สติต่อ


การปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่างไม่เคร่งเครียด อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวด

อันเกิดขึ้นจากการถืออุเบกขา?   ถ้าปฏิบัติแล้วทุกข์ไม่ลดลงให้หยุดการปฏิบัติ แล้วพิจารณาการปฏิบัติใหม่ให้ดีเช่นพิจารณาในธรรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น  อย่าพยายามฝืนปฏิบัติต่อไป  ค้นหาจุดบกพร่องหรือข้อสงสัยเสียก่อน.

        การปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่างไม่เคร่งเครียด อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดดังสังขารในวงจรปฏิจสมุปบาท หรือเป็นมหาสตินั่นเอง เพียงแต่สังขารนี้มิได้เกิดแต่อวิชชา  แต่เกิดจากวิชชาโดยตรง อันเมื่อเป็นสังขารแล้วการปฏิบัติจะเป็นไปเองตามความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรมไว้อันเป็นสภาวะธรรมของชีวิตอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง โดยมีกําลังของสัมมาญาณและสติเป็นกําลังแห่งจิต    เพราะการดับทุกข์นั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสอยู่เนืองๆว่า ธรรมของพระองค์เป็นเรื่องสวนทวนกระแส,  ซึ่งก็เป็นจริงตามพระพุทธดํารัสนั้น เพราะเป็นการทวนสวนกระแสของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่ดึงดูดมวลหมู่สัตว์เข้าสู่กองทุกข์โดยธรรมชาติดุจดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่ากว่า  แต่ด้วยพระปรีชาญาณจึงได้อาศัยธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นเอง มาปฏิบัติสวนทวนกระแสธรรมชาติฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์จนสําเร็จได้  อุปมาดั่งเรือใบที่แล่นทวนสวนกระแสลมหรือกระแสนํ้าอันเชี่ยวกรากของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นได้  ก็ด้วยความเข้าใจในธรรมชาติของลมและใช้ธรรมชาติของลมนั้นเองเป็นเหตุปัจจัยเช่นกัน  โดยอาศัยใบเรือที่ถูกต้องอันอุปมาได้ดั่งสังขารธรรมหรือธรรมะของพระพุทธองค์ ที่ทําให้สามารถใช้ธรรมชาติของลมนั้นเอง ทําให้เรือแล่นสวนทวนกระแสธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของลมหรือแม้กระแสนํ้าได้

        นอกจากปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วยเมื่อมีโอกาส

        สติหมั่นพิจารณากาย(กายานุปัสสนา) เช่น กายสักแต่ว่าเกิดแต่ธาตุ๔เป็น เหตุปัจจัย  เพื่อให้เกิดนิพพิทาลดละอุปาทานในความเป็นตัวตนของตน  และเพื่อความเข้าใจในความเป็นเหตุปัจจัยอันปรุงแต่ง  อันล้วน เกิดขึ้น  ตั้งอยู่ขณะหนึ่ง  แล้วดับไป

        โยนิโสมนสิการ ให้เห็นสภาวะธรรมหรือปรมัตถสัจจะของการกระทบผัสสะ ดังเช่น การที่กายกระทบผัสสะกับสิ่งใด  แล้วย้อนกลับมาโยนิโสมนสิการ จิตที่กระทบกับความคิด  โดยเฉพาะความคิดนึกปรุงแต่ง

        สติหมั่นพิจารณาในธรรมคือธรรมะวิจยะหรือธรรมานุปัสสนา อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในอันยังให้เกิดมรรคองค์ที่๙ สัมมาญาณความรู้ความเข้าใจอันเป็นกําลังแห่งจิต และเพื่อใช้แก้ไขปัญหาข้อสงสัยต่างๆที่จักเกิดขึ้นในการปฏิบัติอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  ธรรมที่ใช้ในการพิจารณาอาจเลือกตามจริตของผู้ปฏิบัติ,  สําหรับผู้เขียนเองแนะนําปฏิจจสมุปบาทที่ลึกซึ้ง จึงก่อให้เกิดสัมมาญาณได้อย่างดีจึงให้คุณอนันต์สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม

___________________

 จาก เทสรังสีอนุสรณาลัย  เรื่อง "สิ้นโลก เหลือธรรม (นัยที่สอง)" 

โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (หน้า ๙๓)  ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง สติ ไว้ดังนี้

         "จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลสอันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง  จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต  ให้รู้เท่าทันจิต  ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ   คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน  สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง  คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร  พอจิตคิดนึก  สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน "   แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต  ถ้าทันจิตแล้ว  พอจิตคิดนึก  สติจะรู้ทันที  ไม่ก่อนไม่หลัง  ความคิดของจิตก็จะสงบทันที............"

จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล   (หน้า ๔๖๙)

.........ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด  เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง  แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา   เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- สัมมาสมาธิ ของการวิปัสสนา)ไปอย่างนี้แล้ว   ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา"  ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้   พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙)

 

ที่มา : http://www.nkgen.com/sti.htm

คำสำคัญ (Tags): #สติ
หมายเลขบันทึก: 122729เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2007 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท