chalerm2007
นาย เฉลิม พงศ์พิพัฒนพันธุ์

สมรรถนะของผู้บริหาร


ความหมาย...

สมรรถนะของผู้บริหาร                สมรรถนะ(Competency)  เป็นกลุ่มคุณลักษณะพื้นฐานที่แสดงถึงความรู้     ทักษะ  แนวความคิดส่วนบุคคล     ค่านิยม     ความเชื่อ    ทัศนคติและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานสามารถแยกผู้ที่ปฏิบัติงานได้อย่างยอดเยี่ยมจากผู้ปฏิบัติงานทั่วๆไป  สมรรถนะเป็นเหตุให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดีจึงได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารมากยิ่งขึ้น  และเป็นสิ่งที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเห็นความสำคัญ  สมรรถนะจึงหมายถึง  คุณลักษณะของบุคคลที่ประกอบด้วยส่วนของสมรรถนะหลักของแต่ละบุคคล  และส่วนของสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ   ซึ่งจะทำให้งานมีประสิทธิภาพโดยคุณลักษณะเหล่านี้ประกอบขึ้นจากความรู้  ทักษะ  และลักษณะภายในซึ่งเป็นส่วนที่ไม่แสดงออกของแต่ละบุคคลด้วย    สมรรถนะมี  2  ประเภทคือ  สมรรถนะหลัก(Core  Competency)เป็นคุณสมบัติที่พนักงานทุกคนต้องมีเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จขององค์กร เช่น  ความรอบรู้เกี่ยวกับองค์กร  ความซื่อสัตย์  ความใฝ่รู้  ความรับผิดชอบ  ความคิดเชื่อมโยง  เป็นต้น  สมรรถนะในงาน (Functional  Competency)เป็นสมรรถนะที่พนักงานที่ปฏิบัติงานด้านนั้นๆพึงมี เพื่อให้งานสำเร็จ  และได้ผลผลิตตามที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่1 สมรรถนะร่วมของทุกตำแหน่ง(Common  Functional  Competency)เป็นคุณลักษณะที่บุคคลทุกตำแหน่งงานในกลุ่มงานหรือแผนกเดียวกันต้องมี ลักษณะที่2 สมรรถนะเฉพาะของตำแหน่งงาน(Specific  Functional  Competency)เป็นคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละตำแหน่งในกลุ่มงานนั้นๆ              ต่อมาได้มีผู้นำหลักสมรรถนะมาใช้ในงานด้านบริหาร และยังมีการสร้างตัวแบบสมรรถนะด้านบริหารไว้จำนวนมาก  ซึ่งตัวแบบสมรรถนะด้านการบริหารเป็นกลุ่มหนึ่งของตัวแบบสมรรถนะเกี่ยวกับงานในหน้าที่(Job  Competency) เพราะงานด้านบริหารมีความสำคัญและยอมรับโดยทั่วไปว่ามีความเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างมีสมรรถนะมากกว่างานด้านอื่นๆสมรรถนะทั่วไปของผู้บริหาร ซึ่งพัฒนาโดยวิธี Job  Competency  Assessment  ( JCA) ประกอบด้วย  แรงกระทบและอิทธิพล  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะจูงใจ  ทำให้เชื่อมั่น  การใช้อำนาจหรือการทำให้ผู้อื่นประทับใจ  เพื่อให้ผู้อื่นให้การสนับสนุนในสิ่งที่จะทำหรือความต้องการให้มีผลกระทบจำเพาะเจาะจงต่อผู้อื่น                 การมุ่งผลสัมฤทธิ์  เป็นการตระหนักในการทำงานให้ดี หรือให้ได้มาตรฐานชั้นเยี่ยม มาตรฐานอาจเป็นการปฏิบัติที่ผ่านมาของแต่ละคน (การพยายามเพื่อปรับปรุง) การประเมินจากวัตถุประสงค์(การมุ่งผลลัพธ์) การปฏิบัติของคนอื่น(การแข่งขัน) เป้าหมายที่ท้าทายที่แต่ละคนตั้งไว้หรือแม้สิ่งที่ยังไม่มีใครเคยทำ(นวัตกรรม)                   ทีมงานและการปฏิบัติการร่วม  หมายถึง  มีความตั้งใจอย่างจริงจังที่จะทำงานร่วมกับคนอื่น  เป็นส่วนหนึ่งของทีม ต่อต้านการทำงานคนเดียวหรือการแข่งขัน                การคิดเชิงวิเคราะห์  หมายถึง  การเข้าใจสถานการณ์    การคิดอย่างวิเคราะห์รวมไปถึงการจัดส่วนของปัญหา หรือสถานการณ์อย่างเป็นระบบ  การสร้างการเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะและรูปร่างอย่างเป็นระบบ จัดลำดับความสำคัญบนพื้นฐานของเหตุผล  จัดลำดับเวลา  เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล   การริเริ่ม  หมายถึง  การกระทำมากกว่าสิ่งที่ต้องการ หรือถูกคาดหวังในงาน  ทำในสิ่งที่ไม่มีใครร้องขอ  เพื่อปรับปรุงทำให้ผลงานดีขึ้นและหลีกเลี่ยงปัญหา  การค้นหาหรือสร้างโอกาสใหม่ ๆ  การพัฒนาผู้อื่น  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะสอนหรือสนับสนุนการพัฒนาตนเองของผู้อื่น   ความเชื่อมั่นในตนเอง  หมายถึง  ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่จะทำงานสำเร็จ  รวมไปถึงการแสดงออกในความเชื่อมั่นของบุคคลในสถานการณ์ที่ท้าทายขึ้นกว่าเดิม  การตัดสินใจสร้างข้อคิดและการจัดการความล้มเหลว   การสั่งการและการยืนยัน  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะทำให้ผู้อื่นทำตามความประสงค์  พฤติกรรมการสั่งการคือการบอกให้บุคคลทำอะไร ช่วงระดับของเสียงมีตั้งแต่หนักแน่น  สั่งการ  ขอร้องหรือการขู่   การค้นหาข้อมูลข่าวสาร  หมายถึง  ความอยากรู้ อยากเห็น  ความต้องการที่จะรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เรื่องบุคคล หรือประเด็นที่ผลักดันให้ค้นหาข้อมูลข่าวสาร  การมองหาข้อมูลข่าวสาร  การสร้างความพยายามที่จะได้ข้อมูลข่าวสารที่มากกว่า   ภาวะผู้นำกลุ่ม  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะเป็นผู้นำของทีมหรือกลุ่ม  ต้องการนำผู้อื่น คิดอย่างมีแนวคิด  หมายถึง  การเข้าใจสถานการณ์หรือปัญหา  โดยนำแต่ละอย่างมาใส่ไว้ด้วยกันแล้วมองในภาพรวม  รวมไปถึงการระบุรูปแบบหรือการเชื่อมต่อระหว่างสถานการณ์ที่ไม่สัมพันธ์กันอย่างชัดเจน  การจำแนกสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญหรือประเด็นพื้นฐานในสถานการณ์ที่ซับซ้อน   ความชำนาญ / ความรู้ที่เชี่ยวชาญ                ฉะนั้นสมรรถนะของผู้บริหาร  คือคุณลักษณะพื้นฐานของผู้บริหารที่แสดงถึงความรู้   ทักษะ  แนวความคิดส่วนบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ทัศนคติและแรงจูงใจในหน้าที่การบริหาร            ที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับหน้าที่ด้านการบริหาร  ที่สามารถแยกผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่การบริหารได้อย่างยอดเยี่ยมออกจากผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ทางการบริหารทั่วๆไป 

หมายเลขบันทึก: 124901เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณมากครับที่นำเรื่องดีๆ มาให้อ่าน
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • แต่ประเด็นสำคัญ คือ การนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้

ด้วยความเคารพรัก

  • สวัสดีปีใหม่ครับ
  • CUP ภาคใต้ จะนัดเจอกันที่หาดใหญ่ วันที่ 21 มี.ค. 51 นะครับ แล้วผมจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง
  • ส่วนวันที่ 5 - 6 มิ.ย. จะเจอกันทั้งหมดที่มหิดล แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไปครับ
  • ฝากสวัสดีปีใหม่ทุกๆ คนด้วยนะครับ

ด้วยรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท