ข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กวัยรุ่น 2


      กรมสุขภาพจิต(2544) ได้สรุปรายงานถึงปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษา ไว้ว่า

1.       ปัญหาการเรียน มีผลการเรียนต่ำ สอบตก บกพร่องในการเรียนรู้บางวิชา ไม่ตั้งใจ ไม่สนใจเรียน เล่นพูดคุยในชั้นเรียน เบื่อหน่าย นั่งหลับ ไม่มีสมาธิ ความสนใจสั้น เหม่อลอย ทำงานช้า ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

2.       ปัญหาพฤติกรรม ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ พฤติกรรม กิริยามารยาท การใช้ภาษา คำพูดไม่สุภาพ ก่อกวน คุยเสียงดัง ชวนทะเลาะ ไม่เชื่อฟัง ต่อต้านความประพฤติผิดกฏระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน พูดโกหก สร้างเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ลักขโมยเงินสิ่งของเครื่องใช้ของผู้อื่น เล่นพนัน หนีโรงเรียน ทำลายข้าวของ ทะเลาะวิวาท ก้าวร้าว เที่ยวเตร่ จับกลุ่มมั่วสุม ใช้สารเสพติด พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม ชู้สาว สำส่อน เบี่ยงเบนทางเพศ

3.       ปัญหาอารมณ์จิตใจ โมโหง่าย เจ้าอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ไม่กล้าแสดงออก ไม่เชื่อมั่น ขี้อาย เงียบขรึม ขลาดกลัว ถอยหนี ซึมเศร้า เก็บตัว แยกตัวเอง พยายามทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย

ปราชญ์     บุญยวงศ์วิโรจน์ ( 2545 ) กล่าวถึงปัญหาสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย ว่ามีแนวโน้มมากขึ้น ขณะที่อายุของผู้มีปัญหาลดน้อยลงเรื่อย ๆ เยาวชนอายุ 15-19 ปี และ 20-24 ปี ฆ่าตัวตายเนื่องจากภาวะซึมเศร้า 41%
       เช่นเดียวกับที่ อัมพร     เบญจพลพิทักษ์ ( 2545 ) ได้กล่าวถึงปัญหาน่าวิตกจากการสำรวจพัฒนาการด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยไว้ 4 ประการคือ (1) วัยรุ่นไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วที่สุดในโลก (2) เด็กหญิงและเด็กชายเข้าสู่ธุรกิจการขายบริการทางเพศตั้งแต่อายุน้อย ๆ (3) มีการเปลี่ยนคู่นอนกันมากที่สุดอยู่ระหว่าง 8.5-13 คน (4) วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์จากการใช้ยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้น
     วัลลภ     ตังคณานุรักษ์
(2545)   กล่าวถึง
รายงานการวิจัยที่พบว่าปัญหารุนแรงที่เกิดกับเด็กในปี 2545 คือ (1) เด็กติดยาเสพติด(2)

เด็กกับเพศสัมพันธ์ (3) เด็กกับความรุนแรงเพราะเป็นผู้รองรับอารมณ์ ความเครียด ความไม่สมหวังและความใคร่ของผู้ใหญ่ (4) เด็กกับปัญหาหนีออกจากบ้าน (5) เด็กต่างชาติในไทยจำเพิ่มมากขึ้น
     สมพงษ์     จิตระดับ
( 2545 )  ได้นำเสนองานวิจัยเรื่องคุณลักษณะของเด็กไทยรุ่นใหม่ในอีก 5-7 ปีข้างหน้าว่ามี 12 ลักษณะคือ (1) มีสติปัญญาต่ำลงเพราะครอบครัวเลี้ยงลูกไม่เป็น (2) มีความอ่อนแอจากยาเสพติด เหล้า บุหรี่ ที่สามารถหาซื้อได้ง่าย (3) อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงจากสื่อลามกที่มีทุกหนแห่ง (4) เรียนรู้เรื่องเพศเร็วกว่าที่ควรจะเป็น (5) สังคมจะมีอาชญากรเด็กที่ไม่มีตัวตนจำนวนมากผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (6) เด็กจะยึดวัตถุนิยมแทนคุณค่าความดีงาม ตีราคาความรักของพ่อแม่เป็นราคา (7) มองตัวเองเป็นศูนย์กลางมากกว่าส่วนรวม รู้จักแต่การรับ (8) ขาดรากเหง้าทางวัฒนธรรม ศาสนาและเอกลักษณ์ไทย (9) เครียด กดดัน แข่งขัน ไร้ความสุขจากระบบการศึกษา (10) มองความสำเร็จของบุคคลอื่นว่าสามารถลอกเลียนได้ (11) เล่นการพนัน และ (12) ทำงานหนักไม่เป็น 
     
และจากรายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยลีดส์เมโทรโพลิแตน อังกฤษ 
( ไทยรัฐ , 2549 )  พบว่า ชายไทยอายุ 15-44 ปี มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้
สูงถึงร้อยละ 35 สูงที่สุดใน 44 ประเทศและสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทยคืออุบัติเหตุและการฆ่าตัวตายในวัย 15-34 ปี  โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคตับเรื้อรังในวัย 35-44 ปี ซึ่งมาจากพฤติกรรมเสี่ยงเช่น การดื่มสุราและการสูบบุหรี่

หมายเลขบันทึก: 124411เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ทราบว่าได้วิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กสมัยนี้มี แต่เด็กสมัยก่อนไม่มีมั้ยคะ

บางทีสิ่งที่เราเห็นว่าเด็กเปลี่ยนไป อาจไม่ได้มีแนวโน้มในทางเสื่อมโทรม ไปซะทุกเรื่องก็ได้นะคะ

พออ่านบทความข้างบน รู้สึกว่ามันไม่แฟร์สำหรับเด็กเลยค่ะ

เหมิอนเด็กต้องโดนตัดสิน ด้วยการใช้คำว่า "เด็กสมัยนี้"

บางทีเด็กสมัยนี้อาจจะมีวีธีคิด ต่างไปจากเด็กสมัยก่อน เท่านั้นเอง

เช่นว่า เด็กใจแตก ท้องก่อนแต่ง ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็จะหนีตามกันไปเลย ถูกมั้ย

เพราะฉะนั้น อยากให้ลองวิจัยใหม่ บางที่อาจจะเห็นการเปลี่ยนรูป ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงก็ได้ค่ะ

ความรู้สึกของคนสมัยนี้หรือสมัยไหนมันไม่ต่างกัน แต่แสดงออกมาตามสมัยเท่านั้นเองหรือเปล่า อยากให้ลองวิจัย บนพื้นฐานทัศนคติที่ดีดูบ้างค่ะ

เพราะอ่านแล้วรุ้สึกว่าเด็กถูกประนามมากเกินไปหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท