยืดหยุ่นและคิดไปเองมากเกินไปด้วยความใจร้อน ทำให้เกิดความรู้สึกท้อถอยได้ง่ายเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่เคร่งเครียด

จากตัวอย่างของน้องสามท่าน พวกเค้าต้องได้รับการฝึกฝนเรื่อง time management, stress management, problem-solving skill training และรายละเอียดเหล่านี้ก็อยู่ภายให้การเตรียมความพร้อมด้าน Mind management ครับ

เมื่อวานนี้ผมก็ต้องใช้การจัดการ "ใจ" อยู่ระดับหนึ่ง เพราะตกใจ เรื่องปัญหาการใช้จ่าย ปัญหาความก้าวร้าวของเพื่อนร่วมงาน (ไม่รับรู้ความผิดพลาดของตนเอง-ไม่ติดตามงาน-ตำหนิผู้ที่ช่วยเหลืองาน) ปัญหาของผู้ป่วยทางสมองที่ต้องคอยปรับปรุงอารมณ์ในขณะฝึกเทคนิค feeding therapy และปัญหาบรรยาการในการทำงานที่ต้องใช้ความอดทนสูง (เมื่อหลายคนไม่ช่วยทำงาน)

และแล้วมีสองภาพที่เกิดขึ้นใน "ใจ" คือ ภาพแรกของการตอบโต้ด้วยความโกรธอย่างรุนแรงเพื่อให้คนรอบข้างเข้าใจว่าเราถึงจุดเดือดสุดๆแล้ว กับภาพที่สองของการนิ่ง สงบ และพิจารณา "ใจ" ของตนเอง ให้เรียนรู้การพัฒนาปรับปรุง "ใจ" ของตนเอง และใช้วิธีการแก้ไขความขัดแย้งด้วยศีล สมาธิ และปัญญา

ลองทายซิครับว่า ผมเลือกกระทำภาพใดใน "ใจ"

ก่อนจะละบันทึกนี้ไป ผมมีธรรมะ...ให้คุณ ให้กัลยาณมิตรทุกท่านใช้เป็นสันติวิธีในการจัดการ "ใจ" ครับ

ถ้าเรายังไม่เข้าใจ ใจ ของเราเองเราก็จะแก้ไขปัญหาทางใจไม่ได้พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงสอนให้หมั่นสังเกตดูใจเฉยๆโดยไม่ต้องทำอะไรไม่ต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆแล้วปัญหาคาใจ ก็จะหมดไปปัญหาเกิดขึ้น เพราะเราลืมดู เรามัวแต่ไปมองดูคนที่เราขัดใจ เราก็เลยขัดใจเขาอยู่เรื่อยๆ นี้เป็นการมองผิดตัว พระอาจารย์มานพ อุปสโมหนังสือธรรมะเรื่อง ทำอย่างไรให้ใจถึงธรรม 

 

หมายเลขบันทึก: 125888เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สวัสดีครับ
  • เห็นชื่อบันทึกนี้ รีบแวะมาเยี่ยมก่อนครับ แล้วจะกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีหลังครับผม

ขอบคุณครับคุณข้ามสีทันดร

ขอให้มีความสุขในวันหยุดครับ

  • น่าจะเลือกวิธีที่สองนะ
  • แต่พี่สนใจเรื่องนี้
  • problem-solving skill training
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครับพี่ขจิต

ผมได้เลือกสันติวิธีครับ

มีลิงค์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ problem solving skill training ที่ http://www.mindtools.com/pages/main/newMN_TMC.htm

ตอนนี้ผมลองใช้เทคนิคบางอย่างกับผู้ป่วยอัมพาตอยู่ครับ

โชคดีวันหยุดครับพี่ชาย

สวัสดีค่ะดร.ป๊อป ดีใจจังที่อาจารย์มีความละเอียดอ่อนในการมองกลับเข้ามาที่ตนเองด้วย ไม่มองวิเคราะห์เฉพาะผู้อื่น การเข้าใจตนเอง มองเข้าภายในตนเอง นำไปสู่การพบความสุขในการใช้ชีวิตทุกด้าน

ใช่เลยค่ะ ตามคำสอนทางพุทธศาสนาเราต้องมีความเข้าใจในตนเองก่อน ตามรู้ ให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตน การเจริญสติ จึงไม่ใช่เรื่องของการศรัทธาทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นวิธีที่สามารถใช้เป็นสากลได้นะคะ

ขอบคุณครับอาจารย์ยุวนุช

จริงๆ "การเข้าใจตนเองอย่างถูกต้องและลึกซึ้ง" ก็มีความยากบ้างในบางโอกาส แต่ผมจะพยายามเรียนรู้และฝึกฝนต่อไปในชีวิตของการทำงานครับ

 

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • อ่านแล้วดีจังค่ะ
  • ป้าแดงพยายามดูแลใจของตัวเองเหมือนกัน
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับป้าแดง

ขอให้มีความสุขในวันหยุดและวันทำงานครับ

  • กลับมา ลปรร. อีกครั้งตามสัญญาครับ
  • งานของอาจารย์น่าสนใจมากครับ ทำงานโดยโฟกัสที่ใจ ใจเขาบ้าง ใจเราบ้าง
  • ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ยกมาของน้องทั้งสามท่าน ผมเห็นว่ากิจกรรม Mind training ร่วมกับทั้ง 3 เรื่องที่อาจารย์เสนอไว้...คงจะเป็นสูตรที่กลมกล่อมดีนะครับ...เพราะทั้งหมดก็เป็นองค์ประกอบของภาวะผู้นำ
  • ผมสนใจคำว่า Mind management รบกวนอาจารย์ช่วยขยายความสักเล็กน้อย...ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับคุณข้ามสีนันดร ที่ติดตามอีกครั้ง

ในทางกิจกรรมบำบัด วิชาชีพทางการแพทย์นี้ช่วยพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต ในหลายๆองค์ประกอบ

Mind Management เป็นคำที่ผมนำมาจากหลักการจัดการชีวิตของตนเอง (self-management) กับหลักการใช้กิจกรรมบำบัดพัฒนาจิตสังคม (psychosocial occupational therapy) เน้นการเรียนรู้สภาวะจิตใจและนำศักยภาพของตนผ่านกระบวนการทางจิตใจมาพัฒนาตนเองในการทำกิจกรรมทางสังคม

เช่น การจัดการความเครียดเพื่อพัฒนาบทบาทของตนเองในการเป็นผู้บริหารในหน่วยงานหนึ่ง เป็นต้น

หากสนใจในรายละเอียดอื่นๆ สามารถติดต่อได้เพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท