กับบางสิ่งบางอย่าง...ที่ตกค้างในสมุดบันทึก (3)


จะเป็นการเดินทางร่วมกันของเรา (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร) ที่จะเป็นเพื่อนร่วมคิดกับวิสาหกิจชุมชน

สภาวิสาหกิจชุมชนอำเภอพระประแดง
               วันพุธที่ 15 สิงหาคม 2550 เวลา 10.00 น.ผมกับคุณเอื้อกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการคือ พี่จตุพร ศรีวิริยะ  นวส.8ว  ได้เข้าร่วมการประชุมสภาวิสากิจชุมชนอำเภอพระประแดง โดยทางท่านเกษตรอำเภอพระประแดง คือท่านเกษตรอำเภอชูชีพ บุญเจริญ ได้ประสานมาขอให้ไปช่วยดำเนินการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเขียนโครงการ 
               ระหว่างการเดินทาง ผมได้ปรึกษาและวางแผนกับพี่จตุพร ว่าจะใช้ KM เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด โดยพี่จตุพรจะรับหน้าที่เป็น
คุณอำนวย ผมจะเป็นคุณลิขิต ใช้ประเด็นเรื่องการเขียนโครงการเป็น KV ซึ่งมีเวลาได้คุยกันค่อนข้างนาน (ถ้าคนที่เคยผ่านมาแถวแยกปู่เจ้า
สมิงพราย จะรู้ว่ารถติดมาก)สำหรับตัวผมเอง ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนอกเวที และเป็นความโชคดีที่ผมมีคุณเอื้อที่เห็นประโยชน์จากการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงาน โดยท่านได้ให้แนวคิดในการนำ KM ไปใช้ว่า มีหลายรูปแบบ ให้เลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม แต่ให้เกิดประโยชน์กับคุณกิจ
            เดินทางไปถึงสำนักงานเกษตรอำเภอพระประแดง ก็ถึงช่วงการถ่ายทอดความรู้ที่กำหนดไว้พอดี

CKO กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร พี่จตุพร ศรีวิริยะ 

            เราเริ่มต้นที่ให้คุณกิจ (ผู้แทนวิสาหกิจชุมชน ประมาณ12 คน ) เล่าถึงการเขียนโครงการที่ผ่านมาของตน ว่ามีขั้นตอนการทำอย่างไรและได้ผลเป็นอย่างไร 

 ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมประชุม

 

             ซึ่งเรื่องที่คุณกิจเล่าให้ฟัง ก็มีลักษณะคล้ายกันในขั้นตอนการเขียนโครงการ แต่สิ่งที่สะท้อนออกมา ก็คือ เป็นการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุน หลังจากนั้นพี่จตุพร ก็เปลี่ยนให้ผมสรุปประเด็นจากการเล่าเรื่องของคุณกิจ ตามที่วางแผนเอาไว้

 บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

              หลังจากสรุปประเด็นจากการเล่าประสบการณ์แล้ว ผมก็เล่าประสบการณ์ของผมที่ได้เข้าไปร่วมกับวิสาหกิจชุมชนหลายแห่งเขียนแผนพัฒนา (ตอนนี้ผมก็แปลงร่างเป็นคุณกิจอีกคนในวง)ซึ่งจากการที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเขียนแผนพัฒนา            (ตอนนั้นเป็นทั้งคุณอำนวยและคุณลิขิต)ทำให้ได้เรียนรู้ร่วมกับ   วิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง

                 สิ่งที่ผมพบ ก็คือเมื่อก่อนวิสาหกิจชุมชนจะเขียนเฉพาะโครงการขอรับการสนับสนุน แต่ไม่ได้เขียนเป็นแผนพัฒนา (ซึ่งก็จะมีทั้งแผนที่ดำเนินการได้เอง และแผนหรือโครงการที่ขอรับการสนับสนุน )พอเขียนเป็นโครงการที่ขอรับการสนับสนุน แล้วไม่ได้รับการสนับสนุน การพัฒนาก็เรียกได้ว่าแทบจะหยุดนิ่งหรือพัฒนาได้ช้า
 ผมถามคุณกิจในวงวันนั้นว่า "ถ้าเราเขียนแผนหรือโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน จะทำอย่างไรกันต่อจะเดินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างไร"

                    แล้วคุณกิจหลาย ๆ คน ก็เริ่มที่จะพูดถึง การเขียนแผนเพื่อการดำเนินงานเอง (ซึ่งเป็นแนวคิดและเป้าหมายหลักที่เราอยากจะเห็นในวันนี้) หลังจากนั้น ผมก็อธิบายแนวทางการเขียนแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ที่มาการประมวลสรุปการเขียนแผนพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนนำร่อง7 แห่ง ในปี 49 (แนวทางการจัดทำแผนพัฒนา) แล้วก็ทิ้งไว้ให้เป็นการบ้านของวิสาหกิจชุมชนกลับไปเขียนแผนพัฒนาของตัวเอง โดยจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง ในการประชุมสภาฯ ครั้งต่อไป (วันที่ 11 กันยายน )

mind map ที่ทดลองเปลี่ยนรูปแบบ


             หลังจากจบการประชุมแล้ว สมาชิกสภาวิสาหกิจชุมชนแลท่านเกษตรอำเภอพระประแดง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกันติดป้าย ที่ทำการสภาวิสาหกิจชุมชนอำเภอพระประแดง

  <p>ก็เป็นอีกก้าวในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของอำเภอพระประแดง ที่จะเป็นการเดินทางร่วมกันของเรา (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร) ที่จะเป็นเพื่อนร่วมคิดกับวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ และพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป
 บันทึกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ </p>

หมายเลขบันทึก: 124657เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • น่าคิดนะครับ ว่าการมาร่วมกันคิดเพื่อการพัฒนาน่าจะมาก่อนการของบประมาณ 
  • เป็นวัฒนธรรมเดิมว่าถ้าเขียนก็จะต้องขอรับการสนับสนุน
  • เยี่ยมมากเลยนะครับ ที่ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้คิดต่อ
  • หากมีเวลาจะถอดประสบการณ์เทคนิคการวิคราะห์ตนเองของกลุ่มอาชีพที่ได้เข้าไปเรียนรู้มา เผื่อพวกเราจะได้ใช้ประโยชน์ (เป็นการแลกเปลี่ยน)
lสวัสดีครับน้องวิศรุต  ตั้งใจมาแวะเยี่ยม  ขอบคุณมากที่แบ่งปันความรู้ที่ดีฯ และมีประโยชน์
  • ขอบพระคุณมากครับพี่สิงห์ป่าสัก พี่สายัณห์ที่แวะเข้ามา ลปรร.
  • แนวคิดที่เราใช้กันมาตลอด ก็คือ การเข้าไปกระตุ้นให้วิสาหกิจชุมชนได้คิดเอง เพื่อพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง โดยที่เราจะคอยให้คำปรึกษา และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้(แต่จะไม่ยัดเยียดความคิดให้เด็ดขาด)
  • ขอโทษ ยังบันทึกไม่เสร็จ เผลอ enter 
  • จะบอกว่า เป็นความคิดที่ดี นะ ที่บันทึกสิ่งที่ตกค้างสมุดบันทึกมาบันทึก
  • เห็นทีจะต้องนำสิ่งที่ตกค้างอยู่ในสมุด มาสะสางเหมือนกัน (มีอยู่ประมาณ 4 เล่ม อิอิ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท