ตามดูเครือข่ายมดแดง ภาคกลาง ถูกสสส.ประเมิน


ชื่นชมมากๆๆ สำหรับความกล้าในการเลือกพื้นที่ จ.นนทบุรีทำงานโดยไม่มีทุนเดิม และไม่มีภาคีช่วยเหลือ เด็ดจริงๆ

หลังจากที่ทีมเคลื่อนกระแสการจัดการความรู้สู่สังคม หรือ ปชส.ของสคส. เสร็จงานใหญ่ไปเมื่อปลายปี ต้นปี 49 นี้ก็วางแผนเร่งลงพื้นที่อย่างเร่งด่วน หลังจากกลับมาจากสัญจรครั้งที่ 2 ที่จ.พิจิตร (ก่อน) ก็นัดกลุ่มมดแดง ขอลงพื้นที่อย่างเร่งด่วน และก็ได้รับคำตอบอย่างเร่งด่วนอีกเช่นกันว่า จะมีทีมประเมินจากสสส.ลงพื้นที่ ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี น้ำก็ถือโอกาสนี้ร่วมประเมินkmกับเขา(อยู่ในใจ) วันนี้ไปกับพี่ตุ่ม

ตอนเช้านัดกับทีมมดแดงที่อนามัยบางศรีเมือง เจอกับคุณปู และทีมงานอีกสองคน พร้อมทั้งอ.ศิวรักษ์ ศิวารมย์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มช.และทีมงานอีก 1ท่านมาร่วมประเมินโครงการของ มดแดงซึ่งกำลังจะครบ1 ปีสิ้นเดือนมกราคมนี้ อ.ศิวรักษ์ ทีมประเมินผู้ทรงคุณวุฒิให้กับชุมชนเป็นสุขภาคเหนือ และโครงการชีวิตสาธารณะอีกด้วย

จากนั้นเราทั้งหมดก็ไปพบกับกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี ที่มูลนิธิวัดบางศรีเมือง นั่งคุยกับแกนนำชมรมไม่กี่คนที่มาทั้งหมด5 คนแต่ที่พอคุยกันรู้เรื่องก็3คนอีก2 ท่านก็สูงวัยมากนั่งคุยกันเองเหมือนมากัน2 คน น่ารักไปอีกแบบ

ที่จำได้ก็คือ คุณป้าพวงเพ็ญ เทียนจ่าง เป็นอาสาสมัครกลุ่มงานสตรีและเยาวชนต.บางศรีเมือง คนนี้เป็นคนที่มีจิตอาสามาก ทำงานหลายตำแหน่งหลายอย่างให้กับจังหวัดแบบไม่ได้สตางค์ แกบอกว่าเช้าขึ้นมา 4 โมงเช้าทำงานบ้านเสร็จแล้วก็จะที่ศาลาว่าการจังหวัดนนทบุรี ไปประชุมทุกวัน เดี๋ยวก็ อสม. เดี๋ยวก็อพม. เดี๋ยวก็ อย. (อันหลังเริ่มคิดเอง เพราะจำไม่ได้)  แต่โชคดีค่ะ ที่ลูกเข้าใจ ทำงานส่งแม่ให้ทำงานเป็นอาสาฯน่ารักจริงๆ นอกจากนี้ก็มีคุณยอดฤดี เทพธรานนท์ ประธารชุมชนพูลศรี-ส่องศรี คุณสมจิต ชัยพฤกษ์ ประธานมูลนิธิบางศรีเมือง คุณสมจิตต์ แก้วมา กรรมการและเลขานุการมูลนิธิวัดบางศรีเมือง

สรุปก็คือว่ามดแดงเนี่ยเขาวางตัวเขาในฐานะ "ผู้เชื่อมประสาน" ปัญหาในชุมชกับนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในชุมชน จากนั้นก็ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับโรงเรียนกับเด็กในโรงเรียนเพื่อหวังให้เด็กหรือโรงเรียนเป็นทางผ่านไปสู่การทำงานในระดับครอบครัวหรือชุมชนอีกทอดหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมที่เขาทำกับเด็กจะเป็นการทำแผนที่เดินดิน คือทำแผนที่ที่ตนอยู่

 

ทีมนี้มีการทำงานที่แปลกตรงที่ผู้บริหารมูลนิธิและหัวหน้าโครงการให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามได้คิดกระบวนการทำงานกับชุมชนเอง โดยที่ทีมผู้บริหารโยนโจทย์ใหญ่มาให้ ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ภาคสนามทีมนี้มีกันอยู่ 3 ท่านมีคุณปูน่าจะเป็นหัวหน้าทีม อายุ30 เป็นคนใต้จบจากธุรกิจบัณฑิตไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านงานชุมชน แต่คลุกคลีอยู่ในแวดวงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมา อีกคนหนึ่งอายุไม่เกิน28 เป็นคนเหนือ ไม่เคยผ่านงานชุมชนเช่นกัน อีกคนหนึ่งเป็นผู้ชายเพิ่งจบปริญญาตรีมาหมาดๆ  หากเปรียบเทียบพื้นที่โครงการ จ.นนทบุรีถือว่าหินมากๆสำหรับการทำงานกับชุมชนที่ยังมองปัญหาร่วมของตนเองยังไม่ออก เรียกง่ายๆ ว่ายังไม่มีโจทย์ร่วมกัน ถือว่าเจ้าหน้าที่ทีมนี้ใจสู้จริงๆ ตอนไปดูงานน่าสงสารมาก ทั้งคนทำงานและชุมชน เหนื่อยใจแทน

 

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานในพื้นที่และผลจากการร่วมประเมินมดแดงทำให้อะไรเกิดขึ้นในชุมชน และชุมชนต้องการให้มดแดงทำอะไรต่อ พร้อมทั้งกิจกรรมของมดแดงเป็นkm หรือไม่ เขียนไม่ไหวแล้ว ง่วงนอน

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 12068เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2006 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท