BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๒


การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๒

เมื่อเอิร์มสันแย้งว่า การจัดประเภทฯ ตามประเพณี  ไม่เพียงพอต่อความจำเป็นทางศีลธรรม และได้นำเสนอการกระทำเหนือหน้าที่มาใช้เรียกการกระทำแบบนักบุญและแบบวีรบุรุษ (ดู การจัดฯ ๑ )

ต่อมาในปี ค.ศ.1963 ชิสโฮลม์ (Chishohm, Roderick M.) ได้นำเสนอบทความชื่อ Supererogation and Offence : A Conceptual Scheme for Ethics เพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องการจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรม ซึ่งผู้เขียนได้เรียกการจัดประเภทฯ ของชิสโฮลม์ว่า การจัดประเภทฯ เชิงตรรกศาสตร์ เพราะเขานำหลักตรรกศาสตร์มาใช้ในการจัดประเภทฯ....

ในเบื้องต้น ได้ใช ้จตุรัสแห่งการตรงกันข้าม มาจำแนกการการะทำออกเป็น ๔ ประการ คือ

  1. ข้อผูกพัน (obligatory) คือ สิ่งที่จะต้องกระทำ ถ้าไม่กระทำก็ผิด
  2. ข้อห้าม (forbidden) คือ สิ่งที่จะต้องไม่กระทำ ถ้ากระทำก็ผิด
  3. ข้อยินยอมได้ (permitted) คือ สิ่งที่อาจกระทำได้ แต่ไม่บังคับ
  4. ข้อไม่กำหนด (unrequted) คือ สิ่งไม่จำเป็นที่จะกระทำ อาจงดเว้นได้

ชิสโฮลม์ให้ความเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นของการจัดประเภทฯ เพราะว่านักจริยปรัชญาบางกลุ่ม ได้รวม ข้อยินยอมได้ กับ ข้อไม่กำหนด เข้าเป็น ข้อไม่มีค่าทางศีลธรรม (morally indifferent) ดังนั้น จึงลดเหลือ ๓ ประการ คือ

  1. ข้อผูกพัน
  2. ข้อห้าม
  3. ข้อไม่มีค่าทางศีลธรรม

ซึ่งทั้ง ๓ ประการนี้ ก็คือ การจัดประเภทฯ ตามประเพณี ที่เอิร์มสันยกอ้างขึ้นมานั่นเอง.....

.......

ส่วนประเด็น การกระทำแบบนักบุญและวีรบุรุษ ซึ่งเอิร์มสันอ้างว่าควรจะเรียกว่า การกระทำเหนือหน้าที่ นั้น ... ชิสโฮลม์แย้งว่า...

  • ถ้าเราให้ความหมายการกระทำเหนือหน้าที่ว่าเป็น การกระทำดีที่มิใช่ข้อผูกพัน (non-obligatory well-doing) แล้ว ...
  • เราก็อาจค้นหาสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความหมายนี้ได้ นั่นคือ การกระทำชั่วที่ยินยอมได้ (permissive-ill doing) ซึ่งเขาเรียกว่า ข้อขัดเคือง (offence)

..........

ชิสโฮลม์ให้ความเห็นว่า การกระทำทั้งหมดอาจประเมินค่าได้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา ๓ นัยนี้ คือ

  1. อาจเป็นสิ่งดีสำหรับการกระทำ
  2. อาจเป็นสิ่งเลวสำหรับการกระทำ
  3. ไม่อาจเป็นสิ่งดีหรือเลวสำหรับการกระทำ กล่าวคือ เป็นกลาง
ต่อจากนั้น ชิสโฮลม์ได้นำแนวคิดเหล่านี้้มาจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมไว้ ๙ ประเภท ซึ่งผู้เขียนค่อยนำมาเล่าต่อไป... 
หมายเลขบันทึก: 122837เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท