การใช้วิปัสสนา...เยียวยารักษาใจ


การดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้านจิตวิญญาณ

โครงการวิปัสสนาเยียวยารักษาใจ

หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ

  • ที่ปรึกษาโครงการ   

นางสาวชูศรี  คูชัยสิทธิ์            หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

นางดวงพร  สีจร                      ผู้ตรวจการแผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ

ผู้รับผิดชอบโครงการ 

พระครูบรรดล  ถาวโร              สำนักปฏิบัติธรรมเวฬุวัน        ประธานฯ ฝ่ายสงฆ์

นางอุบล   จ๋วงพานิช               หัวหน้าหอผู้ป่วย 5จ             ประธานฯ ฝ่ายฆราวาส

นางสาวรัชนีพร  คนชุม           พยาบาล                                   กรรมการ

 นางสุพัสตรา  เฮงศิริ                พยาบาล                                   กรรมการ

นางบังอร  เพชรศรี                  ผู้ช่วยพยาบาล                          กรรมการ

นางบานเย็น  ไชยศรี                พนักงานการแพทย์                 กรรมการ

นางสาวพัชรี  ประสมพืช         พยาบาล                                   กรรมการและเลขานุการ

  • ผู้ร่วมโครงการฯ

หน่วยเวชกรรมสังคม  โรงพยาบาลศรีนครินทร์

  • หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและ

เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง

ปัจจุบันการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ   แต่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ ต่อร่างกาย ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ช่องปากอักเสบ ผมร่วง ท้องเสีย ฯลฯ

ซึ่งอาการข้าเคียงเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านจิตใจ

นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

ทำให้มีปัญหาทางเศรษฐกิจ    ทำให้มีความวิตกกังวลมากขึ้น 

หลายคนจะรู้สึกกระวนกระวายใจ  จิตใจหวาดหวั่น ไม่สบายใจ

หงุดหงิด สะดุ้งตกใจง่าย  จิตใจไม่สงบ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย

ดังนั้น สำนักสำนักปฏิบัติธรรมเวฬุวัน  จังหวัดขอนแก่น 

หอผู้ป่วย 5จ ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

จึงได้มีการจัดโครงการวิปัสสนาเยียวยารักษาใจ

ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้ศาสนาเป็นที่พึ่ง นำธรรมะเข้ามาใช้ในชีวิต

ประจำวัน เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความสงบสุขให้

กับผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติ  ลดความวิตกกังวลขณะอยู่โรงพยาบาล

และมีจิตใจสงบมากขึ้น

  • กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัดและญาติ ที่หอผู้ป่วย 5จ และ

หอผู้ป่วยอื่น รวมทั้งผู้สนใจ

  • ผู้รับผิดชอบ

พยาบาล มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยขณะทำกลุ่ม ประเมินผลก่อนและหลังทำกลุ่ม

จดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้  

ช่วยเลือกผู้ป่วยหนักที่พระอาจารย์จะเข้าเยี่ยมข้างเตียง

กรณีผู้ป่วยไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในห้องประชุม  

ผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ ช่วยดูแลผู้ป่วยขณะทำกลุ่ม  ช่วยประเมินผลก่อนและหลังทำกลุ่ม ประสานรถรับส่ง พระอาจารย์ 

 พนักงานการแพทย์ ช่วยดูแลสถานที่ แจกันดอกไม้ จัดเตรียมน้ำดื่ม แด่พระอาจารย์   เตรียมน้ำดื่มและของว่างไว้บริการผู้ป่วยและญาติ 

คนงาน   มีหน้าที่ จัดสถานที่และเก็บของเข้าที่หลังจัดกิจกรรม

 เจ้าหน้าที่เวชกรรมสังคม มีหน้าที่  รับ-ส่ง พระอาจารย์

  • เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ

แบบบันทึกการทำกิจกรรมกลุ่ม

แบบประเมินความไม่สุขสบาย ความวิตกกังวลและความสงบสุขและความพึงพอใจ

  • ขั้นตอนการดำเนินงาน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์  หัวหน้าพยาบาล  ผู้ตรวจการฯ แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ  บุคลากรหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ  หน่วยเวชกรรมสังคม  ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติธรรมเวฬุวัน  ได้ร่วมปรึกษาหารือ  เรื่อง การจัดตั้งโครงการฯ เพื่อนำวิปัสสนาเยียวยารักษาใจมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาล

  • การดำเนินการกลุ่มวิปัสสนาเยียวยารักษาใจ

เตรียมผู้ป่วยและญาติ

พระอาจารย์  จากสำนักปฏิบัติธรรมเวฬุวัน  เป็นผู้ดำเนินการ  นำผู้ป่วยและญาติทำกิจกรรม  อาราธนาศีล  การสวดมนต์  หมั่นปฏิบัติทุกวัน ทำให้จิตสงบ มีความสุข เห็นผลและต้องมีศีลสวดพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ   ฝึกวิปัสสนา เป็นการรักษาศีล  สะสมบุญ ฝึกสติ ทำให้ใจสงบ การฝึกมี 4 ท่า  ยืน  เดิน นั่ง  นอน ทุกขั้นตอนให้มีสติกำกับ  เดินจงกรม  นั่งสมาธิ   แผ่เมตตา  อุทิศส่วนกุศล  สรุปแนวปฏิบัติ  แนะนำศูนย์ปฏิบัติธรรม  ถาม-ตอบธรรมมะ  ดูวีซีดี ธรรมมะ เยี่ยมและสอนธรรมมะให้ผู้ป่วยหนักข้างเตียง

 

             

                 สวดมนต์

             

               สอนธรรมมะ

            

                         เดินจงกรม

                    

                         เยี่ยมผู้ป่วยข้างเตียง

พยาบาลประเมินความไม่สุขสบาย ความวิตกกังวล ความสงบสุขก่อนและหลังการทำกลุ่ม  

ประเมินผลลัพธ์ที่ได้ จากการทำกลุ่มโดยวัดระดับความวิตกกังวล ความสงบสุข  เปรียบเทียบกับก่อนทำกิจกรรม และความพึงพอใจ จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้

และนำมาวิเคราะห์ปัญหาเพื่อดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                

                      พยาบาลประเมินหลังเข้ากลุ่ม

                

                  เลี้ยงนำสมุนไพร และผลไม้หลังเข้ากลุ่ม

  • สถานที่ดำเนินการ

ห้องประชุมหอผู้ป่วย 5จ  แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ งานบริการพยาบาล

  • วันและเวลาดำเนินกิจกรรม

ทุกวันพุธของแต่ละสัปดาห์  เวลา 13.00-15.00 น.

  • งบประมาณ

รายรับ 

งบประมาณจากคณะแพทยศาสตร์

เงินบริจาค  จาก เจ้าหน้าที่   ผู้ป่วยและญาติ

รายจ่าย 

รถรับ-ส่งพระสงฆ์ งบประมาณจากคณะแพทยศาสตร์

จัดทำหนังสือธรรมมะ แจกผู้ป่วยและญาติ งบประมาณจากคณะแพทยศาสตร์

อาหารว่าง จาก เงินบริจาค  จาก เจ้าหน้าที่   ผู้ป่วยและญาติ

  • การประเมินโครงการ

การประเมินผลการดำเนินงานและสะท้อนผลเป็นไตรมาสทุก 3 เดือน

  • ผลลัพธ์

จากการประเมินผู้ป่วยและญาติที่เข้ากลุ่ม  พบว่า  ความวิตกกังวลลดลงและความสงบด้านจิตใจเพิ่มขึ้น

  • สรุปผลการดำเนินงาน  

สรุปบทเรียนและการเรียนรู้จากการดำเนินโครงการ มีพระอาจารย์บันดล ถาวโรและพระอาจารย์องค์อื่นๆ มาร่วมดำเนินการเป็นบางวัน   นำพาผู้ป่วยมะเร็งสวดมนต์  อาราธนาศีล  เทศนาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  การมีสติ    ฝึกสติ หมั่นปฏิบัติทุกวัน จะทำให้จิตใจสงบ มีความสุข เห็นผลและต้องมีศีล ฝึกวิปัสสนา เป็นการรักษาศีล   การฝึกมี 4 ท่า  ยืน เดิน  นั่ง  นอน   ทุกขั้นตอนให้มีสติกำกับ  เดินจงกรม  นั่งสมาธิ   แผ่เมตตา  อุทิศส่วนกุศล

  • บทเรียนที่ได้รับสำหรับพยาบาลและผู้ป่วย     

ผู้ป่วยและญาติ  ผ่อนคลาย  ลดความเจ็บปวด  โดยใช้วิธีกำหนดจิต สามารถควบคุมสติ  มีสมาธิ  และนำไปปฏิบัติต่อด้วยตนเอง 

เพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ

อยากให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง        

การฝึกวิปัสสนา  เป็นการฝึกจิตให้มีสติ  สมาธิ 

ทำให้ใจสงบอยู่กับปัจจุบัน  จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน 

เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น  T-Cell เพิ่ม 

ซึ่งพระอาจารย์เล่าว่า มะเร็งเป็นโรคที่กลัวความสงบ

 ถ้าผู้ป่วยสามารถกำหนดจิตให้มีสมาธิ ทำให้ลดความวิตกกังวล 

เข้าใจวัฏฏะจักรของชีวิต เมื่อถึงวาระสุดท้าย 

ถ้าสามารถตัดกิเลส  โลภะ  โมหะ โทสะ

วาระสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยจะสงบ  ไม่ทุกข์ทรมาน 

สามารถลดปวดได้      

บุคลากรที่เข้าทำกิจกรรม  เช่น พยาบาล  ผู้ช่วยพยาบาล  พนักงานการแพทย์   สามารถทำงานด้วยใจ มีสติ   มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 123557เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2007 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

พวกเราดำเนินการมาครบ 1 ปี มีข้อเสนอแนะว่า

  • พระอาจารย์เสนอแนะ   ให้มีบทสวดมนต์เพิ่มในหนังสือธรรมมะอีก 1 บท
  • การเตรียมกลุ่ม  ควรที่จะผู้ป่วยและญาติเข้ามานั่งรอพระสงฆ์ก่อน
  • เป็นกิจกรรมที่ดี   มีวิธีการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
  • ทำให้มีจิตใจที่สงบ สบายใจและมีความสุขมากขึ้น
  • ขอให้จัดกิจกรรมนี้ไปเรื่อยๆจะดีมากที่สุด
  • ขอบคุณมาก
  • ชอบหนังสือธรรมะที่แจกให้มากจริงๆ
  • ทำให้มีกำลังใจอยู่กับโรคที่เป็นอยู่
  • เข้าใจธรรมะดีขึ้น
  • อยากให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมนี้มากๆ
  • ได้แนวปฏิบัติในการลดปวด

 

สวัสดีครับ

ผมแวะมาทักทาย  ช่วงนี้ไม่ค่อยได้มีเวลาเข้ามาในบล็อกเท่าที่ควรนัก  เลยไม่มีดอกาสได้มาทักทาย

ช่วงนี้ก็ยังต้องดูแลการจัดกิจกรรมนิสิต  คิดว่าอีกนานถึงจะได้กลับไปบ้าน ..

.
..

แวะมาทักทายและให้กำลังใจคนทำงาน อีกครั้ง, นะครับ

การฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างถูกต้องและตรงประเด็น จึงควรที่จะศึกษาอริยสัจ 4 ให้เข้าใจ จดจำไว้ได้ตามสมควรเสียก่อน แล้วจึงค่อยลงมือปฏิบัติธรรมในชีวิืตประจำวันต่อไป.

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

ขอบคุณที่เข้ามาทักทายค่ะ

ดูแลนิสิตแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะคุณลั่นดอย

ขอบคุณที่แนะนำค่ะ 

แวะมาเยี่ยมชมครับ เป็นโครงการที่ดีครับ แล้วผู้ป่วยศาสนาอื่นโดยเฉพาะอิสลามทำกิจกรรมทางศาสนาอย่างไรครับ (มอ. น่าจะมีศาสนาอิสลมามาก)

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์

เป็นโครงการที่พวกเราภาคภูมิใจมาก

นอกจากผลบุญจะมีต่อผู้ป่วยและญาติแล้ว

เจ้าหน้าที่เราทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชฯ ผู้ช่วยพยาบาล และคนงาน ที่มีโอกาสร่วมในโครงการฯ มีสุขภาพจิตดีขึ้น อารมณ์ดี สัมพันธภาพต่อกันดีขึ้นค่ะ

ส่วนศาสนาคริสต์ จะมีกลุ่มมาเยี่ยมและร้องเพลงให้พร แต่มีปีละครั้งเฉพาะวันคริสมาตย์

ศาสนาอิสลาม เรายังไม่ได้จัดบริการ ในอนาคตเราคิดว่าจะต้องหาผู้มีความรู้มาให้คำแนะนะ

แต่ผู้ป่วยศาสนาอิสลามยังไม่มีผู้ป่วยที่มารับการรักษาค่ะ

แวะมาเรียนรู้และชื่นชมด้วยจริงๆเลยค่ะ  ได้รับทราบผลงานและแนวทางการดูแลที่พี่อุบลและทีมงานได้ทำเพื่อผู้ป่วยแล้ว ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ต่อไปค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณไพรินทร์

ทีมงานของเรา ทำงานเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งที่มาอยู่กับเราคลายวิตกกังวล

ทำให้ที่หอผู้ป่วยเหมือนบ้าน...

ให้เขารู้สึกสบายใจที่มาอยู่กับเรา

สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ...การฝึกจิตใจ .

โดยมีโครงการวิปัสสนา....หวังว่าจะเยียวยารักษาใจผู้ป่วยของเราได้ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อุบล  ขอชื่นชมค่ะเป็นโครงการที่ดีจังเลยค่ะ เพราะเท่าที่เห็นคนที่มานอนให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่ อาการเป็นอย่างที่พี่ว่าจริง ๆ ถ้าไม่ตั้งสติให้ดี คงจะแย่เหมือนกันค่ะ เห็นหลายๆ คนอยู่ได้เพราะยึดหลักธรรมะนี่แหละค่ะ แล้วจะแวะมาอ่านบันทึกพี่อีกนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง     P

น้องลองหาหนังสือธรรมมะให้คุณแม่อ่านก็ได้นะคะ 

 เพราะที่ทำงานพี่จะมีหนังสือธรรมมะไว้ให้ผู้ป่วยอ่านและสวดมนต์ก่อนนอน

ผู้ป่วยที่มาอยู่ที่ตึกพี่ส่วนมากจะปรับตัวได้ดีค่ะ และที่สำคัญไม่เบื่อที่จะมาอยูในโรงพยาบาลค่ะ

 

ขอฝากคุณอาหน่อยครับ

                ผมมีเพื่อนที่มีเนื้อที่พัฒนาเร็วขึ้นแบบนี้เหมือนกัน กว่าจะรู้มันก็ใหญ่มากแล้วจนสุดท้ายเขาต้องตัดทิ้งหมอบอกว่าอาจจะมีลูกไม่ได้อีก สิ่งที่ผมเห็นข้างเตียงเขาคือบทความอ่านเล่นครับมีภาพ และภาษาที่ง่ายเกี่ยวกับการจัดการกับทุกข์ ผมว่าดีนะครับถ้าเขาได้ทำความเข้าใจ

ผมเป็นคนหนึ่งที่ฝึกธรรมครับแต่ผมแปลกกว่าชาวบ้านหน่อย คือ ผมเรียนรู้ด้วยตนเองครับภาษาที่ใช้จึงไม่อิงภาษาธรรมครับถึงมีก็น้อย ผมมีความคิดเห็นว่าภาษาที่ใช้ไม่น่าเป็นภาษาทางธรรมครับเนื่องจากเข้าใจยากต้องมาแปลซ้ำซ้อน(ผมว่าคนที่เป็นแบบนี้คงไม่มีใจที่จะเรียนรู้อะไรมากมายอีกแล้ว เพื่อนผมก็เป็นแบบนี้)

ผลจากการฝึกของผมนะครับที่ส่งผลต่อสุขภาพ

อย่างที่ผมเขียนข้อความดังกล่าวให้อาครับ การฝึกทำให้เราเห็นความคิดกับร่างกายเห็นผลกระทบจากความคิดที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายเราครับ ตัวอย่างเช่น ระบบความคิดที่คิดเรื่องนี้สมัยก่อนส่งผลให้ปวดหัวแต่หลังจากการฝึกทำให้ผมจัดการกับระบบความคิดใหม่ มันไม่ส่งผลต่อตำแหน่งที่ปวดอีก และส่วนเรื่องอาการเจ็บ ปวดอื่นๆ ก็เช่นกันครับร่างกายเจ็บ ปวดจริงครับ แต่มันจะปวดขึ้นอีก เนื่องจากจิตไปจับกับสภาวะที่เจ็บครับดังนั้นทุกครั้งที่เจ็บ ปวดผมไม่เอาจิตไปจับสภาวะนั้นผลจากการฝึกจะทำให้เราชั่งใจในการเลือกรับประทานอาหารได้อีกด้วย เราจะเลือกกินผัก ผลไม้ กินเนื้อสัตว์น้อยลง ทั้งๆที่ตะก่อนผมไม่เคยแตะเลย

                การฝึกของผมถ้าตั้งใจจริง ฝึกไม่นานครับ(ถ้ารู้ทันจิตฝึกถูกวิธี ถ้านับเป็นชั่วโมง 168 ชั่วโมง ก็จะรู้เช่นเดียวกับผมสุขภาพจิตจะดีขึ้น แล้วสุขภาพกายก็จะพัฒนาตามมา

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณ Zone

ขอบคุณที่เข้ามาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การนำธรรมมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นจริตที่แต่ละคนพยายามหาแนวทางที่ดี ที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่พยายามหาแนวทางที่เหมาะสมกับดิฉันเอง

พระอาจารย์ที่มาดูแลผู้ป่วยทุกสัปดาห์ ก็บอกว่าฝึกไปถึงไหน สวดมนต์ได้หรือยัง

ดิฉันตอบว่า เกือบแล้วค่ะ

พระอาจารย์บอกว่า เวลามีเท่ากัน ดิฉันก็ต้องพยายามจัดสรรเวลาสำหรับตัวเองค่ะ

หวังว่าคงได้ข้อคิด..ดีดี อีกนะคะ

การฝึกทำให้เราเห็นความคิดกับร่างกายเห็นผลกระทบจากความคิดที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายเรา

ในทางวิทยาศาสตร์ เราก็เคยเรียนมาว่า ความคิดจิตใจ มีผลต่อร่างกายค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท