ปาริชาติ


พฤติกรรมพ่อแม่ มีผลต่อ EQ ของลูก
พฤติกรรมพ่อแม่ มีผลต่อ EQ ของลูก
หมวด : ครอบครัวของเรา



พฤติกรรมพ่อแม่ มีผลต่อ EQ ของลูกอย่างไร มากน้อยขนาดไหน เรามีบทความจากมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กมาฝากค่ะ

ครอบครัว คำที่ยากแก่การอธิบาย แต่มีความหมายลึกซึ้ง ผูกพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมอง ทัศนคติ ประสบการณ์ของแต่ละคน สำหรับผู้เขียนมองว่า ครอบครัวคือ พ่อ แม่ ยาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยมีสายใยแห่งความรัก ความเข้าใจ เอ้ออาทรต่อกันเป็นสายเชื่อมความสัมพันธ์ให้เหนียวแน่นและเป็นเกราะป้องกันทำให้รู้สึกปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ
สิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในทุกครอบครัว นอกจากความรัก ความเข้าใจ คือหน้าที่ ความรับผิดชอบ ซึ่งจะมีบทบาทแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการวางแผน การกำหนดของครอบครัว เช่น พ่อมีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว สร้างฐานะ ความมั่นคง แม่มีหน้าที่เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในบ้าน ลูกมีหน้าที่เรียนหนังสือสร้างสีสัน เชื่อมสายสัมพันธ์แก่สมาชิกของครอบครัว เป็นต้น เมื่อทุกคนในครอบครัวเรียนรู้และปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของตนได้อย่างดีเยี่ยม หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ ย่อมทำให้เกิด ความสมดุลย์ในครอบครัว
ความสมดุลย์ในที่นี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ภาระหน้าที่และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลกระทบแก่ครอบครัวทั้งในแง่บวกและลบ กล่าวคือ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับครอบครัว ปัญหานั้นส่งผลกระทบต่องานและสมาชิกมากน้อยเพียงใด พ่อแม่มีการจัการกับปัญหาที่กิดขึ้นอย่างไร บางครอบครัวพ่อแม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ถูกจุดและสันติวิธี ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข
หากครอบครัวใเกิดมีภาวะเสียสมดุลย์ภายในครอบครัว พ่อแม่บ่ายเบี่ยงความรับผิดชอบ ใช้อารมณ์และความรุนแรงจัดการกับปัญหา ยิ่งส่งผลให้ปัญหาทวีคูณยิ่งขึ้น ซึ่งผุ้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูก เด็กจะซึมซับเอาเอาพฤติกรรม วิธีการจัดการกับปัญหาของพ่อแม่ไปใช้กับตัวเด็กเอง เช่น ลูกแย่งของเล่นคนอื่นถ้าแย่งไม่ได้ก็จะโมโห โกธร ทำร้าย ตี เป็นต้น ทั้งนี้เกิดจากเด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนได้ ไม่เข้าใจถึงวิธีการที่ถูกต้อง จึงนำเอาสิ่งที่พบเห็นจากพ่อแม่มาใช้ ถ้าเด็กไม่ได้รับการดูแลอาใจใส่หรือคำแนะนำที่ดี ก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของเด็กโดยตรง
พ่อแม่และคุณครูผู้ใกล้ชิดกับเด็กๆ จึงจำเป็นที่จะต้องช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กด้วยการสอนให้เด็กรู้จักยับยั้งอารมณ์และความต้องการ ให้เด็กได้รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์ของตนเองอย่างถูกต้องและชาญฉลาด สอนให้เด็กได้รู้ถึงพัฒนาการทางอารมณ์ เช่น เด็กควรจะแสดงออกทางอารมณ์อย่างไรต่อสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และเมื่อเด็กแสดงอารมณ์เช่นนั้นออกมาแล้ว ผู้อื่นจะตอบโต้อารมณ์ของตนอย่างไร
วิธีการที่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองคือ...
-พ่อแม่ต้องฝึกฝนตนเองให้ไวต่อการรับรู้ภาวะอารมณ์ของลูกๆ หมั่นสังเกต ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลูก
-รับฟังเรื่องราวของลูกด้วยความเห็นอกเห็นใจ ไม่หลีกเลี่ยงดูถูกหรือตำหนิ มองในแง่มุมของลูก ไม่อาค่านิยมหรือประสบการณ์ของพ่อแม่มาตัดสิน แต่ให้ปลอบโยนด้วยความรัก
-ช่วยให้ลูกพูดบอกความรู้สึกของตนเอง บางครั้งเกไม่สามารถบ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกได้ว่ารู้สึกอย่างไรในขณะนั้น พ่อแม่ต้องช่วยลูกหาคำพูดที่ตรงกับอารมณ์ให้เด็กสามารถหาคำอธิบายเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเองชัดเจนขึ้นตามความรู้สึกอย่างที่เขาเป็น
-ให้คำแนะนำลูกเกี่ยวกับการจัดการกับอารมณ์ของลูก เช่น เมื่อลูกกำลังโกรธให้ลูกนับ 1-10 หรือสูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆ เพื่อระงับอารมณ์
-มีการวางกฎเกณฑ์ กำหนดขอบเขตพฤติกรรมและสอนการแสดงออกที่เป็นที่ยอมรับ เพราะอารมณ์เป็นพื้นฐานของการแสดงอารมณ์เป็นพื้นฐานของการแสดงออกทางพฤติกรรมที่รุนแรง

การจัดการกับปัญหาอย่างเหมาะสมและสันติวิธีของผู้ใหญ่ และการสอนให้เด็กควบคุมอารมณ์อย่างฉลาด เปรียบเสมือนการให้วัคซีนป้องกันแก่เด็กให้สามารถเผชิญกับเหตุการณ์ที่มีทั้งสุขและทุกข์ได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาประสบการณ์การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีทักษะในการจัดการปัญหาและประสบความสำเร็จในชีวิต

สนใจข้อมูลการเลี้ยงลูกอย่างสร้างและปลอดภัย ติดต่อ โครงการหยุดภัยให้หนู งานประชาสัมพันธ์และระดมทุน มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร.02-412-0738 02-864-3381 www.thaichildrights.org

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12191เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2006 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นด้วยกับบทความนี้เนื่องจากพฤติกรรมของพ่อแม่ถ้าเด็กเห็นเด็กจะนำไปเป็นแบบอย่าง ทั้งตัวอย่างที่ไม่ดีและตัวอย่างที่ดี ดังนั้นพ่อแม่ควรระวังในการแสดงพฤติกรรม

การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมามีนิสัยอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่และครูอาจารย์และการที่จะเป็นผู้สร้างคนนั้นควรเริ่มจากตนเอง
เห็นด้วยค่ะ
เห็นด้วยกับบทความนี้เพราะว่าพ่อแม่เป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด
พ่อแม่มีส่วนสำคัญในพัฒนาการของลูกทั้ง4ด้านรวมทั้งอีคิวด้วย
พ่อแม่นับเป็นบุคคลที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของบุตร  ดังนั้นพฤติกรรมของพ่อแม่ ก็มีบทบาทสำคัญ  ต่อการพัฒน E.Q. ของลูกน้อยเช่นกัน  เหมือนกับที่มีคนบอกว่า พ่อแม่ เป็นยังไง  ลูกก็เป็นอย่างนั้น

เห็นด้วนกับบทความนี้เพราะ พ่อแม่ เป็นผู้ที่เด็กอยู่ใกล้ชิดมากที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของบุตร

เห็นด้วยกับบทความที่กล่าวมา เพราะว่าพฤติกรรมพ่อและแม่ที่เด็กเห็นทำให้เด็กนำไปเลียนแบบไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดีก็จะมีผลต่อ EQของเด็ก ดั้งนั้นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กควรสังเกตพฤติกรรมและควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

บทความนี้ข้าพเจ้าคิดว่าผู้ที่เป็นพ่อ แม่หรือผู้ปกครองควรได้อ่านหรือไม่ก็ควรศึกษาเอาไว้บ้างก็จะดีมากๆเลยนะค่ะเพราะเนื้อหาในบทความเป็นประโยชน์กับพวกท่านอย่ามากเลยในการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆให้เติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

เห็นด้วยกับบทความที่กล่าวมาข้างต้นพ่อแม่เป็นบุคคลที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาเด็กเพื่อที่จะให้เด็กเกิดการพัฒนาทั้ง 4 ด้านบทความนี้เป็นประโยชน์เป็นอย่างมากต่อผู้อ่านเพื่อที่จะได้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกของตนเอง

พฤติกรรมของพ่อแม่มีผลต่อการพัฒนา  EQของลูกเพราว่าลูกจะมีพัฒนาการที่ดีในทางด้านต่างนั้นพ่อแม่จะต้องเป็นต้นแบบแบบอย่างที่ดีให้กับลูกและให้ความเอาใจใส่เพาระเด็กในวัยนี้ มักจะเกิดพฤติกรรมการเรียนแบบบุคคลรอบข้าง

พ่อแม่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาลูกให้มีพัฒนการในทุกด้านของลูกดีเจริญเติบโตเป็นผูใหญ่ที่สมบูรณ์และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท