แอบดูงานเด็กเด็ก ที่ชลพฤกษ์ (5) เด็กเล็กที่พัทลุง


แนวคิดของเครือข่ายคนนี้ คือ แนวคิดการพัฒนา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ เขาจะดึงเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก สู่ศูนย์เด็กเล็กที่มีมาตรฐาน จะได้อาคารสวยงาม และทุกอย่างในศูนย์ฯ นี้เห็นเป็นสิ่งดีดีหมดเลย

 

น้อง สสจ.พัทลุง เล่าได้สนุกสนานมากเลย ข้อมูลเยอะมาก ก็เลยขอเอาส่วน Hi-light มาก่อนก็แล้วกันนะคะ

  •  การดำเนินงานโครงการนี้ เป้าหมายต้องการข้อมูลพื้นฐาน เพื่อที่จะได้ทราบการทำงานของศูนย์เด็กเล็ก และจังหวัดนี้ ไม่เคยทำงานในเรื่องของเครือข่ายเลย
  • เรานั่งเทียนนั่งมองกันข้างบนว่า เครือข่ายของศูนย์เด็กเล็กจะมีอะไรบ้าง ที่ไหนบ้าง
  • เราก็เลยอยากจะรู้จากข้างล่างเลยว่า อยากรู้จากข้างล่างว่า เขามีใคร ก็เลยเชิญผู้ที่เป็นตัวแทนศูนย์ฯ มาเข้าร่วมประชุมกัน
  • ที่พัทลุงทำ เพราะโครงการนี้เป็นส่วนของกองฯ ด้วย และที่นี่มีปัญหาเรื่องฟันผุสูง งานทันตฯ ใน ศพด. ก็ชะงักตั้งแต่แ 2545 ... 30 บาท ก็ทำให้งานเชิงรุกของเราชะงักมาก และขาดแนวร่วมการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม
  • เด็กของเราอายุ 3 ขวบ ปราศจากโรคฟันผุไม่เคยถึงเป้าเลย ได้ไม่ถึง 30 ด้วยซ้ำ
  • ในปี 2550 เราได้ข้อมูลว่า เราจะทำเรื่องข้อมูลพื้นฐานล้วนๆ เก็บข้อมูลทุกสังกัด
  • เราก็มาคิดว่า เพื่อการพัฒนาในปี 51 เราจะทำอะไร หลังจากที่เราได้เครือข่ายศูนย์เด็กเล็ก ผดด. ได้ให้ข้อมูลมา ว่าจะมาประชุมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกัน ในปี 51 และดำเนินงานตามความต้องการ ความคาดหวังของเขา ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ และสรุปผลการดำเนินงานต่อไป
  • ดำเนินงานจัดอบรมครูพี่เลี้ยง 100% อบรมแบบสัญจร เพราะรูปแบบพื้นที่ไม่เหมือนกัน ทาง zone เหนือ เขาจะทำนาทำสวน ใช้อำเภอควนขนุนเป็นศูนย์กลาง zone ใต้ ก็ทำสวนยางใช้อำเภอตะโหมด เป็นศูนย์กลาง zone กลางเป็นอำเภอเมือง อยู่ใกล้เมือง ใช้อำเภอเมือง หรือ สสจ. เป็นศูนย์ฯ กลาง ทำให้เราได้ 100% เพราะถ้าเอาทั้งหมดมาทีเดียว จะไม่ได้อะไรเลย
  • มีทีมพี่เลี้ยงเป็นทันตบุคลากร เป็นที่ปรึกษาประจำอำเภอเหล่านี้ มาทำคล้ายๆ KM ให้ทันตบุคลากรเป็น Fa ครูพี่เลี้ยงเป็น Note taker
  • เรื่องความภาคภูมิใจ ที่ ผดด. เล่าให้เราฟัง
    - ภูมิใจในอาชีพของครู ทำให้ตัวเองมีค่า แต่ก่อนผู้ปกครองมองเขาเป็นพี่เลี้ยงเด็ก เช็ดขี้ เช็ดเยี่ยวให้เด็กเท่านั้นเอง ในภาษาชาวบ้าน แต่ ปัจจุบัน เขาบอกว่า ภูมิใจมาก เพราะว่าผู้ปกครองเรียกเขาว่าครู
    - ก่อตั้งศูนย์ได้สำเร็จ และมีพัฒนาการที่ดี
    - เป็นงานที่เขารัก ทำด้วยจิตใจ
    - ได้ให้โอกาสให้การศึกษาแก่ชนบท ให้ทัดเทียมกับเด็กในเมือง
    - ได้ทราบปัญหาของเด็ก ร่วมกับหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง บางทีเขาเห็นปัญหาก่อนพ่อแม่อีก เขาภูมิใจมากเลย
    - ได้ช่วยเหลือสังคม พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ได้แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ได้สอน ปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ก็ได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
    - การพัฒนาศักยภาพตนเอง เขาบอกว่า ได้มีโอกาสได้รับการอบรมต่างๆ จากวิทยากรต่างๆ มากมาย ดีใจที่ผู้บริหารระดับกระทรวงเห็นความสำคัญ พัฒนาด้านการศึกษาของผู้ดูแลเด็ก และให้งบประมาณในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี เด็กปฐมวัย
    - ชุมชนได้เปิดโอกาสให้ศูนย์ฯ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน
    - มีเครือข่ายต่างๆ มาให้ความช่วยเหลือ ทั้งหน่วยงานสาธารณสุข ได้เข้ามาดูแลเด็กเล็กตลอดมา ตั้งแต่มีการก่อตั้งศูนย์เด็กเล็ก
    - ในเขตเมืองได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก อบจ. เฉพาะกิจ
    - ได้รับสวัสดิการต่างๆ บ้างก็ยังดี
  • ปัญหาอุปสรรค
    - งบประมาณน้อย ล่าช้า
    - ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญในด้านการพัฒนาศูนย์ฯ ไม่จัดสรรงบประมาณให้
    - อาคารสถานที่คับแคบ
    - ระบบสาธารณูปโภคไม่เอื้อต่อสุขภาพ
    - สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
    - บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดความสามัคคี ขาดความรู้เฉพาะ ขาดการอบรม ไม่สามารถเขียนหลักสูตรเองได้ ไม่มีทักษะในการผลิตสื่อการสอน ขาดการตระหนักต่อหน้าที่ของตนเอง (บางคน)
    - ได้รับข่าวสารจาก อบต. ล่าช้า เขาจะรู้จาก รพ. สสจ. หรือ สสอ. มากกว่า
    - ผู้ปกครองไม่เข้าใจในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ตระหนัก ไม่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก
    - เด็กมีปัญหาจากครอบครัวแตกแยก พ่อแม่เสียด้วย HIV เยอะ มีเด็กต่ำกว่าเกณฑ์เข้ามาดูแล
    - ปัญหานี้ สะท้อนให้เห็นว่า เป็นปัญหาล้วนๆ ของพัทลุง
  • จากการวิเคราะห์เครือข่าย สรุปได้เป็น ผู้มีส่วนร่วม องค์กรต่างๆ ได้แก่ อบต. เทศบาล วัด มัสยิด ผู้นำชุมชน พัฒนากรชุมชน ฯลฯ หน่วยงานราชการ ได้แก่ สาธารณสุข สถานีตำรวจ อปท. รร. ศูนย์เด็กเล็กอื่นๆ และบุคคลต่างๆ ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็กด้วยกัน ประธามชมรมผู้ดูแลเด็กจังหวัดพัทลุง นวก.ศึกษาของ อบต. ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากรสาขาต่างๆ ผปค. เด็ก และคนในชุมชน คนเหล่านี้มาในรูปแบบขาประจำ และขาจร
  • เครือข่ายคนสำคัญของพัทลุง คุณปราณี
    - ประธานชมรมผู้ดูแลเด็กในพัทลุง ช่วยในการผลักดันงานผู้ดูแลเด็กตั้งแต่แรกเริ่มเลย จนถึงปัจจุบัน โดยที่ท่านเป็นผู้ดูแลศูนย์ผู้ดูแลเด็กบ้านตะโหมด ศูนย์นี้พัฒนาจากศูนย์เล็กๆ ปัจจุบันพัฒนาจนเป็นศูนย์เด็กเล็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ บ้านตะโหมด
    - แนวคิดของเครือข่ายคนนี้ คือ แนวคิดการพัฒนา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ เขาจะดึงเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก สู่ศูนย์เด็กเล็กที่มีมาตรฐาน จะได้อาคารสวยงาม และทุกอย่างในศูนย์ฯ นี้เห็นเป็นสิ่งดีดีหมดเลย
    - ข้อเสนอแนะของเธอก็คือ ทำงานเป็นรูปธรรม เห็นผู้บริหารอย่ากลัวเกรง ขยันหางานทำ นำเสนอผลงานให้เห็นตลอด จุดเด่นของที่นี่ มีการทำ รร. พ่อแม่ มีการประชุมกลุ่ม 3 เดือนครั้ง สารสัมพันธ์ชาวบ้านให้เป็นรั้วล้อมศูนย์ฯ สร้างเครือข่าภายนอก คือ อนุบาลสัมพันธ์ สารสัมพันธ์ชาวบ้าน ให้ผู้สูงอายุกับปราชญ์ชาวบ้านมาสอนนิทาน มาสอนการทำของเล่น และขนมไทย ให้เด็ก
    - เราจัดอบรม 3 รุ่น 3 อาทิตย์ สิ่งที่เกิดความเปลั่ยนแปลงรุ่นแรก ก็คือ เราจัดที่ zone เหนือก่อน และคุณพี่ปราณีได้ไปเป็นวิทยากรในการจัดประชุมครั้งนั้น เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายเลย ว่า จากการที่เราจัดประชุมในครั้งแรก ก็ทำให้ผู้ดูแลเด็กไปขยายผลให้กับผู้บริหารของทุกศูนย์ฯ ต้องไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ตะโหมด พี่เขาก็เลยเหนื่อยมาก วันสุดท้ายไม่มีเสียงเลย แต่ก็อยากช่วยละค่ะ จนเสียงหมด
  • สรุป ประเมิน AAR
    - ได้รับความรู้ ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในเรื่องความคิด นำไปพัฒนาศูนย์ ได้ทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น ได้รับข่าวสารที่มีประโยชน์ เพื่อพัฒนาตนเอง แบและพัฒนาศูนย์ฯ ได้แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ได้รับความสนุกสนาน
    - การนำประโยชน์ไปใช้ นำความรู้ไปเผยแพร่ต่อ นำผลงานไปพัฒนาเอง ถ่ายทอดความรู้ให้ครู ผดด. พัฒนาการเรียนการสอน นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
    - ความคาดหวังที่อยากให้เกิดขึ้น ... ตรงนี้เราคงนำไปพัฒนาในปี 51 ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง ... อยากให้มีการอบรมอีก ให้มีการจัดอบรมการเขียนหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับผู้ดูแลเด็ก อยากให้โครงการศึกษาดูงานต่างพื้นที่ อยากให้ อบต./เทศบาล มีการพัฒนาศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง และเอาใจใส่บุคลากรในศูนย์ฯ มากกว่านี้ อยากให้บุคลากรสนับสนุนสื่อ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน โมเดลฟัน อยากให้ครูผู้ดูแลเด็กทุกคนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
    - ข้อเสนอแนะ ... เรามีสื่อให้ไม่เยอะ อยากได้อะไรเยอะๆ สำหรับข้อมูลที่เป็นความรู้ อยากให้จัดอบรมอีก
  • ความประทับใจในการทำงานครั้งนี้
    - ประทับใจกับความสนใจของครูพี่เลี้ยง เพราะเขาอยากพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่าง
    - ความมีส่วนร่วมของทันตบุคลากรแต่ละอำเภอ
    - เครือข่ายของผู้ดูแลเด็กมีความเข้มแข้ง
    - การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลเด็ก และอำเภอยังอยู่ในระดับดีมาก
    - ความร่วมมือของผู้บริหารที่ให้ ผดด. มาเข้าร่วมประชุม ทุกคนอนุมัติหมดเลย

เป็นอย่างไรบางคะ สำหรับพัทลุง

 

หมายเลขบันทึก: 122846เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้ไปเยี่ยมน้องๆ ที่สสจ.   พัทลุงมีทีมงานเข้มแข็ง และทำงานเรื่องเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องจากโครงการ 102 ปี สมเด็จย่า ปี 2545  แกนนำคือหมอแอ๊ด แม้จะตัวเล็กแต่แกร่งมากค่ะ  พยายามค้นหาคำตอบในกลุ่มผู้ดูแลเด็กได้อย่างมากมาย แม้จะใช้เวลาการสัมมนายง 1 วันได้งานมากกว่าที่คิดค่ะ

  • สนใจพัทลุงค่ะ
  • น้องเขาจะสนใจ งานผู้สูงอายุมั๊ยคะเนี่ยะ เจ๊แตงโม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท