มหาวิทยาลัย...กับมุมมองการบริหารเพื่อความยั่งยืน


ไม่ควรบริหารเพื่อเงิน ....แต่ถ้าไม่มีเงินก็บริหารไม่ได้

เป็นอีกหนึ่งวันที่ได้.....ปิ้งแวบ.....ความคิดใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาการทำงาน ก็เลยอยากนำมาเล่าให้ฟังค่ะ  เคยไม่เห็นด้วยอยู่หลาย ๆ เรื่อง เช่น เรื่องเกี่ยวกับการบริหารเงินงบประมาณใน หน่วยงานซึ่งต้องใช้เงินงบประมาณให้หมดภายในปีงบประมาณนั้น ๆ ซึ่งก็จะประมาณเดือนกันยายน แล้วถ้าใช้เงินไม่หมดก็จะมีหน่วยงานอื่น ๆ มาช่วยใช้ หรือส่งคืนสำนักงบฯ จะเห็นว่าผลที่ตามก็คือถ้าไม่มีการวางแผนที่ดีแล้ว จะทำให้มีการใช้เงินเพื่อการอะไรก็ได้ในช่วงปลายปีงบประมาณ สิ่งนี้ทำให้มองเห็นว่า เหมือนเป็นการสร้างนิสัยความเคยชินในการได้มาซึ่งเงินงบประมาณ แล้วใช้จ่ายอย่างคนที่แบมือขอเงินเป็นอย่างเดียว ซึ่งจะโทษคนใช้เงินก็ไม่เต็มปาก เพราะก็เคยเป็นแบบนี้มาตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่นักบริหารรุ่นใหม่ต้องคิดถึง และควรจะสร้างวัฒนธรรมตรงนี้ขึ้นใหม่ในองค์กร ซึ่งต้องมองเรื่องสมดุลของเงินทั้งรายรับและรายจ่าย อาจต้องมองไปไกลๆ ค่ะ ว่าถ้าไม่มีบุญเก่าแล้ว หน่วยงานจะไปรอดหรือเปล่า อีกเรื่องหนึ่งค่ะ คือการซื้อของโดยใช้เงินราชการ แล้วซื้อได้ในราคาที่แพงกว่าปกติถึง 20-30% ซึ่งทางร้านค้าให้เหตุผลว่า ทางเราจ่ายเงินให้เค้าช้ามาก จึงต้องบวกเงินไปตรงนี้ด้วยแล้วระบบนี้ก็ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยจนกระทั่งทุกวันนี้

จากมุมมองของ ผศ.ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ จาก มจธ. อาจารย์มาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการบริหารหน่วยงานเพื่อความยั่งยืนของ มหาวิทยาลัย โดยใช้ มจธ. เป็น case studies ได้ค่อนข้างเคลียร์มาก พอจะสรุปได้อย่างนี้ค่ะ 

1. เราต้องมองตัวเองให้ออกค่ะว่าอะไรคือเป้าหมายของเรา แล้วต้องวิเคราะห์ต่อว่าเรามีความเสี่ยงเรื่ออะไรบ้าง อยู่ในภาวะเช่นไร แล้วต้องมีการปรับตัวอย่างไรภายใต้ภาวะนั้น

2. ต้องเข้าใจตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดในมหาวิทยาลัยต้องมีเป้าหมายร่วมกันมีวิสัยทัศน์ และพันธกิจเดียวกันกับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังต้องเน้นเรื่องศักยภาพการทำงานทางวิชาการ พื้นที่ดำเนินการ และกลุ่มลูกค้า ซึ่งก็คือตัวนักศึกษานั่นเอง

3. การบริหารอย่างมืออาชีพซึ่ง อาจารย์ให้มุมมองว่า มีความสำคัญมากทั้งเรื่องการกำหนดโครงสร้างขององค์กร การบริหารการเงิน และการบริหารงานบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร และการสร้างความสมดุลของการทำงานในมหาวิทยาลัย

อาจารย์ทิ้งท้าย และย้ำว่าสำคัญมากก็คือ บุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ดังนั้นการทำให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในองค์กร จะนำไปซึ่งการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ด้วย แต่ต้องคำนึงถึงความคาดหวังของบุคลากร และองค์กรว่าอยู่บนจุดยืนที่สามารถทำให้เกิดความเป็นธรรม แบบ win-win ได้หรือเปล่า สิ่งนี้ก็เป็นโจทย์ที่ดีสำหรับนักบริหารมือใหม่หัดขับอย่างเราต้องมาลองวางกลยุทธ์กันต่อไปค่ะ......

ส่วนเรื่องการจัดการเรื่องที่บ่น ๆ ตอนขึ้นต้น ก็ได้ข้อคิดมาค่ะว่า ระเบียบของมหาวิทยาลัยสามารถแก้ไขได้ ถ้าไม่ไปขัดกฏหมายแม่ ส่วนขั้นตอนการทำงานเพื่อลดขั้นตอน ก็อยู่ที่ความสามารถของการบริหารจดการของผู้บริหารว่าจะจริงจังแค่ไหน อาจารย์ยกตัวอย่าง มจธ. เรื่องการรทำงานของกองคลังก็ไม่ช้าแล้ว มีระเบียบออกมาว่าต้องจ่ายเงินให้ร้านค้าภายใน 7 วัน ซึ่งก็แก้ไขปัญหาพวกนี้ได้ และช่วยประหยัดเงินไปได้มาก

เคยได้ยินไหมคะว่า....อาจารย์อย่างนี้ทำไม่ได้หรอก....มันขัดระเบียบ....):

หมายเลขบันทึก: 123558เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทความนี้  เงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้มา ก็ได้มาจากภาษีของประชาชนแต่ราชการกับนำมาใช้อย่างไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร เงินเหลือก็นำไปฟอกซะให้สวยหรู พากันไปเที่ยวบ้าง ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์บ้าง น่าจะนำเงินที่เหลือไปทำอย่างอื่นให้เกิดประโยชน์ดีๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ต่อประเทศชาติ วงจรอุบาทเดิมๆ มันก็ยังคงวนเวียนอยู่เช่นนี้ต่อๆไปไม่มีวันหมด...

เรื่องการใช้เงินเท่าที่ทราบและคุ้นชินกันอยู่ ก็มักดูปีก่อน ๆว่ามีรายการอะไร  ค่อนข้างจะเป็นรูเท้า (routine)   ......ให้เลขา ฯ ว่าไป 

ปกติราชการไทยไม่ค่อยคิดอะไรล่วงหน้าว่า ยุทธศาสตร์ ยุทธหมอน ที่นอน ผ้าห่มอะไร ไม่สนใจเท่าไหร่...ผงแผนทำให้ได้มีตามเขาไปเอาเปิง เอาแต้ม....หากมีเงินเหลือก็ใช้sooking system ไม่เช่นนั้นอาจจัดการ "ล้างท่อ"ร่อให้รู้แล้วรู้รอด.... ประเด็นซื้อของแพงกว่าชาวบ้านเป็นปรากฏการณ์  "จำใจโง่".....หรือว่า "โง่เพื่อชีวิต" หรือว่า  "เอาความโง่มาเป็นระเบียบ" ไม่รู้จะเรียกอะไรดีครับ   

 มองเชิงโอกาสของระบบแล้ว  ราชการเป็นระบบใหญ่  ใช้เงินจากแหล่งเดียวกัน  สามารถวางแผนร่วมกันได้  จ่ายได้แน่นอน ดูเหตุผลทางการค้า ทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วย "collective action และeconomy of scale แล้ว น่าจะซื้อได้ถูกกว่าชาวบ้านได้ 10-20% 

ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยได้คือลดรูเท้า(routine)และขยายรูหัว(คิด)มากขึ้น และรักษาดวงตาที่พร่ามัว พัฒนาคนให้มีsonetine(จุดยืน)...เรื่องราวนี้เป็นคล้ายดังกฎว่าด้วยแรงดึงดูดในจักรวาล...เป็นเรื่องธรรมดาของราชการ  เป็นปัญหาที่คุ้นชินจนไม่คิดว่าเป็นปัญหา   .....วาดหวังว่า ถ้าบุญวาสนาkmมีจริงประกอบกับ fm(feeling management )ปลุกความรู้สึกรับผิดชอบและสำนึกในหน้าที่ของคนได้จริงแล้วละก็.....รอวันที่ตะไคร้ในสวนออกดอก ในบรรยากาศฟ้าหลังฝนผู้คนจะเข้าใจและลุกขึ้นมาแก้ไขร่วมกัน....อีกไม่นานหลอกครับ  ผมเชื่ออย่างนั้นนะ  

ที่สำคัญแม่โจ้เราก้าวหน้าและพัฒนาการบริหารจัดการรุดหน้าไปมากด้านงานแผนงานการเงิน ธุรการ ก้าวหน้าตามลำดับ  เราเป็นมหาวิทยาลัยเล็กและงามมีความเป็นไปได้และง่ายในการส้างความสัมพันธ์อันดี ที่จะส่งผลให้ก้าวหน้าอย่างมีอัตลักษณ์และการบริหารจัดการที่ดี....ความสำเร็จมีอยู่จริงโดยไม่ต้องเอื้อมเพราะมันอยู่ที่ใจพวกเราเอง.....หรือมิใช่?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท