รักงานที่ทำแล้วจะสุขใจ


ใครอยากให้งานที่ทำอยู่ราบรื่นไร้อุปสรรคและประสบความสำเร็จ...
รักงานที่ทำแล้วจะสุขใจ

ยิ่งเศรษฐกิจยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ เดี๋ยวก็มีเสียงจากนักวิเคราะห์ว่า พื้นฐานทางเศรษฐกิจบ้านเราน่ะแน่นปึ้ก ไม่ต้องห่วง แต่ค่าเงิน, ราคาน้ำมันกับการเมืองดันแกว่งไปแกว่งมาไม่นิ่งสักที จึงส่ง ผลกระทบต่อเงินทองในกระเป๋าของประชาชน ตาดำๆอย่างช่วยไม่ได้ ฉะนั้น ใครมีงานทำก็ขอให้แฮปปี้เข้าไว้ แสดงว่ายังไม่อดตาย จึงควรรักงานที่ทำให้ มากๆ จะได้รู้สึกอยากออกจากบ้านไปทำงานทุกวั้น ทุกวัน ไงจ๊ะ เพราะพวกเรายังมีความจำเป็นในด้านการครองชีพนี่นา

แถมหากคุณชอบงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ละก็ “ใจรัก” นี้แหละ จะช่วยให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างราบรื่นไปเองเชื่อไหมล้า นี่พูดจริง ไม่ได้เว่อร์นะยะ


แต่พูดไปก็รู้เหมือนกันว่า เรื่อง “ชอบหรือไม่ชอบ” คงบังคับใจกันไม่ได้ เพราะมีพนักงานเยอะแยะไปที่ได้งานเพราะฟลุก หรือญาติผู้ใหญ่ ช่วยฝากให้ หรือไม่งั้นก็ร่อนใบสมัครเผื่อไว้หลายๆแห่ง แล้วเผอิญได้งานในบริษัทที่ไม่ได้ชอบมากนัก แต่ก็เอาวะ ทำก็ทำอะไรเงี้ย จึงอาจเข้าตำรา “งานที่รักไม่ได้ทำ แต่งานที่ทำกลับรู้สึกงั้นๆ (คือทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้)” ไปซะฉิบ หนำซ้ำบางทีเรียนวิชานึง แต่กลับมีอาชีพคนละเส้นทางไปเลย ไม่ได้ ทำงานตามที่เรียนมาหรอก ถือเป็นเรื่องโชคชะตาฟ้ากำหนดอีกนั่นแหละ แต่ส่วนมากที่ได้งานมักเป็นเพราะโชคครึ่งนึง กรรมการ เอ้ย ตัวเราเองครึ่งนึงซะมากกว่านะ

แถมบางทีฐานะทางครอบครัวก็ไม่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีทางเลือกมากนักซะด้วย ดังนั้น ถ้ามีงานอะไรให้ทำก็คว้าไว้ก่อนละกัน แล้วพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ซึ่ง ถ้าใครอยากให้งานที่ทำอยู่ราบรื่น, ไร้อุปสรรคและประสบความสำเร็จละก็ ทำงี้สิ.......

1. พิจารณาว่า ตัวงานที่ทำนั้นต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมไหม? ถ้าต้องเป็นทีมเวิร์กละก็ คนทั้งทีมนั่นแหละควรปรับตัวเพื่อให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานให้ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเออออห่อหมกไปซะทุกอย่างก็ได้ ยิ่งมีการถกเถียงกันด้วยเหตุผลสิยิ่งดี และควรเป็นมืออาชีพพอที่จะเคารพในเหตุผลที่เข้าท่าที่สุด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดด้วยนะ นี่สิ เค้าถึงเรียกดรีมทีมหรือทีมในฝันไงตัว

2. ถ้าเรียนรู้งานจากรุ่นพี่ได้ ก็ควรทำซะ เป็นอีกทางลัดทางนึงที่ทำ ให้คุณได้เรียนรู้งานได้ไว และไม่ต้องมาคลำหาทาง เรียนถูกเรียนผิดเอาเอง ดีแค่ไหนเนี่ย

3. หากทำงานแล้วเกิดปัญหาติดขัด ไม่รู้จะแก้ไขไงดี? ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ, หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานดู ถ้าบุคคลเหล่านี้ลงมาช่วยทำนั่นทำนี่ให้ไม่ได้ แค่ให้คำชี้แนะในฐานะที่มีประสบการณ์มากกว่า หรือให้มุมมองของคนนอกที่อาจเห็นช่องโหว่ของปัญหามากกว่า ก็ถือว่าช่วยแล้วนะนั่น

4. ช่วยงานของคนอื่นบ้างถ้าช่วยได้ เพราะบ้านเราเป็นสังคมถ้อยทีถ้อยอาศัย ยิ่งถ้าเป็นทีมงานของเราเองด้วย จงอย่านิ่งดูดาย แล้วจะทำงานได้อย่างมีความสุขเชื่อเดี๊ยนเถอะ.
คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาตนเอง
หมายเลขบันทึก: 120868เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2007 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท