การจัดการความรู้


"การจัดการความรู้" เป็นไปใน 4 ขั้นตอน 1. ค้นหาความรู้ที่ดีเลิศ 2. ความรู้ที่ค้นพบได้รับการบันทึก 3. ความรู้นั้นได้เผยแพร่ในชุมชนโดยใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือ 4. การนำความรู้ไปปฏิบัติและพัฒนา โดยเน้น 4 คำคือ ค้นหา - บันทึก - เผยแพร่ - พัฒนา

         อาจารย์สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์ อาจารย์หลักประจำวิชาการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื่น ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ 1-2 ตามอุดมการณ์มหาวิทยาลัยชีวิต โครงการความร่วมมือระหว่าง มรภ.พระนคร และ สสวช. ได้สรุป "การจัดการความรู้" ไว้เมื่อครั้งอาจารย์ไปพบกลุ่มนักศึกษาเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 2 กันยายน 2550 เวลาประมาณ 15.00 น. ที่ห้องเรียนศูนย์เรียนรู้เชียงใหม่ 1 (ดอยสะเก็ด) ความว่า "การจัดการความรู้" เป็นไปใน 4 ขั้นตอน  1. ค้นหาความรู้ที่ดีเลิศ  2. ความรู้ที่ค้นพบได้รับการบันทึก  3. ความรู้นั้นได้เผยแพร่ในชุมชนโดยใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือ  4. การนำความรู้ไปปฏิบัติและพัฒนา โดยเน้น 4 คำคือ ค้นหา - บันทึก - เผยแพร่ - พัฒนา
          ผู้บันทึกขอร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม (ด้วยความเคารพครับ)
          โดยธรรมชาติแล้ว มี "ความรู้จริง/สัจจธรรม" อยู่ ทั้งที่เป็น TK (Tacit Knowledge) และ EK (Explicit Knowledge) เราจะจัดการกับมันอย่างไร

1. ค้นหาความรู้ที่ดีเลิศ
          ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงค้นหาใช้เวลานานถึง 6 ปี จึ่งพบ "อริยสัจ"
          ประเด็นในวิชานี้ เราลองค้นหา "ความรู้" ในชุมชนท้องถิ่นของเราซักประเด็นหนึ่ง เพื่อทำการศึกษา

2. ความรู้ที่ค้นพบได้รับการบันทึก
          ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงบันทึกไว้ในความทรงจำของเหล่าสาวกและบันทึกเป็นวัตถุของจริงตามธรรมชาติ  (อาจมีหลายรูปแบบ ผู้บันทึกเห็นท่าจะต้องศึกษาเพิ่มเติม) พระพุทธองค์ทรงประกาศประดิษฐาน(บันทึก)พระพุทธศาสนาไว้ในโลกอย่างถาวร
          ประเด็นในวิชานี้ นักศึกษาต้องบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกด้วยของจริง บันทึกเป็นรูปภาพ ฯลฯ

3. ความรู้นั้นได้เผยแพร่ในชุมชนท้องถิ่น
          ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่โดยการเทศนาสั่งสอน สาธิตและยกชีวิตจริง ทรงเน้นความจริงตามธรรม(ธรรมชาติ) ปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล(อกาลิโก) และท้าให้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริงด้วยตนเอง(เอหิปัสสิโก) เพื่อให้นำพระธรรมไปเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ใช้เวลานานถึง 45 ปี
          ประเด็นในวิชานี้ นักศึกษาต้องจัดให้มีการเผยแพร่/เผยแผ่ความรู้นั้นในชุมชนท้องถิ่นด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนได้รับรู้ เรียนรู้ และรอบรู้/รู้รอบ เพื่อนำสู่การปฏิบัติให้เป็นมรรคเป็นผลต่อไป

4. การพัฒนาความรู้
          ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระศาสนานานถึง 45 ปี  ในระยะเวลาดังกล่าว เชื่อแน่ว่า ต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนทั้งวิธีการเผยแผ่และแนวปฏิบัติ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์ จึงทำให้พระพุทธศาสนาคงอยู่และสืบทอดกันมานานถึงปัจจุบัน และยังจะยาวนานสืบไปจนถึง 5,000 พระวัสสา
          ประเด็นในวิชานี้ นักศึกษาต้องนำเสนอวิธีการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้ความรู้นั้นอย่างไร จึงจะทำให้ความรู้นั้นคงอยู่ มีความร่วมสมัยใหม่เสมอ และให้ประโยชน์ได้ทุกยุคสืบไปอย่างยั่งยืน (อกาลิโก)

หมายเลขบันทึก: 124820เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

"ที่ผ่านมา วิชาการได้ทอดทิ้งชุมชน การศึกษาที่ผ่านมามิได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม ดังนี้วิชาการจึงอ่อนแอทางปัญญา เพราะไม่รู้จริงปัญหา"

งงๆๆ  แต่ก็จะพยายามอ่านให้เข้าใจครับ  เพราะว่าช่วงนี้ยุ่งมากๆๆ ทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องเรียน เรื่องมหาลัย เรื่องที่บ้าน และก็เรื่องต่างๆๆมากมาย  จนไม่ค่อยมีเวลาจัดการกับตัวเองแล้วครับอาจารย์ เฮ้อ..............

สวัสดีคะ อาจารย์ทนัน ภิวงศ์งาม ดิฉันติดตามอ่าน  การจัดการความรู้และแสวงหาการจัดความรู้  โดยใช้วิธี  สุจิปุลิ และมาอ่านการจัดความรู้ในสมัยดึกดำบรรพ์ แล้วนำมาประกอบกัน สุดท้ายก็ได้หลักเช่นเดียวกัน คือ สุจิปุลิ แต่ท่านเน้นว่า สุจิปุลิ ยังไม่พอ  ต้องนำมาจัดการใหม่ ด้วยวิธีการปฏิบัติด้วย  และให้สอดคล้องเข้ากับยุคใหม่ ตอนแรกอ่านก็งง แต่เมื่อวิเคราะห์แล้ว จึงสรุปออกมา ว่า ทั้งสมัยเก่าสมัยใหม่ ใช้หลักการเดียวกัน แต่ที่เน้นก็คือ ความรู้ต่างๆที่ได้รับ ต้องสามารถนำไปจัดการในท้องถิ่นตนได้ด้วยยิ่งดี  โดยวิธีการปฏิบัติ และขอเสริมว่า การจัดการความรู้  รู้แล้วแต่ไม่ทำ ปล่อยไปตามยถากรรม ก็ไม่เป็นประโยชน์ใช่ไหมคะ ดิฉันอาจจะเขียนมากไป แต่ด้วยกำลังมีไฟในเรื่องการจัดการความรู้ ถึงได้กลับมาเรียนตอนแก่ ถึงกำลังจะล้า แต่พลังยังท่วมท้น บางครั้งก็ถอยเหมือนกัน ถอยไปชาตไฟใหม่ อีกปีเดียวจบ ขอบคุณที่ให้กำลังใจ นักศึกษาโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตของทาน เป็นอย่างไรบ้าง  มีนักศึกษาเปิดเวบมาเขียนแบบดิฉันไหมหนอ  ดิฉันอยากได้เพื่อน โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต แต่ได้คุยกับอาจารย์ด้วยก็ยิ่งดี ได้ความรู้มากขึ้น ยิ่งเป็นปูชนียบุคคลบรรดาท่านอาจารย์ทั้งหลาย ยิ่งดีมาก สวัสดีตะ

Pสวัสดีครับคนรุ่นเก่าพัฒนา ว่าที่บัณฑิต มหาวิทยาลัยชีวิต ราชภัฏพระนคร กระนวน จ.ขอนแก่น

  • ขอบคุณมากที่แวะเข้ามาทักทาย
  • จัดการความรู้ คือ ค้นหา บันทึก เผยแพร่ ปฏิบัติ และพัฒนาความรู้นั้น
  • จะใช้เทคนิควิธีใด ๆ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมแห่งสภาวการณ์นั้น ๆ ครับ
  • สุ จิ ปุ ลิ ก็นเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการค้นหาและบันทึก
  • ต่อยอดออกไปอีกครับ เผยแพร่ ปฏิบัติและพัฒนาความรู้นั้น ๆ ครับ
  • ขอให้โชคดีมีความสุขครับ

ของบางลี่วิทยามี 6 ขั้นตอน

  1. กำหนดหัวปลา
  2. สรรหาผู้มีประสบการณ์
  3. ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. นำสู่การปฏิบัติ
  5. ให้แจ่มชัดต้องทบทวน
  6. ของดีควรเผยแพร่

P.
สวัสดีครับทาน ผอ.นายประจักษ์~natadee

  • สุดยอดเลยครับท่าน ผอ.
  • ขอบคุณมากที่กรุณานำมาฝากไว้ในบล็อกนี้ ทำให้บล็อกนี้สมบูรณ์ขึ้นอีกมากครับ
  • เผยแพร่ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ เผยแพร่เพื่อให้เกิดการสืบสาน สืบสานสู่ความ"ยั่งยืน"ครับ
  • โชคดีมีความสุขครับ

สวัสดีค่ะ

  • มารับความรู้ของท่าน ผอ. แล้วค่ะ
  • และนำบางส่วนไปรวมเพื่อให้ผู้ผ่านไปที่บันทึกโน้น  ติดตามกลับมาที่นี่ด้วย เพื่อมาร่วมต่อยอดกันค่ะ

P.
สวัสดีครับดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

  • ขอบคุณมากที่แวะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ยินดีครับ ที่บางส่วนอาจจะเกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้
  • ขอให้โชคดีมีความสุขนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท