สาเหตุที่อาจทำให้เกษตรกรยากจน:(๓) บทเรียนจากภาคธุรกิจ


ในระบบธุรกิจที่เขามีกำไร ไม่ถึง ๑๐๐% เขาก็ยังอยู่ได้สบาย ทำไมจึงอยู่ได้ครับ
 

ตอนนี้ผมพยายามหาทางระดมสมองในเรื่องสาเหตุที่แท้จริงของความยากจนของเกษตรกร

  

ผมทราบอยู่ว่ามีการระดมเรื่องนี้มามากมาย แต่ก็ไม่เห็นข้อสรุปลึกๆ จริงๆ ที่เข้าถึงแก่นของปัญหา และทางเลือก ที่สามารถปฏิบัติได้จริง

  

ผมคิดว่าผมจะพยายามระดมผ่าน G2K  นี้ ว่าจะได้สักแค่ไหน

  

เมื่อวานนี้ (๑ กันยายน ๕๐) ผมได้อธิบายเพิ่มเติมถึงที่มาของกำไร ว่าผมคิดต้นทุนแล้ว ทั้งค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าเช่าที่ดิน ค่าเก็บเกี่ยว แต่ก็ยังมีกำไรมากมาย ในแต่ละกิจกรรมการเกษตร

  

เช่นปลูกข้าว ๑ เมล็ด ไม่น่าจะใช้ทุน แรงงาน และค่าเช่าที่มากนัก โดยเฉพาะในสภาพที่ทุนทางธรรมชาติไม่ถูกทำลายมากจนเกินไป

  

แต่คนทำลายส่วนใหญ่ก็เป็นเจ้าของที่ดิน นั่นแหละครับ

  

ทีนี้ผมลองมองออกมานอกระบบเกษตร เข้ามาในระบบธุรกิจที่เขามีกำไร ไม่ถึง ๑๐๐%  เขาก็ยังอยู่ได้สบาย ทำไมจึงอยู่ได้ครับ

  

เท่าที่ทราบนะครับ เขาจะมีแผนธุรกิจที่

 

·        ชัดเจน

 

·        หลากหลาย และ

 

·        เชื่อมโยงกัน

 

·        ปรับเปลี่ยนตาม

 

o       สถานการณ์

 

o       ทันเหตุการณ์

 

o       ตามความเป็นจริง

 

o       ตามความสามารถที่มี หรือที่หาได้

  

และ ยังมี

 

·        แผนการใช้ความรู้ในทุกเรื่อง มากทีสุดเท่าที่จะหาได้ ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนสูงเกินไปนัก

 

·        การใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ เต็มเวลา จะไม่ให้ใครมานั่งรอรับค่าจ้างแบบไม่ต้องทำอะไร

 

·        แผนการพัฒนาบุคลากร พัฒนาขีดความสามารถ

  

เมื่อผมมองย้อนกลับมาดูเกษตรกร ผมมองเห็นบางอย่าง เช่น

 

·        ทำตามๆกัน แบบไม่ใช้ความรู้ แต่บางทีก็ ยกย่องความรู้ที่ใช้แบบขึ้นหิ้งว่า ภูมิปัญญาแต่ไม่เคยดูรายละเอียด ที่จะนำมาปรับใช้ของตนเอง

 

·        ไม่วางแผนเตรียมการ ทำตามสะดวกของตัวเอง ไม่ดูผู้อื่น และสภาพแวดล้อม

 

·        ลอกเลียนการทำงาน มากกว่า เรียนรู้

 

·        ทำตาม มากกว่า ปรับเปลี่ยน ให้เหมาะกับตัวเอง

 

·        ไม่ใช้ข้อมูลข่าวสาร มาปรับเปลี่ยน หรือสร้างความรู้ใหม่

 

·        ไม่หลากหลาย ทำแล้วนั่งรอผลงานเพียงไม่กี่อย่าง

 

·        ไม่สนใจความต้องการของตนเอง ทำแต่ตามความต้องการคนอื่น

 

·        ติดกระแสบริโภคนิยม ทั้งปัจจัย ๔ และสิ่งของฟุ่มเฟีอย

 ·        ฯลฯ 

พอลองเทียบไป สิ่งที่ดีๆที่ทางธุรกิจทำที่น่าจะนำมาปรับใช้ได้ กลับไม่มีเช่น

 

·        การใช้ความรู้ ในการทำงาน

 

·        แผนการทำงาน

 

·        ความหลากหลาย และต่อเนื่องเชิงกิจกรรม

 

·        การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพโดยการใช้ความรู้

 

·        การพัฒนาตัวเอง ในเชิงความสามารถ การเข้าถึงข้อมูล และความรู้

 

·        การลดความเสี่ยงของแต่ละกิจกรรม

 

·        การร่วมมือกับผู้อื่น เชิงเครือข่าย

  

แล้วเกษตรกรจะไปรอดได้อย่างไร

  

หรือเรามีทางเลือกที่ดีกว่านั้นครับ

  

ช่วยผมด้วยครับ ผมต้องไปสรุปให้นักศึกษาฟัง วันพรุ่งนี้ (๓ กันยายน ๕๐)

 

ตอนเช้าครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ      
หมายเลขบันทึก: 124212เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น
P
wwibul
เมื่อ อา. 02 ก.ย. 2550 @ 12:17
ผมคิดว่าเรื่องจะดำเนินไปทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วครับ
  • ความหลากหลาย และลดการเสี่ยง ก็เป็นอีกมุมหนึ่ง ในสามเส้าครับ
  • ความพอประมาณ และมีเหตุผล คงต้องมาจาก KM ครับ
  • อยากให้อาจารย์เข้ามาตล่อมแนวทางเรื่อยๆครับ
  • ผมคิดว่าจะทำให้สังคมไทย และทุกคนชัดขึ้นครับ

ขอบคุณครับ

การเสี่ยงก็มีหลายอย่างนะครับ แต่ความหลากหลายก็น่าจะลดควาเสี่ยงแบบหลักๆได้นะครับ

การวิเคราะห์แบบองค์รวมมีไหมครับที่มีกิจกรรมหลายชนิด และมีการปลูกเหลื่อมฤดู ที่ราคา และผลลิตจะแตกต่างกันนะครับ

ข้อได้เปรียบในระบบธุรกิจที่มีมากกว่าภาคเกษตรคือการบริหารจัดการด้านการเงินค่ะ เช่น ลูกค้าสั่งซื้อสินค้ามาก็ต้องเปิด LC เราสามารถนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ธนาคารเพื่อดำเนินการผลิตสินค้า โดยไม่ต้องมีเงินทุนสำรองจำนวนมากในการผลิต หรือสามารถเก็บเงินเป็นเฟดได้ ประมาณนั้นค่ะ เวลาลูกค้าจ่ายเช็คมาถ้าลงล่วงหน้ามานาน เงินหมุนไม่ทันก็นำไปขายลดเปอร์เซ็นต์ได้ อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับน้อยลงอีกนิดมั้ย

และมีการคิดต้นทุน ทั้งต้นทุนคงที่และแปรผันเรียบร้อยหมด ค่าแรง ค่าขนส่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานก็ต้องนำมาคิด ค่าเช่าอาคาร ค่าน้ำ ค่าไฟ เบ็ดเตล็ด คือคิดทุกอย่างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายจริงเอามารวมหมด แล้วค่อยคำนวณหาราคาสินค้าที่จะขายออกไป มันถึงปลอดภัย ไม่มีค่าใช้จ่ายเซอร์ไพร์สมาทำให้ต้องปวดหัว กำไรที่ตั้งไว้ก็เป็นไปตามเป้าหมาย ปกติต้นทุนที่ประมาณการณ์มาเป็นอย่างดีมักจะคาดเคลื่อนไม่เกิน 5-10% ที่หนูทำอยู่ก็กำไรราวๆ 40-60% แล้วแต่ประเภทของงาน
P
5. Little Jazz \(^o^)/
เมื่อ อา. 09 ก.ย. 2550 @ 01:37
ขอบคุณครับที่มาเสริมให้
จุดเน้นของบทเรียน อยู่ที่การใช้ความรู้ทันเหตุการณ์ และทำงานต่อเนื่องครับ
คำว่าทันเหตุการณ์ไม่ได้หมายความเป็นวัน
อาจเป็นฤดู หรือเป็นปีก็ได้ แล้วแต่ประเภทงาน
แต่เกษตรกรขอดตรงนี้มากครับ

การเกษตรสามารถทำกำไร ได้ครับ แต่ก็ขาดทุนได้

เกษตรกรยากจน จริงไหม.... ได้คำตอบหรือยังครับอาจารย์ ไม่เคยเห็นเกษตรกรคนไหนขอข้าวขอเงินชาวบ้านครับ คนที่ขอก็เป็นคนที่ไม่ทำงาน ไม่รับจ้าง

ถ้าคำนวณดีดี กำไรจากการทำการเกษตรแบบเกษตรกรทั่วไป ไม่ได้กำไรเป็นหลาย ร้อยเท่าตามที่อาจารย์ อธิบายมาเรื่อยหรอกครับ ...

หนึ่งครัวเรือน ต้องมีรายได้เท่าไหร่ เพื่อเพียงพอต่อความต้องการคนทั้งครอบครัว จำนวนการทำนา ทำไร่ จะเพิ่มขึ้น ตามไปด้วย เมื่อต้องทำนาเพิ่ม ต้นทุนก้อมากขึ้น

ต้องจ้างแรงงานอีก ระวังจ้างแรงงาน ก้อมีต้นทุนการรับส่งแรงงาน การเลี้ยงอาหาร น้ำ ขนม ระหว่างงานอีก ...

เพราะทำเกินตัว เลยต้องมีค่าใช้จ่ายติดตามมาด้วย..ครอบครัวผมเป็นเกษตรกร ตลอดระยะเวลา มีกำไร ไม่มากหรอกครับ พ่อแม่ผม ทำนา ทำไร่ เยอะกว่าคนในระแวกนั้น

ที่บ้านมีรถไถนาเดินตาม มีรถไถขนาดใหญ่ (แทรกเตอร์) มีเครื่องหนวดข้าว มีเครื่องถั่ว เครื่องสีข้าวโพด เครื่องหว่านเมล็ดข้าวโพด มีรถปิคอัพ พ่อสามารถจัดการนำผลผลิตทุกชนิด ไปส่งให้ถึงโรงสี ถึงพ่อค้า รถ 10 ล้อได้เอง

ทุกๆ วันจะมีงานตลอด สลับไปมา ไม่เคย อยู่บ้านเฉยๆ มีสวนลำไย มะม่วง ปลูกสัก ด้วย

นอกจากนั้น พ่อยังปล่อยเกี้ยว ให้บริการชาวบ้าน ให้เงินทุน เมล็ด ปุ๋ย บริการไถ สี เอาขาย ...ทุกกระบวนการของคนอื่น ที่ยินดีมาอยู่ในสังกัดพ่อ ..พ่อจะให้บริการแบบครบวงจร ใครเจ็บป่วย เอาเงินให้ลูกไปเรียน ก็มาเบิกก่อนได้ ...เรียกได้ว่า คนอื่นๆ ไม่ต้องลงทุนไรเลย ..เพราะ่พ่อกู้เงิน มาลงทุนให้ทุกคน

ฉะนั้น ผมจะทราบดี ว่า แต่ละคน ในหนึ่งรอบการผลิตนั้น เหลือเงินเท่าไหร่ เพราะผมจะเป็นคิดเิงิน จ่ายเงิน ที่เหลือให้...ส่วนใหญ่ จะมีเงินเหลือครับ (นั้นก็ถือว่าเป็นกำไร สุทธิของเขาจริงๆ) ถามว่าเยอะไหม ...น้อย ครับ...บางคน ไม่พอ ด้วย ..ต้องยกยอดหนี้ไปรอบต่อไป...

เรื่องการขาย ถ้าในระบบ พ่อผมเปรียบเป็น คนกลาง (แต่ไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง) เพราะพ่อต้องเอาไปส่งให้อีกที ใครบอกว่า คนกลางที่รับจากสวนไปนั้น กดราคา เอาเปรียบเกษตรกร ผมขอเถียงอย่างสุดใจ จะว่าเข้าข้างบ้านตัวเองก็ไม่ใช่ครับ ... ราคาในแต่ละวัน มันขึ้นๆ ลงๆ พ่อคิดราคาก็คิดราคา หลังจากหักค่าใช้จ่าย แล้ว เท่านั้น ขึ้นลงตาม รถสิบล้อ รถสิบล้อ ก้อขึ้นลงตามตลาดใน กทม. คนกลางทุกคน ก็จะมีระดับของส่วนต่างคงที ...ต้นทุนจากมือเกษตรกร ถึงมือผู้บริโภค เรียกว่าต้นทุนทางการตลาด ซึ่งต้นทุนการตลาด แทบจะคงที่ในระยะยาว (ยกเว้นราคาน้ำมัน) พ่อค้าคนกลางกดราคา จึงไม่ใช่ปัญหาของการเกษตรกร ที่ต้นทุนการตลาดสูง จึงทำให้มองว่าเกษตรกรถูกเอาเปรียบ  ..แต่ถ้าศึกษาเข้าไปจริงๆ แล้วมิใช่นะครับ

กลับมาที่บ้านผมต่อนะครับ...พ่อก็จะมีลูกน้องประจำ และไม่ประจำ ทุกคนอยู่ในหมู่บ้านหมด

พ่อแม่ทราบดีเสมอว่า กำไรจากการทำนา ทำไร จริงๆ นั้น ไม่ได้มากมายอะไร แทบจะไม่เหลือ และรายได้ไม่ได้อยู่ที่ส่วนต่างของค่าปุ็๋๋ย ค่ายา ด้วย แต่ อยู่ที่การเอารถไถไปรับจ้างคนอื่น ที่ไม่ได้อยู่ในสังกัด และค่าใช้จ่ายแต่ละวัน อยู่ที่การสลับ สับเปลี่ยน เงินกู้ หลายๆ กอง ด้วย ผสมกับค่ารับจ้าง ด้วย

และต้องทำนา ทำไร่ เยอะๆ หลายๆ อย่าง ก็เพราะ ลูกน้อง ที่เราต้องพยามหางาน ป้อนงาน ให้มีตลอด วันละ 120 ถ้ามี 20 วันต่อเดือน เขาก็อยู่ได้ 

ต้องทำในส่วนตัวเอง และส่วนคนอื่น ทั้งระบบ เมื่อรถเสีย รถพัง ฝนตก น้ำท่วม ทั้งระบบ หยุดชะงัก ..

ฉะนั้น บ้านผมก็ไม่เคยรวย และก็ไม่เคยจน.. แต่ก้ออยู่บ้านชาวบ้านชนบท นั้นแหละครับ แต่ผมและพี่ก็ได้เรียนหนังสือ ส่วนหนึ่งก็เพราะเงินกู้นี่แหละครับ ..

ทุกวันนี้ ก็มีหนี้สิน ทั้ง พ่อแม่ พี่ และผม กันทุกคน เยอะไหม..รวมกันก็เกือบล้านบาท ...

ก่อนที่พวกผมจะเรียนจบ พ่อก็เปลี่ยนที่ดินจาก ที่ขายปลูกข้าวโพด มาปลูกยางพาราแทน และก็ซื้อที่ดิน ใหม่ ปลูกข้าวโพด เรียกได้ว่าต้องทำงาน คูณสอง เพราะการลงทุนในยางพารา เยอะมาก ..แถมต้องใช้เวลา 7-8 ปีจึงจะเริ่มกรีดยางได้ ..

ชาวบ้านในสังกัด ลูกน้องพ่อ ก็ยังคงทำหน้าที่ ตัวเองเช่นเดิม ..ใครที่ลูกโต เรียนจบแล้ว ก็เริ่มจะอยู่บ้านมากขึ้น เด็กสมัยใหม่ก็ออกจากภาคการเกษตรมากขึ้น

 พอผมเรียนจบ พ่อแม่ ก้อลงการทำนา ทำไร่ ลง ชาวบ้านก้อเลิกกันไปเยอะ พ่อแม่ก้อทำเท่าที่ทำได้ ไม่ต้องใช้แรงงานเยอะ แล้ว เพราะต้องให้ความสนใจกับยางพารา มากขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ แม่บอกว่า การทำการเกษตรในส่วนตัวเอง เดี๋ยวนี้ไม่ต้องใช้จ่ายเยอะแล้ว..ไม่ต้องเอาเงินไปเลี้ยงข้าว เลี้ยงเหล้า ลูกน้อง เยอะเหมือนแต่ก่อน 

เพราะสมัยก่อน แม่จะทำกับข้าว เยอะมาก และ  เนื้อๆ ดีๆ ทั้งนั้น เพราะถ้าทำแต่แกงผัก น้ำพริก ลูกน้องก็จะบ่น ไม่มีแรงบ้าง ...บางวันต้องหมดค่า เครื่องดื่มชูกำลังอีก...

ที่เล่ามาทั้งหมดผมก็พยายามจะวิเคราะห์แล้วจริงๆ ปัญหาที่แท้จริงมันอยู่ที่ไหน ทำไมยังจนอยู่ (มีรายได้น้อย)

แต่ต้องขอแย้งอาจารย์เรื่องที่ว่า ทำการเกษตรแล้วมีกำไร เยอะหลายเท่านะครับ ถ้ามองทั้งระบบ คนที่ทำจริงๆ มันไม่ได้มากมายหลายเท่าหรอกครับ ก็ 5-10% เองครับ..

แล้วผมก็ขอสรุปปัญหาที่ผมเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรได้กำไรน้อย (รายได้น้อย) ไม่จน ได้ว่า..

1. รายไ้ด้น้อย เพราะข้อจำกัดของเงินทุน ที่ดิน, จริงๆ แล้วกำไรต่อหน่วย น้อย มาก ต้องทำเยอะๆ ถึงจะทำให้มีรายได้รวมเยอะ (เหมือนเขาทำธุรกิจ)

2. ภัยธรรมชาติ และระบบชลประทาน เข้าไม่ถึงตลอดทั้งปี

3. ขี้เกียจ ไม่ขยันในการดูแล เอาใจใส่ พลิกแพลงในการแก้ปัญหา

4. ขาดการบริหารจัดการในเงินทุนที่ดี เช่นแทนที่จะประหยัดค่าแรงที่ต้องจ้าง โดยการเอามื้อเอาแรงกัน หรือไปรับจ้าง แทนการอยู่บ้านเฉยๆ, ไม่ประณีตในการหยอดเมล็ด การใส่ปุ๋ย

5. ไม่หารายได้เสริม รอแต่ปลายฤดูกลาง ทำให้มีรายไ้ด้น้อย

 

ทั้งหมดนี้ จากการสังเกต เกษตรกรคนอื่น

ถ้าจากมุมมองของบ้านผมเอง..ที่ทำแถบจะครบวงจร เรื่องขยันไม่มีตก.. ทำทุกอย่าง ทุกวัน..เพราะทั้งส่วนตัวเองและชาวบ้าน

เรื่องที่ทำได้ยากยิ่งและเป็นหัวใจสำคัญ รีดประสิทธิภาพ แรงงาน เพราะ จริงๆ แล้วจ่ายค่าแรงงานต่อคนต่อวัน เกือบ สองร้อยห้าสิบบาท และหมดไปกับค่ากิน ของลูกน้องนี่แหละ เพราะเราอยู่เป็นหมู่บ้านเป็นพี่เป็นน้อง ถ้าเลี้ยงไม่ดี เขาก็ไม่อยากอยู่ ถ้าโกงเราก็เสียชื่อ ... และจะใช้งานหนักก้อไม่ได้ .. เป็นสิ่งที่แก้ไม่ได้มานานมากๆ ครับ

เทคโนโลยี สามารถช่วยลดต้นทุนทางด้านแรงงานได้ครับ มีเครื่องหยอดเมล็ด พ่อ สามารถขับรถไถ หรือจ้างคนหนึ่งคน หยอดเมล็ดทั้งหมดได้ เพียงไม่กี่วัน

ความรู้ใหม่ๆ ก็ได้รับจาก ตัวแทนจำหน่ายเมล็ด ปุ๋ย ยา และจากประสบการณ์ตัวเองล้วนๆ ไม่มีเจ้าที่ของรัฐแน่นอน..

ยกเว้นแต่ตอน ทำสวนยางพารา ก็ไปอบรมบ่อยๆ และตอนมีโครงการต่างๆมาถึงหมู่บ้าน อันนี้ แม่จะไปร่วมทุกอย่าง ...เป็นกรรมการด้วย

.........

ผมก็ไม่รู้ว่าสาเหตุ ของปัญหาจริงๆ คืออะไรกัน แน่ เพราะสิ่งที่คิดว่าใช่ ที่บ้านก้อทดลองมาหมดแล้ว... สุดท้าย ก็ไม่ได้มีเงินเก็บเลยครับ รายได้น้อยเช่นเดิม

พอไม่ต้องจ่ายค่าเทอมลูก ทุกอย่างเลยหมุน อยู่เพียงในครัวเรือน ใช้หนี้ไปเรื่อยๆ สักวันคงหมด ..

ถ้าจะมองไปที่ระดับชาติ ในเรื่องของปัญหาในส่วนของกำไร นั้นก็คือ ประสิทธิภาพการผลิต กิโลกรัมต่อไร่ เราต่ำมากครับ สิ่งที่ช่วยได้คือ เทคโนโลยี

ในส่วนของรายได้/ยากจน สิ่งที่จะช่วยได้ คืือ ความรู้ความเข้าใจ การบริการจัดการ ในครัวเรือน ลดร่ายจ่าย เพิ่มรายได้ ...

อยากจะเห็น ความเห็นของอาจารย์ และท่านอื่นจังเลย ครับ ..

เพราะผม พยายามฉายภาพในทุกมุมแล้ว อยากให้ลอง ตั้งสมมุติฐาน มาหน่อยครับ บางที่ถ้าได้แลกเปลี่ยนกันอาจจะได้ข้อสรุปมากกว่านี้และตรงกว่านี้...

 

ต้องขอโทษด้วยนะครับ ที่ร่ายยาว และยังขุดของเก่ามาด้วย

 

 

ต้องขออภัยอีกที ครับกลับไปอ่านแล้วพิมพ์ผิดเยอะมากเลยครับ แถมแก้ไขไม่ได้ด้วย

อยากจะลบก็ลบไม่ได้ด้วย..เพราะเพิ่งกลับไปดูวันที่อีกที ผ่านมา จะ 4 ปีแล้วหรือนี่ ...

อาจารย์จะแวะมาอยู่ไหมนะ

ครับ

ผมยอมรับในข้อโต้แย้งทั้งหมดครับ

แต่ที่ผมว่ากำไรนั้น มาจากการคิดเป็นรายกิจกรรมครับ

แต่ละกิจกรรมกำไรสูงมาก เมื่อเทียบกับทุนที่ลงไป

เช่น

ข้าว ๑ เมล็ด หว่านทิ้งไว้ ในสภาพที่ระบบนิเวศไม่ถูกทำลายมากนัก แทบไม่ต้องดูแลอะไร ปลายฤดูได้เป็นหมื่นเมล็ด

หรือ ต้นไม้ปลุกทิ้งไว้สิบปี หรือยี่สิบปี แทบไม่ได้ดูแล ต้นทุนน้อยมาก มูลค่าไม้ต้นละหลายหมื่น เป็นต้น

ฯลฯ

แต่ในความเป็นจริงเรากลับนำเอาต้นทุนอื่นๆ ที่แทบไม่เกี่ยวกับตัวกิจกรรม และบางทีก็ไม่จำเป็นต้องทำมาบวกเข้าไป อย่างไม่ค่อยเป็นธรรมกับระบบการผลิต ทำให้ได้กำไรน้อยลง หรือขาดทุนไปเลย

ถ้าคิดแบบเชิงธุรกิจ ตรงไปตรงมา โอกาสจะขาดทุนน้อยมาก เพราะกำไรสูงอยู่แต่เดิม

ผมไปดูเกษตรกรบางคน ที่ชัดเจนในตัวเอง ที่คิดแบบตรงๆ แล้วประทับใจมาก ทำอะไรก็มีแต่กำไรกับกำไร

คนที่ขาดทุน หรือได้กำไรน้อยมาจากการคิดไม่ชัด จัดการสับสน และไม่เข้าใจตัวเองครับ

นี่คือที่มาของการเขียนเรื่องนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท