มองลอดม่านไม้ไผ่ดูการศึกษาจีน


การศึกษาจีน







#### Episode 1 ####
ศึกษาดูงาน ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา ณ เมืองปักกิ่ง
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ระหว่างวันที่ 9 13 เมษายน 2550


นครเป่ยจิง หรือ ปักกิ่ง (北京市)ผู้ว่าการนครปักกิ่ง หวังฉีซัน       
       เมืองหลวงเป่ยจิง (ปักกิ่ง) ชื่อย่อ จิง
(京)เป็นศูนย์กลางการปกครอง วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขต และ 6 อำเภอ ตั้งอยู่ที่ละติจูด 39.56 องศาเหนือ และลองจิจูด 116.20 องศาตะวันออก บริเวณตอนเหนือของที่ราบภาคเหนือของจีน พื้นที่โดยรอบติดกับมณฑลเหอเป่ย ยกเว้นทิศตะวันออกติดกับเทียนจิน (เทียนสิน)เป็นเมืองขึ้นตรงต่อส่วนกลาง เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นศูนย์กลางทั้งการเมือง วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การศึกษา และการคมนาคม เมืองปักกิ่ง ตั้งอยู่ที่ขอบเขตภาคเหนือของที่ราบหัวเป่ย ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศตะวันออกมีภูเขาล้อมรอบ ภาคตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบภูมิอากาศเขตอบอุ่น ปีหนึ่งแบ่งเป็นสี่ฤดูอย่างชัดเจน ฤดูใบไม้ผลิ มีเวลาไม่นาน ฤดูร้อนมีฝนตกบ่อยๆ อากาศชุ่มชื้น ฤดูหนาวมีเวลายาวนานและหนาวจัด แต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่ดีงามที่สุด ในสมัยซีโจว ก็มีการจัดตั้งเมืองที่นี่ ซื่อจี้ และกลายเป็นเมืองหลวงของก๊กเยี่ยน ในสมัยจิ้งกั๋ว หลังจากนั้นพันกว่าปี เมืองจี้ เป็นเมืองที่สำคัญทางทหารและศูนย์กลางการค้าขาย ที่อยู่ภาคเหนือของประเทศจีน ในต้นศตวรรษที่ 10 กลายเป็นเมืองหลวงรองของราชวงศ์ เหลียว 3 ชื่อ เยี่ยนจิง นับตั้งแต่ปี 1115 ถึงปี 1911 เนื่องจากราชวงศ์จิน หยวน มิ้ง ชิง 4 ราชวงศ์ได้ตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่ง ทำให้ปักกิ่งได้สะสมวัฒนธรรมของจีน และมีมรดกทางประวัติศาสตร์ที่เป็นสุดยอดของโลกหลายที่ เช่น ประตูเทียนอันเหมิน กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่เป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในตัวเมืองของโลก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นสัญลักษณ์ของปักกิ่ง และของประเทศจีนด้วย กู้กง (เมืองต้องห้าม) ซึ่งเป็น กลุ่มสิ่งก่อสร้างโบราณที่ใหญ่ที่สุดและครบสมบูรณ์ที่สุดของโลก กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดของสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (กำแพงเมืองจีนปาตาหลิ่ง มีบางส่วนอยู่ที่ปักกิ่ง) กู้ กง กำแพงเมืองจีน สถานที่มีซากวัตถุมนุษย์วานรปักกิ่งโจวโย่วเตี้ยน สวนอี๊ เหอหยวน หอฟ้าเทียนฐาน ได้รับการจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกจากองค์กรการศึกษาวิทยา ศาสตร์ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หลังจากปักกิ่งได้รับการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยเฉพาะหลังจากสมัย 80 ศตวรรษที่ 20 เมืองปักกิ่งได้พัฒนาอย่างรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ มีการเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ปัจจุบันนี้ปักกิ่งมีถนนที่สลับกัน ตึกสูงๆ โดยไม่เพียงแต่รักษาสภาพเมืองโบราณ และยังแสดงถึงสภาพเมืองที่ทันสมัย กลายเป็นเมืองใหญ่ของโลก       
ภูมิประเทศ
       พื้นที่ 16,807.8 ตร.กม. เป็นพื้นที่ภูเขาถึง 10,417.5 ตร.กม. เป็น 62% ของพื้นที่ทั้งหมด และเป็นที่ราบ 6,390.3 ตร.กม. ผืนดินบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือยกตัวขึ้นสูงส่วนด้านตะวันออกเฉียงใต้ลาดลงต่ำ ทิศตะวันตก ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือรายล้อมด้วยภูเขา แม่น้ำสายสำคัญเช่น หย่งติ้ง เฉาไป๋ เป่ยยุ่น จู้หม่า ส่วนใหญ่ไหลจากต้นน้ำทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และลัดเลาะผ่านหุบเขาเข้าสู่ที่ราบทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง แล้วจึงแยกย้ายไหลลงสู่ทะเลป๋อไฮ่
       
ภูมิอากาศ
       ลักษณะอากาศเป็นแบบอบอุ่นกึ่งชุ่มชื้น อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเขตอบอุ่น แบ่งเป็น 4 ฤดู ช่วงฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงระยะเวลาสั้นมาก มีฤดูร้อนและหนาวที่ยาวนาน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 13 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นที่สุดในเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด -3.7 องศา เดือนกรกฎาคมอากาศร้อนจัด อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 25.2 องศา ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีวัดได้ 507.7 มิลลิเมตร
       
ประชากร
       13.82 ล้าน (จากการสำรวจอย่างเป็นทางการทั่วประเทศ เมื่อมีนาคม 2001) อายุขัยเฉลี่ยคาดการณ์ 76 ปี ชาวปักกิ่งมาจากกลุ่มเชื้อชาติ 56 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ฮั่น 95.7% ของประชากรทั้งหมด และเชื้อชาติอื่นๆ 55 กลุ่มของประชากรมากกว่า 590,000 คนส่วนใหญ่มาจากเชื้อชาติมุสลิม แมนจู และมองโกเลีย 

       ปลายปี 2004 ปักกิ่งมีประชากรที่อาศัยอยู่ถาวร(อาศัยในกรุงปักกิ่งครึ่งปีขึ้นไป)จำนวน 14.927 ล้านคน  เพิ่มขึ้นจากปลายปี 2003 เท่ากับ 2.5% อัตราการเกิดเท่ากับ 6.1 ‰ อัตราการตาย 5.4‰ ตามสถิติของหน่วยงานด้านความปลอดภัย ปลายปี 2004 มีประชากรที่มีสัมโนประชากรอยู่ในกรุงปักกิ่งทั้งสิ้น 11.629 ล้านคน  เพิ่มขึ้น 1.2% 

เศรษฐกิจ
       ปี 2004 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของปักกิ่งเท่ากับ 428,330 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.2%  สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา
       
โครงสร้างการผลิต 
       สัดส่วนจีดีพีต่อมูลค่าการผลิตในภาคต่างๆ ปี 2004 การเกษตรเพิ่มขึ้น 10,290 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 1.9%  อัตราการเพิ่มขึ้นลดลง 1.4%   ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 161,040 ล้านหยวน  เพิ่มขึ้น16.7%   ภาคการบริการเพิ่มขึ้น 257,000 ล้านหยวน  เพิ่มขึ้น 11.6% 
       
ภาคการเงิน
       ปี 2004 รายได้ในภาคการเงินการคลัง 74,450 ล้านหยวน  เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 29.7%
       
การลงทุน
       ปี 2003 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมีมูลค่า 215,710 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 18.9%
การลงทุนด้านที่อยู่อาศัย 69,240 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 9.1% คิดเป็นสัดส่วน 32.1% ของการลงทุนทั้งหมด ลดลงจากปีก่อน 2.9% 
       การลงทุนด้านสาธารณูปโภคมีมูลค่า 41,780 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.4% คิดเป็น 19.4% ของการลงทุนทั้งหมดในเขต
       ทั้งนี้เป็นการลงทุนของธุรกิจที่ไม่ใช่ของรัฐถึง 141,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 35.4% คิดเป็นสัดส่วน 65.5%
       การลงทุนจากต่างประเทศ
       ปี 2004 มีการอนุมัติการลงทุนจากต่างชาติทั้งสิ้น 1,806 รายการ มูลค่ารวม 6,260 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 92%
       การนำเข้าส่งออก
       มูลค่าการนำเข้าส่งออกตลอดปี 2004 เท่ากับ 94,660 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.2%  สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องจักรกลไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง การท่องเที่ยว
       ผลกระทบจากโรคซาร์ส ทำให้ช่วงต้นปี 2003 ธุรกิจท่องเที่ยวในกรุงปักกิ่งหลายแห่งต้องเริ่มตั้งตัวใหม่ ตลาดมาค่อยๆฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง  โดยทั้งปี ปักกิ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 1,851,000 คน ลดลงจากปีก่อนหน้า 40.4%  นำเข้าเงินตราต่างประเทศ 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ 87,370,000 คน ลดลง 24.0%  คิดเป็นรายได้ 70,600 ล้านหยวน  รายได้ประชาชาติ
       รายได้ประชาชาติปี 2004 เฉลี่ยต่อหัว 15,637.8 หยวน เพิ่มขึ้น 12.6%  รายได้สุทธิของชาวนาเฉลี่ยต่อหัว 7,172 หยวน เพิ่มขึ้น 10.4%
       
วัฒนธรรม
       ศูนย์กลางวัฒนธรรมร่วมสมัยเช่นนครหลวงปักกิ่ง เป็นแหล่งไหลเวียนทางวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีห้องสมุดขนาดใหญ่จำนวนถึง 24 แห่ง หนึ่งในนั้นใหญ่ที่สุดในเอเซีย รวมถึงพิพิธภัณฑ์เฉพาะศาสตร์ด้านต่างๆอีกกว่าร้อยแห่ง มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง มีหน่วยงานผลิตผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมกว่า 4000 กลุ่ม คณะละครหรือกลุ่มศิลปินเกือบ 40 คณะเปิดแสดง 8000 กว่ารอบต่อปี
       
วิทยาศาสตร์
       ปักกิ่งเป็นฐานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของจีน ปี 2003 มีบุคลากรกว่า 274,000 คน ประกอบกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 45,750 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 11.3% ในจำนวนนี้เป็นเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 25,280 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.2% คิดเป็น 7.0% ของจีดีพีในปักกิ่ง
       
 การศึกษา
       นครหลวงแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นเขตที่มีสถาบันการศึกษาที่ทันสมัยที่สุด มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อระดับประเทศอย่าง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ชิงหัว มหาวิทยาลัยประชาชนจีน มหาวิทยาครุศาสตร์ปักกิ่ง มีนักศึกษาระดับปริญญาโท 120,000 คน  ในกรุงปักกิ่งมีผู้เข้ารับการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาถึง 142,000 คน สูงเป็นประวัติการณ์ ปี 2003 มีผู้จบการศึกษา 83,000 คน 
         
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
       ความร่วมมือในด้านต่างๆอาทิ เศรษฐกิจ การค้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างนครหลวงปักกิ่งกับนานาชาตินับวันจะทวีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ครอบคลุมทั่วทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นในระดับรัฐบาล เอกชนและสังคม จะเห็นได้จากการเป็นที่ตั้งของสถานทูตประเทศต่างๆถึง 137 ประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ 17 หน่วยงาน สำนักข่าวต่างประเทศ 190 แห่ง รวมถึงองค์กรหรือกิจการที่มีตัวแทนประจำในปักกิ่งมากกว่า 7000 องค์กร นักเรียนต่างชาติอีก 17,000 กว่าคน อีกทั้งเป็นแหล่งจัดกิจกรรมระดับนานาชาติในอดีตและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
       
การคมนาคม
       ทางบก  ปี 2004 มีการลงทุนในการก่อสร้างทางหลวงทั้งสิ้น 14,880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.2%  ทางอากาศ  การขนส่งสินค้าทางอากาศในปี 2004 มีจำนวน 569,000 ตัน เพิ่มขึ้น 20.3%  การเดินทางโดยผู้โดยสารทางอากาศ 16.927 ล้านคน เพิ่มขึ้น 35.9%
       

การกีฬา
       เนื่องจากกรุงปักกิ่งกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 29 ในปี 2008 ที่จะถึงนี้  ดังนั้นจึงมีการเตรียมความพร้อมและส่งเสริมทางด้านกีฬาอย่างเข้มข้น  โดยในปี 2004 ที่ผ่านมามีการจัดตั้งโครงการเพื่อสร้างสุขภาพแก่ประชาชนทั่วปักกิ่งถึง 1,229 โครงการ  บนพื้นที่ 826,000 ตรม. ด้วยงบประมาณการลงทุน 117 ล้านหยวน  มีการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพถึง 3,240 รายการ  มีประชาชนเข้าร่วม 5.327 ล้านคน

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาจีน
หมายเลขบันทึก: 122737เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถึงครูเดี่ยว

ครูเดี่ยวอบรมให้ทีมงานโรงเรียนจ่านกร้องสร้าง Blog แล้วตัวเองเขียนบันทึกคำเดียวเอง หาเวลาเขียนเยอะๆ หน่อยซีหลานชาย ป้านางจะได้ให้ทีมงานดูเป็น Blog ตัวอย่าง

อยากได้ความรู้เรื่องเขียน blog ลงในนี้ เพราะยังไม่เคยอบรมเรื่องการเขียน blog เลย ทำให้ลองทำแล้วผิดพลาดไป ขอบคุณล่วงหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท