๒๓ กระบวนท่าวิชาฟ้นฟูท้องถิ่น


  หลังจากเมื่อวานได้เกริ่นไว้แล้วตอนหนึ่ง...หนูKM…ได้กลับไปอ่านหนังสือดีเล่มนี้แล้วคะวันนี้เลยนำเอา ๒๓ กระบวนท่านั้นมาเล่าสู่กันฟัง...แต่ยังอ่านไม่จบนะคะ...เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นการถอดบทเรียนจากการได้เรียนรู้และการปฏิบัติจริงทำให้ผู้อ่านเห็นภาพตามไปด้วย...หนูKM จะนำเอาเกร็ดความรู้ที่ได้บางเรื่องมาประยุกต์ใช้เช่น การทำงานกับชุมชนเราต้องมีเครื่องมือในการมองชุมชน มองแยกส่วนให้ถูกต้องจะทำให้เราคิดเป็นระบบ เครื่องมือการมอง คือ  1.มองความคิดความเชื่อ 2.ทรัพยากรในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง 3.การจัดสรรทรัพยากร/การผลิต หรืออาชีพของคนในชุมชนนั่นเองคะ และ 4.มองให้เห็นถึงระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชนว่าเป็นอยู่แบบไหน ซึ่งหนูKM คิดว่าหากเราสามารถมองแยกส่วนได้แล้ว ก็จะสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบ (หนูKM พอจะเดาคำตอบที่เคยตั้งไว้ในบล็อคว่า อะไรคือการคิดเชิงระบบ????...ซึ่งไม่มีใครเข้ามาให้ความกระจ่างในประเด็นนี้เลย...โชคดีมากคะที่ได้หยิบเอาหนังสือเล่มนี้มาอ่าน..ถึงจะยังไม่เข้าใจชัดเจนเท่าที่ควรแต่ก็จะพยายามหาคำตอบไปเรื่อย ๆ คะ)

                นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการเข้าไปสร้างความเข้าใจ เข้าไปทำกระบวนการใด ๆ กับชุมชน ใช่ว่าจะมีวิธีการแค่จัดประชุม สัมมนา โดยใช้กระดาษบรู๊ฟและปากกาอย่างเดียวแต่การนำเกมเข้าไปเสริม หรือมีกิจกรรมไปทำ และสรุปผลจากการทำกิจกรรมนั้นจะสร้างความเข้าใจที่ดีและชัดเจนมากกว่าแบบวิชาการ...ลองอ่านกระบวนท่าทั้ง ๒๓ ดูนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง....เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมอีกคะ

1)      พัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานองค์ความรู้และภูมิปัญญา

2)      การฟื้นฟูชีวิตชุมชนท้องถอ่นต้องเอาชีวิตตัวเองเป็นที่ตั้ง

3)      วิเคราะห์ปัญหาจากล่างขึ้นบน

4)      ไหลข้อมูลข่าวสารกลับสู่ชุมชนท้องถิ่น

5)      สร้างการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างอำนาจท้องถิ่น

6)      สำนึกรักบ้านเกิด

7)      ร้อนก็ต้องร้อนให้เป็น เย็นก็ต้องเย็นให้ได้

8)      กุศลบวกนโยบายเป็นกุศโลบาย

9)      ปลดหนี้ด้วยสมุดบันทึกกับการทดลอง

10)   ชีวิตเกษตรรอดคนเดียวไม่ได้

11)   ผืนดินกำหนดตัวเองไว้แล้วว่าเหมาะกับอะไร

12)   สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก

13)   ลบความคมของตนเอง (ลดความสำคัญของตัวเองลงนะคะ ให้ความสำคัญคนอื่นมากขึ้น)

14)   ความหมายของคำว่า “ชุมชนเข้มแข็ง”

15)   ต้นแบบประชาธิปไตยใน อบต.

16)   มิใช่ผู้ถูกท่องเที่ยว

17)   วิทยาลัยชาวบ้านกับการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์

18)   ต้องสร้างคนก่อน

19)   หลักสูตรท้องถิ่น : ในและนอกรั้วโรงเรียน

20)   กองกำลังตรวจป่า : จากป่าถึงโรงเรียน ถึงโรงพยาบาล

21)   พื้นที่สีเทาระหว่างหน่วยงานรัฐกับชุมชนท้องถิ่น

22)   บูรณาการเครือข่ายแบบเพื่อนไม่ทิ้งกัน

23)   ฟื้นฟูด้วยธรรมะ

จาก ...ถอด ๒๓ กระบวนท่า วิชาฟื้นฟูชีวิตท้องถิ่น

โดยเครือข่ายภาคีความร่วมมือการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ

เครือข่ายองค์กรชุมชน 15 จังหวัดภาคเหนือ

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน)

สำนักงานปฏิบัติการภาคเหนือ

หมายเลขบันทึก: 12514เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2006 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท