การคิดปัญหาให้เป็นโอกาส : การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์


The winner will never quit

           คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะคิดปัญหาให้เป็นปัญญา    คิดความล้มเหลวเป็นความสำเร็จ  คิดวิกฤติเป็นโอกาส  มองเป้าหมายเป็นความฝันและทำให้ความฝันเป็นความจริงซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าย ที่จะทำตัวแบบผู้ชนะ   หรือผู้ชนะที่ไม่มีวันล้มเลิก  (The winner will never quit)  

        ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในผู้นำองค์กรยุคใหม่  เราจะเห็นได้ว่าในโลกแห่งการแข่งขันคนที่จะอยู่รอดได้นั้นต้องมีจุดเด่นในตนเองที่จะนำเสนอเพื่อความได้เปรียบ เหมือนสินค้าเราจะเห็นได้ว่าสินค้าชนิดเดียวกันมีผู้ผลิตมากมาย  ผู้ผลิตจึงต้องสร้างจุดขายของสินค้าตน ให้สามารถนำเสนอความแตกต่างในความเหมือนให้ได้

         

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดได้นั้นดิฉันคิดว่าต้องเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก  เราต้องสอนให้เด็กหัดคิดนอกกรอบตั้งแต่เด็ก เราต้องไม่ไป blocked ความคิดเด็ก  ปล่อยให้เด็กมีอิสระในการคิด  เราแค่คอยสนับสุนในทางที่ถูกต้อง  ซึ่งเป็นการพัฒนาสมองเด็ก ตามทฤษฎีแล้วการพัฒนาสมองต้องพัฒนาซีกซ้ายและซีกขวาควบคู่กันไป  แต่เน้นพัฒนาสมองส่วนที่เด่นของเด็ก  

การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนความคิดของเด็ก  ให้คิดเป็นทำเป็น  รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์   และประยุกต์ความรู้มาใช้ได้   ดิฉันคิดว่าสามารถนำวินัย 5 ประการของปีเตอร์ เซงเก้ มาประยุกต์ใช้พัฒนาหล่อหลอมเด็กในการพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ ทั้งนี้เนื่องในส่วนของ Personal Mastery  จะเป็นส่วนที่พัฒนาให้เด็กใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องซึ่งจะเป็นฐานความรู้ในการพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์บนฐานความรู้  พัฒนาสู่ความคิดที่ไม่ติดกรอบมี Mental model  ของตนเอง  การพัฒนาให้เกิด Share Vision ในเด็กก็จะพัฒนาให้เด็กเปิดใจ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างร่วมแรงร่วมใจ (Team Learning)   นอกจากนี้การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบจะส่งผลให้เด็กพัฒนาความคิดบนพื้นฐานของเหตุผล  เมื่อพัฒนาสู่ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเป็นความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของเหตุผลไปด้วยเช่นกัน  จะทำให้เด็กมีการพัฒนาการเรียนรู้สู่การเกิดปัญญา  (wisdom) เป็นความรู้ที่คู่คุณธรรม วินัย 5 ประการจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาตนและยังเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย  แต่สิ่งที่ต้องคำนึงไว้เสมอคือการพัฒนาความรู้ต้องพัฒนาคู่คุณธรรมอย่างสร้างสรรค์  นั่นคือพัฒนาเด็กต้องพัฒนาควบคู่ไปกับไตรสิกขา คือพัฒนาให้เขามีศิล สมาธิและปัญญา  เพราะแก่นแท้ของการศึกษาคือพัฒนาคนให้เกิดปัญญาและเกิดสัมมาทิฏฐิ    เพราะสัมมาทิฏฐิจะทำให้เกิดการคิด พูดและทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงามซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดเป็นขั้นต้นในเด็ก เพราะเด็กก็คือกำลังของชาติในอนาคต  การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องสร้างคนดีเพื่อให้เขานำความรู้ความสามารถของเขาไปใช้พัฒนาชาติบ้านเมือง  โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นต่อๆไป   สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเด็กได้ค่ะ

...................
คนึงนิจ อนุโรจน์

หมายเลขบันทึก: 122219เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท