ไม่ไร้สาระ ตอนที่ 2 หัวเรื่องความจริง


นึกเสียใจแทนที่รัฐบาลในยุคนั้นที่ตั้งปณิทานไว้ว่าจะวางรากฐานเศรษฐกิจของไทยให้เข้มแข็ง ไม่ได้ทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ยังคงทิ้งให้ระบบเศรษฐกิจไทยช่วยเหลือตนเองไปแบบกระท่อนกระแท่น อยู่ปริ่มๆน้ำ หายใจได้ก็ไม่สะดวก ดังที่เราประสบกันอยู่ในปัจจุบัน...

    ด้วยกระแสตอบรับอย่างอุ่นหนาฝาคลั่ง(ตรงไหน) และเสียงเรียกร้องอย่างรุนแรงให้รีบเขียนต่อ(คิดไปเองทั้งนั้น) วันนี้ได้เวลานอนไม่หลับตี 4 ดีขึ้นมาอีกเล็กน้อย ก็ลุกขึ้นมานั่งเขียนอะไรแบบไม่ไร้สาระตามคำเรียกร้องของมิตรรักแฟนเพลง แต่ก่อนเข้าเรื่องก็ต้องขอทำความเข้าใจกับแฟนเพลง(ซะงั้น..เป็นนักร้องตั้งแต่เมื่อไหร่)ทุกท่าน ว่างานเขียนนี้จะขอร้องให้ท่านติดตามอ่านไปเรื่อยๆ และจะขยันมาอัพเป็นประจำตามอารมณ์ของคนเขียนจะอำนวย (เหมือนอัพนิยายบนอินเตอร์เนตนั่นแหละ) ถึงแม้เรื่องราวต่อไปนี้จะไม่มีพระเอก นางเอก แนวน้ำเน่า แต่ก็ได้น้ำดีๆไปบ้างละนะค่ะ ด้วยความที่ตอนอยู่เมืองไทยวันๆอ่านแต่หนังสือ(ไม่เชื่อถามพ่อได้เป็นพยาน) อ่ะนะ...ก็แสดงว่าเราเนี่ยขยันซะจริงๆ อะไรจะรักการอ่านขนาดนั้น ปรากฏว่าพอตกเย็นที่บ้านนอก ก็ต้องซิ่งรถออกไปร้านการ์ตูน ...เฮ ที่แท้ก็อ่านการ์ตูน กะนิยาย นี่เอง อ่านจนจะหมดร้านแล้ว แต่ประเภทไม่เป็นสาระหรอกนะ ออกแนวหวานแหววโรแมนติก ผิดกับบุคลิกเลย ก็นะมันสนุกนี่นา ....ประเด็นของเรื่องที่พูดมาตอนนี้ก็คือ

"จะอ่านอะไร ขอให้อ่านไปเถอะ มีสาระ ไม่มีสาระ ก็ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านได้ทั้งนั้น" คำพูดนี้มาจากพ่อนี่เอง ก็เป็นข้ออ้างของเราที่พ่อสนับสนุน อีกอย่างน่าจะช่วยเพิ่มสถิติการอ่านหนังสือของคนไทยให้มากขึ้นนั่นเองจากปีละ ไม่กี่ชั่วโมง มาเป็นปีละหลายวัน อิอิ ยังไงก็ขอสนับสนุนทุกท่านให้รักการอ่าน นะค่ะ อะไรก็ได้อ่านไปเถอะ มันช่วยทำให้อ่านได้ไวขึ้น จับประเด็นเร็วและ ไม่น่าเบื่อหน่าย...

     เรื่องราวก็ดำเนินมาถึงตอนที่ 2 แล้ว ก็ขอต่อไปปีที่ 2 เลย 1998 ย้อนไป 9 ปีให้หลังได้ ความจริงที่บางท่านอาจจะลืมกันไปแล้วก็ได้ ว่าช่วงเวลานั้น IMF ก็เป็นที่รู้จักกันดีของทุกคน ยุคนั้นใครไม่รู้นี่เชยแน่ๆ ว่าแต่ IMF มาทำไม เกี่ยวอะไรกับประเทศไทยด้วย IMF: International monetary Fund, ซึ่งตั้งขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือทางการเงินและทางวิชาการระหว่างประเทศ รักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือให้เกิดความสมดุลในดุลการชำระเงินของประเทศ เข้ามาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยก็เนื่องด้วยสถานการณ์ตอนนั้นประเทศไทยมีดุลการชำระเงินของประเทศขาดดุลมากทีเดียว อันเนื่องมาจากก่อนประกาศค่าเงินลอยตัวประเทศไทยได้ใช้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศไปเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการดำเนินนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินที่ขาดมาตรการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ผิดพลาดและการแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่ไม่เด็ดขาด เลยทำให้ IMF เข้ามาให้ความช่วยเหลือในวงเงิน 17.2 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐอเมริกา

    โดยแหล่งเงินทุนมาจาก 1. ออสเตรเลีย 1,000 ล้านเหรียญ สรอ. 2. จีน 1,000 ล้านเหรียญ สรอ. 3. ฮ่องกง 1,000 ล้านเหรียญ สรอ.4. อินโดนีเซีย 500 ล้านเหรียญ สรอ.5. ญี่ปุ่น 4,000 ล้านเหรียญ สรอ.6. เกาหลี 500 ล้านเหรียญ สรอ.7. มาเลเซีย 1,000 ล้านเหรียญ สรอ.8. สิงคโปร์ 1,000 ล้านเหรียญ สรอ.9. บูรไน 500 ล้านเหรียญ สรอ10. ธนาคารโลก 1,500 ล้านเหรีย สรอ.11.ธนาคารพัฒนาเอเซีย 1,200 ล้านเหรียญ สรอ ทำให้พอจะนึกกันได้ว่าทำไมญี่ปุ่นและ ADB เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาในประเทศไทยอย่างงนั้นได้อย่างไร มีหลายโครงการพัฒนาในระดับรากหญ้าที่เข้ามาสนับสนุนและให้เงินทุน

      พอมาดูตัวเลขเงินกู้ที่ไทยได้มาจาก IMF ก็น่าตกใจเพราะมหาศาลถึงขนาดนั้นจะไปใช้ยังไงไหวในเมื่อรายได้ประเทศและรัฐบาลก็ยำแย่อยู่แล้วในช่วงเวลานั้น อันที่จริงประเทศไทยได้วงเงินกู้ 17.2 ล้านเหรียญ สรอ. แต่กู้เงินมาจริง 12.04 ล้านเหรียญ สรอ. ยังคงเหลือเงินในวงเงินกู้อีก 4.9 ล้านเหรียญ สรอ. และในรัฐบาลยุคฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ตัดสินใจที่จะส่งคืนเงินกู้ทั้งหมดในเดือนมกราคม 2546 คงจะนึกออกเพราะเป็นข่าวดังทั้งในโทรทัศน์และหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งอันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจของไทยที่ทำให้ประเทศไทยมีเงินเพียงพอกับการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด ซึ่งรัฐบาลได้คาดหวังว่าการกระทำครั้งนี้จะช่วยเพิ่มระดับความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและต่างประเทศต่อภาพพจน์ของเศรษฐกิจไทย

แต่นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่จำเป็นของประเทศก็คือการวางรากฐานทางเศรษฐกิจและการเงินในระยะยาวรวมถึงหาวิธีป้องกันหรือหารสัญญาณเตือนภัยวิกฤตเศรษฐกิจล่วงหน้าเพื่อมิให้เกิดความรุนแรงได้อย่างประสบการณ์ที่เราได้รับกันมา จนมาถึงบัดนี้ 10 ปีผ่านไป เศรษฐกิจของไทยไม่ได้มี IMF มามีบทบาทในฐานะเจ้าของเงินกู้ แต่ได้เข้ามามีบทบาทในด้านอื่นๆโดยเฉพาะทางวิชาการเพื่อเป็นการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพต่อไปในอนาคต...

   เมื่อมาถึงตรงนี้ก็พอจะเริ่มวิชาการมากไปหน่อยแล้วคนเขียนเองเริ่มจะอินมากไป ทำให้นึกเสียใจแทนที่รัฐบาลในยุคนั้นที่ตั้งปณิทานไว้ว่าจะวางรากฐานเศรษฐกิจของไทยให้เข้มแข็ง ไม่ได้ทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ยังคงทิ้งให้ระบบเศรษฐกิจไทยช่วยเหลือตนเองไปแบบกระท่อนกระแท่น อยู่ปริ่มๆน้ำ หายใจได้ก็ไม่สะดวก ดังที่เราประสบกันอยู่ในปัจจุบัน...

   กลับมาพูดถึงเรื่องเรียนกันในช่วงปี 3 ของนักศึกษามหาวิทยาลัย บรรยากาศของวิชาการไม่ได้ซึมซับเข้าสมองสักเท่าไหร่ ที่ได้มากก็คือเพื่อนๆ ที่ยังสนิทสนมกันมาถึงตอนนี้ รู้แต่ว่าตัวเองก็พูดไม่ค่อยจะเก่งเพื่อนๆก็น้อย แต่ถึงน้อยก็มีประสิทธิภาพนะ อิอิ งานต่างๆของคณะก็ไม่เคยจะให้ความร่วมมือ แล้วเอาเวลาไปทำอะไรหว่า ชีวิตสมัยเรียน ป.ตรี นี่มันช่างสุขสบาย สนุกสนานผิดกับอีก 9 ปีผ่านมา แก่แล้วก็มานั่งเรียนอยู่ ชีวิตมันเศร้า เรียนไปเครียดไป งานเยอะแยะ สมกับเรียน ป.เอก จริงๆ (เอ๋ แต่ทำไมมีเวลามานั่งอัพสเปซเนี่ยนะ) เพื่อนๆหลายคนอยากตามมาเรียน คิดใหม่ได้นะ ถ้าหน้าที่การงานไม่บังคับอย่างข้าพเจ้าเนี่ย คิดว่าขอเลือกใช้ชีวิตแบบคนปรกติทั่วไป (ฝันไป...หรือเปล่า) จะดีกว่าหรือเปล่า .....แล้วอย่าลืมติดตามกันต่อไปนะค่ะ ตอนหน้า มาคุยเรื่องใหม่ๆกันดีกว่า เล่าอดีตมาก รู้สึกแก่มากขึ้นทุกที .....:)

คำสำคัญ (Tags): #imf
หมายเลขบันทึก: 124729เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่ง กับคำที่ว่า "งานเยอะแยะ สมกับเรียน ป.เอก จริงๆ ลืมมบอก พิมพ์ตกพิมพ์หล่น หลายคะเหมือนกัน ตั้งแต่ยกแรกเลย กลับไปอ่านซะ
แม้กระทั่งคนบอกยังพิมพ์ผิดเองด้วย คะ=คำ

สวัสดีครับอาจารย์

   ผมเป็นนักศึกษาปีที่ 1  ของมหาวิทยาลัยชีวิต ( คงเคยได้ยินนะครับ ) ศูนย์เรียนรู้ อ.ประทาย จ.นครราชสีมา พอดีได้เห็นบทความของอาจารย์ที่เล่าเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์จึงอยากจะแลกเปลี่ยนบ้าง

    ผมเป็นชาวบ้านธรรมดา การศึกษาก็น้อย พึ่งมาตื่นตัวเอาเมื่อไม่นานนี้เอง จึงเริ่มหันมาเรียนในหลักสูตรสหวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มันตรงกับวิถีชีวิตของไทยเราจริงๆ เพราะในระหว่างที่เริ่มเรียนก็สามารถนำประสบการณ์จากการเรียน หรือการศึกษาดูงานจากที่อื่นๆมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย ไม่ต้องรอให้เรียนจนจบแล้วมาเริ่มต้น สำหรับพวกเราชาว ม.ชีวิต มีเป้าหมายว่า ชีวิตต้องดีขึ้นตั้งแต่เริ่มเรียน ไม่ใช่เรียนจบแล้วถึงจะดี  สำหรับผมแล้ว การเรียนรู้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการพัฒนา ทั้งในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น

     ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรม มาช้านาน อาศัยธรรมชาติ หรือจะเรียกว่าวิถีชีวิตคนไทยส่วนใหญ่ ต้องพึ่งพิงธรรมชาติมาเป็นเวลานาน และยังต้องมีต่อไป ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย เคยได้รับการยอมรับจากต่างประเทศเมื่อครั้งในอดีตว่าสมบูรณ์ที่สุด อีกแห่งหนึ่งของโลก วัฒนธรรมไทยก็ได้ชื่อว่าเข้มแข็งที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง   มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ได้เลียนแบบใคร แต่วันนี้ทรัยยากรธรรมชาติกำลังเหลือน้อยลงทุกที เพราะถูกทำลาย โดยใคร ผมไม่รู้ วัฒนธรรมไทยเรากำลังอ่อนแอลง ความเคารพของเด็กที่มีต่อผู้ใหญ่กำลังลดน้อยลง วิถีชีวิตของคนในชนบทกำลังถูกเปลี่ยน ( บางแห่งเปลี่ยนไปมากแล้ว ) ความเชื่อมั่นของชาวบ้านที่มีต่อ ผู้นำ ชุมชน สังคม และต่อตัวเอง กำลังลดน้อยลงไปทุกที ผมยังเชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยจะแข็งแรงได้ ต้องกลับไปที่พื้นฐาน ที่เป็นความจริงของเรา วิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม วิถีชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติ จึงจะทำให้เราเริ่มกลับมาเข้มแข็งเหมือนอดีตได้อีกครั้ง

    การพัฒนาประเทศ ถ้าเดินหน้าอย่างเดียว แล้วไม่หันมามองข้างหลังบ้างว่าเราเป็นใคร ไม่เคยคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศเขาทำมาหากินอะไร อย่างนี้ต่อให้มีเงินมากมายแค่ไหน ก็ไม่มีทางจะเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้หรอกครับ ถ้าอาจารย์มีเวลาจะลองลงมาดูวิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบทอย่างพวกผมดูบ้างก็ได้นะครับ ผมและครอบครัวยินดีต้อนรับ และจะเป็นเกียรติอย่างมาก ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ผมเพียงอยากให้ชาวบ้านเขาได้มีโอกาสแลกเปลียนเรียนรู้กับคนนอกชุมชนบ้าง โดยเฉพาะมหาบัณฑิตอย่างอาจารย์ เขาจะได้มีวิสัยทัศน์ ที่กว้างขึ้น ใหม่ขึ้น เพื่อที่เขาจะได้หันมาสนชุมชนของเขาอย่างจริงจังเสียที

    ยังมีอีกมากครับ สำหรับการแลกเปลี่ยน ถ้าอาจารย์ไม่ว่าอะไรผมจะขออนุญาติอาจารย์ในโอกาสต่อไป

พอดีเจ้าหน้าที่เขาจะใช้เครื่อง ( เห็นมั๊ยว่า หดหู่ขนาดไหน ยังไม่มีเป็นของตัวเองเลย )

ขอแสดงความนับถือ

อัครชัย

ขอบคุณมากนะค่ะ คุณอัครชัย ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ในฐานะที่ตัวเองก็เป็นอาจารย์ที่สอนในสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ก็ได้มีโอกาสมากมายสำหรับการสัมผัสวิถีชาวบ้านในชนบท ไม่ว่าจะทั้งในงานวิจัยเอง และในชีวิตความเป็นอยู่เองเพราะตนเองก็เป็นคนต่างจังหวัดและคลุกคลีกับวิถีชีวิตแบบชาวบ้านมาตลอด ยินดีอย่างมากหากจะได้ทำประโยชน์อะไร แต่ต้องขอออกตัวว่ายังมีประสบการณ์น้อยและความคิดหรือทรรศนะยังไม่กว้างไกล แต่การได้เข้ามาในเวปนี้และได้อ่านบล๊อกของคนอื่นๆ ก็ช่วยเปิดทรรศนะวิสัยของเราได้มากเลยค่ะ

รากฐานของประเทศ

คือ ความกินดีอยู่ดีของประชาชน

ความกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความพอเพียง และเหมาะสมกับบริบทของชุมชน

หันกลับมามองคนส่วนใหญ่ของประเทศกันเถอะ

รากฐานของประเทศจะได้มั่นคงอย่างยั่งยืน...

---^.^---

มาให้กำลังใจอาจารย์เออคะ

ขอบใจพิมพ์จ้า และขอบใจที่แนะนำเวปนี้ให้เราได้รู้จักด้วย....

      เช่นเดียวกันครับอาจารย์  ความจริงผมเองก็ไม่มีประสบการณ์อะไรมากหรอกครับ ก็เป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา การศึกษาก็น้อย พึ่งจะมามีโอกาสตอนที่เรียนในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตนี่แหละครับ ต้องขอขอบคุณ คุณครู อาจารย์ที่คิดหลักสูตรนี้ และอาจารย์ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ทุกท่าน ที่ทำให้พวกเราชาวบ้านธรรมดา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเปิดทรรศนะวิสัยให้กว้างขึ้นอย่างที่อาจารย์ รวมมิตร v9 บอก ( พิมพ์ไม่เก่ง ขออนุญาติ เรียกสั้นๆว่า อาจารย์ V9 ได้มั๊ยครับ )  และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างมาก ( ถ้าไม่พับโครงการทิ้งเสียก่อนนะ )  เพราะผมเชื่อว่า อนาคตของประเทศขึ้นอยู่ที่การศึกษาของประชาชน

     ถ้ามีประสบการณ์อะไรดีๆ และมีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างพวกเรา รบกวนอาจารย์ช่วยถ่ายทอดให้พวกเราด้วยนะครับ  ขอบพระคุณอย่างสูง

ขอให้โชคดีครับ

อัครชัย 

อย่าพูดแบบนั้นเลยค่ะ การศึกษาเป็นส่วนนึงเท่านั้น ที่สำคัญคือจิตใจที่ดีงามต่างหากค่ะ หากเราพัฒนาจิตใจของคนให้ดีขึ้นได้ อนาคตของประเทศก็คงจะเจริญตามจิตใจของประชาชนในประเทศค่ะ จริงๆแล้วชื่อ เออวดี ค่ะ เรียกสั้นๆว่าเออ ก็ได้ค่ะ ไม่ต้อง วีอะไรหรอกค่ะ ดูเป็นเกมส์โชว์ไปสักหน่อยแบบนั้น.......ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นดีๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท