เมื่อ Dr. "งง" เรื่อง Visual Perception


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มทักษะการรับรู้ทางสายตาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนของเด็กนักเรียน - ถือว่าเป็นบทบาทเด่นของนักกิจกรรมบำบัดในโรงเรียน คลิกดู http://www.skillsforlearning.net/visual-perception-skills-for-learning.htm

เมื่อวาน morning talk on cases of interest จากน้องๆนักกิจกรรมบำบัด คลินิกกิจกรรมบำบัดมหิดล

เด็กน้อย delayed communication อายุไม่เกิน ๒ ขวบ ได้รับการประเมินจากนักกิจกรรมบำบัดท่านหนึ่ง แต่ยังไม่ทราบปัญหาชัดเจน เพราะเด็กน้อยมีปัญหาการตอบสนองคำสั่งในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ปกครองก็พยายามอยากให้อ่านออกเขียนได้ ทำให้นักกิจกรรมบำบัดพยายามที่จะตั้งเป้าหมายของ "การฝึกเขียนในรูปแบบทักษะทางการเรียน" แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักกิจกรรมบำบัดมือใหม่กับอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ก็ได้แง่คิดที่น่าสนใจคือ

  • บางครั้งควรประเมินความสามารถทางการเขียนเป็นสองระดับ ได้แก่ non-academic writing (e.g. drawing, free writing, painting) & academic writing (e.g. letter or figure writing, writing together with reading in good sequences)
  • เด็กที่น่าจะมีปัญหาทางการเรียนและควรได้รับการประเมิน ควรมีอายุตั้งแต่หกปีขึ้นไป หรือ ควรมองปัญหาเบื้องต้นอื่นๆ เช่น self-care activities with hand or manipulative task หรือ play activities with free writing ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่าหกปี
  • การเขียนตัวหนังสือกลับหัว อาจจะมีปัญหาการรับรู้ทางสายตา นักกิจกรรมบำบัดต้องประเมินและทำความเข้าใจอย่างละเอียด (ผมเริ่ม "งง" เพราะปัญหาการเขียนดังกล่าวมีหลายมิติของการวิเคราะห์ปัญหา...เลยจำเป็นต้อง "ขอค้นคว้าเพิ่มเติม" ...โชคดีที่มีเวปของนักกิจกรรมบำบัดต่างประเทศที่น่าสนใจครับ ลองคลิกที่ http://www.skillsforlearning.net/visual-perception-skills-for-learning.htm

"คำตอบเพื่อให้ผมหายงง คือ Reversing of alphabet figure from b to d indicates kids have a problem in position in space perception, whereas writing and reading b for d indicates kids have a problem in spatial relation perception."

 

หมายเลขบันทึก: 125460เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตาม link ไปไม่เจอเลยค่ะ กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่ และเปิดมาเจอความรู้เพิ่มเติมจากอ.ป๊อป

ขอบคุณค่ะ

ขออภัยที่ link นั้นหายไป ผมแนะนำให้ค้นจาก google โดยพิมพ์คำว่า Visual Perception Training

หากไม่ได้ คุณ N_OT สามารถอีเมล์มาถามผมได้ครับ

ผมขอบันทึกคำถามที่น่าสนใจจากนักศึกษาท่านหนึ่งครับ

คำถามนักศึกษา: หนูอยากรบกวน อาจารย์ ให้ช่วย อธิบาย เรื่อง position in space กับ spatial relation อีกครั้งคะ

ว่า มันมีจุดต่างยังไง แล้ว วิธี ทดสอบ ที่ จะบอกว่า คนไข้มีความ ผิดปกติอันไหน คะ

คำตอบ ดร.ป๊อป: สวัสดีครับ นักศึกษาสามารถประเมินได้สองระดับ คือ

1. ระดับสามมิติ ได้แก่ Position in space คือ การรับรู้ตำแหน่งในพื้นที่ของภาพการมองเห็นแบบกว้าง ยาว ลึก วิธีทดสอบ เช่น คนไข้รับรู้ตัวเองว่านั่งบนเก้าอี้ที่ตั้งอยู่ทางขวาของผู้บำบัดได้หรือไม่ ลองทำซ้ำไม่เกิน 2 ครั้ง โดยผู้ทดสอบไม่ชี้นำ การทดสอบอาจทดลองเปลี่ยนตำแหน่งต่างๆ

ขณะที่ Spatial relation คือ การรับรู้ตำแหน่งที่สัมพันธ์กันในพื้นที่ของการมองเห็นแบบกว้าง ยาว ลึก วิธีทดสอบจาก Position in space ข้างต้น เช่น คนไข้ลองจัดตำแหน่งของเก้าอี้ให้อยู่หลังผู้บำบัดแล้วยืนข้างซ้ายมือผู้บำบัดพร้อมส่งลูกบอลให้ผู้บำบัดถือที่มือขวา เป็นต้น

อยากสอบถามเกี่ยวกับ position in space นะค่ะ ว่า มีความผิดปกติ ของสมองส่วนไหน ค่ะ และมีข้อมูลแบบระเบียดๆ มั้ยค่ะ รบกวนด้งยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

แนะนำให้คุณ deeunsaya ค้นข้อมูลละเอียดผ่าน Google scholar เพราะข้อมูลที่ละเอียดส่วนใหญ่จะมีหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มผู้ใหญ่ที่บกพร่องทางระบบประสาท และกลุ่มผู้สูงอายุที่บกพร่องทางความรู้ความเข้าใจ เลยไม่แน่ใจว่าจะใช้ในกลุ่มใดเฉพาะ สำหรับ Position in Space ที่ผิดปกติจะเรียกรวมอยู่ใน Spatial Relation Syndrome พบในพยาธิสภาพในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของสมอง ขออภัยที่ตอบช้าครับผม

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะค่ะ ^^ @Dr.Pop

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท